8 ก.พ. 2024 เวลา 07:40 • สุขภาพ

เรื่อง สมุนไพรไม่ไกลตัว เรื่อง เถาวัลย์เปรียง

บทความโดย สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brachypterum scandens (Roxb.) Wight & Arn. Ex Miq. [Derris scandens (Roxb.) Benth. (ชื่อพ้อง)](๑)
ชื่อวงศ์ : FABACEAE(๑)
ชื่อท้องถิ่น : เถาวัลย์เปรียง เครือเขาหนัง เถาตาปลา พานไสน(๒)
สรรพคุณตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย : เถา รสเฝื่อนเอียน สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อย แก้กษัย ถ่ายเส้น ถ่ายเสมหะลงสู่คูถทวาร ขับปัสสาวะ(๓)
วิธีการใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย : นำเถามาหั่นตากให้แห้ง แล้วคั่วไฟให้หอม ชงน้ำดื่ม(๓) นอกจากนี้ยังพบการใช้เถาวัลย์เปรียงเป็นส่วนประกอบในตำรับยา “ยาเถาวัลย์เปรียง”ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งมีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ข้อห้ามใช้(๔) : ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
ข้อควรระวัง(๔) :
๑. ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวดกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory Drugs : NSAIDs)
๒. อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
อาการไม่พึงประสงค์(๔) : ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสวาะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น
เอกสารอ้างอิง
Plants of the world online. Brachypterum scandens (Roxb.) Wight & Arn. Ex Miq. [Internet]. [cited 2023 Dec 17]. Available from: https://powo.science.kew.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:60470396-2
สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๗. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; ๒๕๕๗.
โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ท่าเตียน พระนคร.
ประมวลสรรพคุณยาไทย (ภาคสอง) ว่าด้วย พฤกษชาติ วัตถุธาตุ และสัตว์วัตถุนานาชนิด. กรุงเทพฯ; ๒๕๒๑.
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ. ๒๕๖๖. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๔๐, ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๖.
โฆษณา