8 ก.พ. 2024 เวลา 06:34 • ข่าว

#ค่าไฟแสนแพง #ค่าแรงแสนถูก

ปัญหาเรื่องค่าไฟแพง กำลังจะกลับมาพร้อมกับฤดูร้อน ที่ทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หยุดผูกปิ่นโต เอื้อเอกชน แต่ต้องช่วยเหลือประชาชนคนไทยกันสักที
ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดของทั้งปี เพราะด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานหนักมากขึ้น ทำให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นตาม จึงเป็นเหตุที่ประเทศไทยมีการเสียค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ ที่มีการปรับอุณหภูมิให้เย็น ยิ่งเย็นยิ่งเสียค่าไฟมากขึ้น
แล้วในขณะที่ #ค่าไฟไทย แพงอันดับไหนในอาเซียน ?
จากข้อมูล 𝐆𝐥𝐨𝐛𝐚𝐥𝐏𝐞𝐭𝐫𝐨𝐥𝐏𝐫𝐢𝐜𝐞𝐬 ระบุว่า ค่าไฟฟ้าของไทยปี 2566 อยู่อันดับ 4 ในอาเซียน ที่ ที่ 4.70 บาท/หน่วย
โดยแพงสุดคือ สิงคโปร์ - 6.22 บาทต่อหน่วย
อันดับ 2 ฟิลิปปินส์ 6.04 บาทต่อหน่วย
อันดับ 3 กัมพูชา 5.12 บาทต่อหน่วย
อันดับ 4 ไทย 4.70 บาท/หน่วย
อินโดนีเซีย 3.33 บาทต่อหน่วย, เวียดนาม 2.75 บาทต่อหน่วย, เมียนมา 2.70 บาทต่อหน่วย, มาเลเซีย 1.71 บาทต่อหน่วย และลาวถูกที่สุด 1.71 บาทต่อหน่วย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ประมาณการค่าไฟปี 2567 ไว้
• ม.ค. - เม.ย. = 4.18 บาท/หน่วย
• พ.ค. - ธ.ค. >= 4.20 บาท/หน่วย
*** หากราคาก๊าซธรรมชาติไม่มีการปรับตัวขึ้น ก็จะทำให้ค่าไฟฟ้าในปีนี้ไม่มีราคาผันผวน
𝐆𝐫𝐞𝐞𝐧𝐩𝐞𝐚𝐜𝐞 𝐓𝐡𝐚𝐢𝐥𝐚𝐧𝐝 เปิดเผยสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟของไทยแพง
• ไทยซื้อไฟฟ้ามาจากโรงไฟฟ้าเอกชนถึง 2 ใน 3 (อีกส่วนหนึ่ง กฟผ. ผลิตได้เอง)
• ไทยสำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็นในระบบ > 55 % (ปกติสำรองไว้เพียง 15%)
• สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับเอกชน แบบ “𝐓𝐚𝐤𝐞 𝐨𝐫 𝐩𝐚𝐲 – ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย”
• มีการประกันกำไรให้เอกชนที่สร้างโรงไฟฟ้า
• ที่สำคัญ ไม่มีใครรู้ว่า รัฐซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่มาหน่วยละเท่าใด เพราะข้อมูลเป็น ‘ความลับ’
รัฐบาลรู้ปัญหา เอกชนยิ้ม ประชาชนจ่าย
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ รัฐต้องช่วยเหลือประชาชนอย่างจริงจัง และหยุดเอื้อกลุ่มทุนพลังงาน ด้วยการทำสัญญาผูกปิ่นโต รวมๆ กันหลายๆ เงื่อนไขให้กลุ่มทุนผูกขาด จนทำให้ประชาชนคนไทยต้องเดือดร้อน จากปัญหาค่าไฟแพง และไม่มีตัวเลือกในการใช้บริการ
โฆษณา