12 ก.พ. เวลา 16:49 • ประวัติศาสตร์

ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย โดย กุลลดา เกษบุญชู

ตอนแรกที่เห็นชื่อหนังสือ นึกว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับประเพณีการปกครองและพระมหากษัตริย์ แต่พอมาอ่านเรื่องย่อแล้วรู้สึกน่าสนใจมาก เลยคัดเรื่องย่อมาแปะด้วย
อะไรคือแรงผลักดันเบื้องหลังการเกิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย และเหตุใดมันจึงเสื่อมลงในเวลาเพียงชั่วศตวรรษ คือคำถามสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนอาศัยทฤษฎีของวอลเลอร์สไตน์ (Immanuel Wallerstein) โบรเดล (Fernand Braudel) และคนอื่นๆ ซึ่งโยงบทบาทของระบบทุนนิยมโลกกับพัฒนาการของรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาใช้วิเคราะห์การเปลี่ยนรูปแบบรัฐไทยจากรัฐศักดินามาเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้ให้คำอธิบายที่แตกต่างไปจากงานศึกษาอื่น
รู้สึกว่าหนังสือที่เขียนโดยมีการอ้างอิงทฤษฎีหรืองานวิจัยช่วยทำให้งานเขียนนั้นน่าเชื่อถือมากขึ้น ไม่ใช่แค่ความคิดเห็นของผู้เขียนเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่างานเขียนมันถูกถ่ายทอดโดยมีความคิดเห็นของคนเขียนเป็นตัวตั้งต้นอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยมันก็ให้ข้อมูลอะไรกับเราเพิ่ม
นี่คือหนังสือประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากเพราะมันเล่าถึงการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทยจากยุคเกษตรกรรมเป็นยุคอุตสาหกรรมผ่านการค้าขาย ไม่น่าเชื่อว่าต่างชาติมีส่วนอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ และเกมการเมืองช่วงเวลานั้นก็น่าสนใจมากๆ
เนื่องจากการเขียนบทความนี้เป็นการอ่านหนังสือไปด้วยแล้วก็เขียนไปด้วยเพื่อเป็นการจดโน้ตส่วนที่สำคัญเพราะหนังสือหนามาก กลัวว่าอ่านจบแล้วจะจำเนื้อเรื่องตั้งแต่ต้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นเนื้อเรื่องอาจจะไม่ปะติดปะต่อหรือ หรือไม่ใช่การสรุปเนื้อหาทั้งหมด
โฆษณา