11 ก.พ. เวลา 11:00

56% ของ Gen Z ไม่มีเงินเก็บฉุกเฉิน เหตุมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น

เพื่อน ๆ คิดว่า Emergency fund หรือเงินสำรองฉุกเฉินสำคัญหรือไม่
โดยเฉพาะชาว Gen Z ถ้ายังไม่มั่นใจว่าสำคัญจริงหรือเปล่า? ลองคิดภาพตามว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นมาก่อนและปัญหานี้จะจบลงได้คือต้องใช้เงิน แต่ถ้าเราไม่มีเงินล่ะจะทำอย่างไร ต้องไปยืมเงินคนอื่นหรือควรไปกู้เงินรึเปล่า
ทางออกที่ดีที่สุดไม่ใช่การรอแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน แต่ทางออกที่ดีที่สุดคือการที่เราพร้อมแก้ปัญหาตลอดเวลาหรือเปล่า? อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงเริ่มเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมว่า Emergency fund สำคัญอย่างไรและทำไมเราถึงต้องมีเงินก้อนนี้สำรองไว้ ถ้าอยากรู้คำตอบก็มาอ่านบทความนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย
🟥 ทำไมต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน
56% ของคนGen Z บอกว่าพวกเขาไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินเพียงพอที่จะใช้จ่ายใน 3 เดือน จากข้อมูลของ Bankrate หรืออัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางให้ข้อมูลว่า Gen Z มีแนวโน้มที่จะลำบากที่สุดถ้าพวกเขาไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินเตรียมไว้เลย
Douglas Boneparth นักวางแผนทางการเงินและประธานของ Bone Fide Wealth บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินกล่าวว่า Gen z ที่มีช่วงอายุ 40 ปี ขึ้นไปและมั่นคงทางการเงินแล้วมีแนวโน้มที่จะมีเงินสำรองฉุกเฉินเพิ่มขึ้นแต่เพราะอาจจะเป็นช่วงวัยกำลังเริ่มต้นทำงานจึงยังไม่รู้ว่าต้องบริหารเงินอย่างไรและเนื่องด้วยปัจจุบันค่าครองชีพได้สูงขึ้นจึงส่งผลให้คนใน Gen Z ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน
Boneparth กล่าวเสริมว่าแม้ในตอนนี้เราอาจจะคิดว่าการมีเงินเก็บเป็นเรื่องไม่สำคัญแต่เชื่อไหมว่าการมีเงินเก็บจะช่วยให้ฐานะทางการเงินของเรามั่นคงขึ้นและถ้าเมื่อไหร่ที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับเราจะกลับมาขอบคุณตัวเองทันทีที่ยอมตั้งใจเก็บเงินและสามารถนำเงินในส่วนนั้นมาใช้แก้ปัญหาได้โดยที่เราไม่ต้องยืมเงินใครหรือต้องไปกู้หนี้
🟥 ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่จึงจะสบายใจได้
โดยปกติแล้วผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหลายคนจะแนะนำว่าให้มีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 3 – 6 เท่าของรายจ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน แต่ Boneparth กลับเห็นต่างเขาแนะนำว่าให้เรามีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 6-9 เท่าของรายจ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือนเพื่อที่เราจะได้มีเงินสำรองฉุกเฉินมากพอสามารถรองรับเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างสบายใจ
🟥 เริ่มต้นเก็บเงินสำรองฉุกเฉินอย่างไรให้สำเร็จ
Boneparth แนะนำว่าให้เราเริ่มต้นจากการตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายย้อนหลังของเราในช่วง 3 เดือน หรือ 6-12 เดือน เพื่อดูว่าเรามีรายรับเท่าไหร่ ได้เงินมายังไง และเราใช้เงินไปกับอะไรบ้างเพราะการที่รู้ว่ารายรับ-รายจ่ายของเราเป็นอย่างไรจะช่วยทำให้เก็บเงินได้ง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น เราตัดสินใจว่าในแต่ละเดือนจะใช้เงินแค่ 5,000 บาท ซึ่งมีรายรับเดือนละ 6,000 บาท ให้ลองคิดดูว่าเราสามารถเก็บเงิน 1,000 บาททุกเดือนได้ไหมเพราะถ้าเราอยากมีเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินเราต้องมีวินัยในการเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน
Boneparth ยังกล่าวว่าสิ่งที่ยากที่สุดในการเก็บเงินคือการบริหารเงินให้เรามีความสุขในการใช้เงินพร้อมกับเก็บเงินไปด้วย เพราะถ้าใช้เงินมากเกินไปก็จะมีเงินเก็บน้อยและถ้าเก็บเงินมากเกินไปก็จะใช้ชีวิตลำบาก หากเราสามารถบริหารเงินให้ตัวเองมีความสุขในการใช้ชีวิตได้ก็นับว่า Complete ในการบริหารเงินแล้ว
เพื่อน ๆ รู้กันแล้วใช่ไหมว่าการมีเงินเก็บนั้นสำคัญมากแน่นอนว่าเรามีสิทธิ์ที่จะใช้เงินได้เต็มที่เพราะนี่คือเงินของเราและกว่าจะหาเงินมาได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง จะดีกว่าไหมถ้าเราเลือกที่จะใช้เงินอย่างมีสติมากขึ้นและแบ่งเงินไว้เก็บบ้างบางส่วนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างน้อยเราก็ได้ทุกข์น้อยลงเพราะมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้แล้ว เพราะฉะนั้นมาเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้กัน!
อ่านต่อได้ที่ : https://bit.ly/3uzN10b
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน
——————————————————

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา