อีกทั้งการกำหนด im และ mm มักมีการกำหนดความผันผวน โดยคำนวณจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีพื้นฐานจาก Random Walk ซึ่งมีสมมุติฐานจากการแจกแจงปกติ
ทีนี้เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นมาทีไร การปรับ im และ mm ที่ประกาศตามมาทีหลัง จะไม่มีทางตามทัน เพราะกว่าที่ทางฝั่งผู้ควบคุมจะรู้ตัว ความผันผวนของตลาดก็มักจะฉีกออกจากความผันผวนในภาวะปกติไปไกลแล้ว อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อ position ของนักลงทุนที่เปิดทิ้งไว้ก่อนหน้าการประกาศ ที่ต้องโดนลูกหลงจากการประกาศเพิ่มหลักประกันไปด้วย แม้จะวางกลยุทธ์ดีขนาดที่ไม่มีทางจะขาดทุนแม้ว่าตลาดจะไปทางไหนก็ตาม แต่กลับต้องพอร์ตแตกและโดนบังคับปิด Position ด้วยเหตุผลที่ไม่มีสภาพคล่องพอให้เพิ่ม mm แล้ว
💥สรุปคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น พอร์ตของนักลงทุนมักจะเสียหายจากการปรับ mm ของฝ่ายผู้กำกับดูแล มากกว่าเสียหายจากพฤติกรรมของตลาด
🎩ทางแก้ ในฐานะนักลงทุนเราคงไ่ม่สามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของฝ่ายกำกับดูแลได้ และแน่นอนว่าเราก็ไม่สามารถที่จะรู้ถึงพฤติกรรมของตลาดได้ล่วงหน้าเช่นกัน หนทางป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ มีเงินเต็มจำนวนพอที่จะเป็นหลักประกันกับมูลค่าของ Position ที่เปิดไว้ เสมอ การใช้ margin จำเป็นที่ต้องวางแผนเผื่อในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ การทำ Back Test จำเป็นต้องทำ Forward Test ในช่วงเวลาที่ผ่านเหตุการณ์ไม่ปกติด้วย