Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ศูนย์ประสานงาน DOU
•
ติดตาม
13 ก.พ. เวลา 04:52 • การศึกษา
วัดพระธรรมกาย
กิจกรรมแสวงบุญตามรอยพระศาสดาสู่ดินแดนพุทธภูมิ (อินเดีย-เนปาล) ระหว่างวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ 2567
จากพระไตรปิฎกมีบันทึกไว้ว่า “ผู้ใดระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา) สถานที่แสดงปฐมเทศนา (สารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (กุสินารา)” สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ “เมื่อถึงคราวละสังขารย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ฯ”
จากเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมเดินทางแสวงบุญตามรอยพระศาสดาสู่ดินแดนพุทธภูมิ (อินเดีย-เนปาล) ในทุกๆ ปี ท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 081-4291-974
กิจกรรมแสวงบุญตามรอยพระศาสดาสู่ดินแดนพุทธภูมิ (อินเดีย-เนปาล) ระหว่างวันที่ 7-14 กุมภาพันธ์ 2567 สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ
1. สถานที่ประสูติ
2. สถานที่ตรัสรู้
3. สถานที่แสดงปฐมเทศนา
4. สถานที่ปรินิพพาน
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 เดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิสู่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ร่วมพิธีทอดผ้าป่า สักการะองค์พระประธานมหาเจดีย์พุทธคยา สักการะสัตตมหาสถาน ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ห่มผ้าองค์พระ สวดมนต์บทธรรมจักร ปฏิบัติธรรมร่วมกัน รับฟังบรรยายพุทธประวัติและความสำคัญของแต่ละสถานที่จากพระวิทยากรตลอดการเดินทาง
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 เมืองคยา-นาลันทา-ราชคฤห์-ปัตตานะ
ทุกท่านที่ร่วมเดินทางมาในครั้งนี้ล้วนแล้วแต่ประทับใจ บางท่านถึงกับน้ำตาเอ่อล้นด้วยความปลื้มปีติใจ ขอน้อมนำบุญมาฝากนะคะ
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนานับเป็นบุญอย่างยิ่ง แต่จะดีแค่ไหนถ้าครั้งหนึ่งในชีวิตเราได้มีโอกาสไปสัมผัสดินแดนพุทธภูมิ (อินเดีย-เนปาล) ได้สักการะสังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง ได้ฟังธรรมบรรยาย และปฏิบัติบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยตัวของเราเอง
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย DOU
พัฒนาตัวเอง
ข่าวรอบโลก
พุทธศาสนา
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย