12 ก.พ. เวลา 03:13 • ประวัติศาสตร์

“กาฬโรค BLACK DEATH” เปิดคัมภีร์ระบาดวิทยา

ในช่วงยุคกลาง โลกต้องเผชิญกับความน่าสะพรึงกลัวของโรคระบาดครั้งแรกๆของโลก คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 200 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์ที่เรียกได้ว่าเกือบถึงขั้นทำให้สังคมมนุษย์ล่มสลายได้เลย นั่นคือการระบาดของ "กาฬโรค" หรือ "Black Death" ซึ่งมักแพร่จากเอเชียมายังยุโรป
6
กาฬโรค หรือ มรณะดำ หรือ “The Black Death” เป็นโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดชนิดไม่มีโรคใดเทียบติด มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “เยอร์ซิเนีย เปสติส” (Yersinia pestis) โดยมีสัตว์ฟันแทะและหมัดเป็นพาหะนำโรค รวมถึงสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ในอดีตมีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคเกิดขึ้น 3 ครั้ง ได้แก่
1
การระบาดครั้งที่ 1
1
ในสมัยจักรวรรดิโรมันตะวันออก คริสตวรรษที่ 6 ในระหว่างปี ค.ศ. 541-542 เป็นการระบาดที่เรียกกันว่า “กาฬโรคแห่งจัสติเนียน”(Plague of Justinian) คาดกันว่ากาฬโรคซึ่งมีต้นกำเนิดในจีน แพร่กระจายสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิล จากธัญพืชที่นำเข้าจากอียิปต์ ประกอบกับอียิปต์ในขณะนั้นมีหนูและหมัดเป็นจำนวนมากจึงระบาดอย่างรวดเร็ว ช่วงที่กาฬโรคระบาดถึงขีดสุด ชาวคอนสแตนติโนเปิลต้องเสียชีวิตอย่างน้อยวันละ 10,000 คน และสุดท้ายต้องเสียประชากรไปกว่า 40%
4
ภาพวาดการระบาดของกาฬโรคในกรุงคอนสแตนติโนเปิล
สาเหตุที่การระบาดดังกล่าวได้ชื่อว่า มรณะดำ หรือ “The Black Death” มีที่มากจาก
จากอาการขั้นสุดท้ายของผู้ป่วย คือ ร่างกายจะกลายเป็นสีดำเพราะมีเลือดออกใต้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า แต่ยังมีอีกความหมายหนึ่งด้วย คือสื่อถึงความน่าสะพรึงกลัวของโรคร้ายนี้ และอารมณ์เศร้าหมองของผู้คนในยุคสมัยนั้นที่มีแต่ความหดหู่ เศร้าหมองนั่นเอง นอกจากนี้การติดกาฬโรคยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด โอกาสการเสียชีวิตของกาฬโรคมีถึง ร้อยละ 50-60
7
การระบาดครั้งที่ 2
ในคริสตวรรษที่ 14 -19 คนในสมัยคริสตศตวรรษที่ 14 เรียกการระบาดนี้ว่า “Great Pestilence” (โรคระบาดครั้งใหญ่) หรือ “Great Plague” (กาฬโรคครั้งใหญ่) ซึ่งเริ่มต้นจากตอนใต้ของประเทศอินเดียและประเทศจีนระบาดไปตลอดเส้นทางสายไหม (Silk Road) กระจายไปทั่วเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ในยุโรปเกิดการระบาดในช่วงปลายทศวรรษ 1340
5
สันนิษฐานว่า พ่อค้าชาวจีน-มองโกล ได้เป็นผู้นำเชื้อมาแพร่ในยุโรป ทำให้เกิดการแพร่ระบาดในยุโรปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ที่อิตาลีมีการระบาดในช่วง ค.ศ. 1338 – 1351 ทำให้ประชากร 2 ใน 3 ของประเทศเสียชีวิต เรียกว่า “Great Mortality” และใน ค.ศ. 1400 เกิดการระบาดใหญ่ที่กรุงลอนดอนเรียกว่า “The Great Plague of London” มีประชากรเสียชีวิตถึง 70%
ภาวะเลือดออกใต้ผิวหนังจากการติดกาฬโรคในกระแสเลือด
การระบาดครั้งที่ 3
ศตวรรษที่ 19-20 ซึ่งเป็นการระบาดครั้งสุดท้าย เริ่มขึ้นที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1855 มีการแพร่ระบาดไปทั่วทุกทวีปของโลก ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 12 ล้านคน เชื้อแบคทีเรีย Baicllus pestis ติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonosis) ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ฟันแทะและหมัด ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการ 3 รูปแบบ คือ กาฬโรคปอด (peneumonic) กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (bubonic) และกาฬโรคเลือด (septicemic)
7
ซึ่งกาฬโรคทั้ง 3 ชนิดนี้ ทำให้เสียชีวิตได้ใน 5 - 6 วัน หลังจากได้รับเชื้อ การติดต่อมาสู่คนเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ได้แก่ การถูกหมัดที่มีเชื้อกัด การสัมผัสเนื้อเยื่อ ของสัตว์ที่ติดเชื้อ และการสูดดมสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ โดย Alexandre Emile Jean Yersin แพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ค้นพบเชื้อก่อโรคดังกล่าว จึงตั้งเชื่อเพื่อให้เกียรติผู้ค้นพบว่า Yersinia pestis
2
ส่วนสถาการณ์การระบาดในประเทศไทย เท่าที่มีการบันทึกไว้ ในประเทศไทยพบการระบาดของกาฬโรคในสมัยอยุธยา ซึ่งมีผู้คนล้มป่วย และเสียชีวิตจำนวนมาก จนในสมัยรัตนโกสินทร์ นายแพทย์เอช แคมเบลไฮเอ็ต เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล พบผู้เสียชีวิตที่น่าสงสัยจะเป็นกาฬโรคบริเวณที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดียทางฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2447
5
การระบาดของโรคสันนิษฐานว่า น่าจะเกิดจากหนูที่มีเชื้อกาฬโรคติดมากับเรือสินค้าที่มาจากเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดียซึ่งเป็นแหล่งที่เกิดการระบาดของกาฬโรค หลังจากนั้นโรคก็แพร่ระบาดออกไปหลายท้องที่ของฝั่งธนบุรี
2
หมออีกา
มีการเกิดโรคในฝั่ง พระนครและธนบุรีติดต่อกัน 2 ปี จากนั้นก็ระบาดไปตามจังหวัดต่างๆ ที่มีการค้าขายติดต่อกัน ทั้งทางบก ทางเรือ และทางรถไฟ โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางตลาดใหญ่ๆมีการค้าขายมาก และมีรายงานการเกิดกาฬโรคอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ. 2495 จากนั้นไม่มีรายงานการเกิดกาฬโรคในประเทศไทยจนกระทั่งปัจจุบัน
5
ปัจจุบันกาฬโรคสามารถรักษาให้หายได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงระบบสุขาภิบาลที่ดีขึ้น ทำให้การระบาดค่อยๆลดลง จนหายไปในที่สุด แต่ยังมีรายงานพบผู้ป่วยกาฬโรคในมองโกเลียอยู่บ้าง
อ้างอิง
โฆษณา