15 ก.พ. เวลา 04:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

♻️ การเผาไหม้เชื้อเพลิง “ไฮโดรเจน” ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์จริงหรือ?

“Unlike fossil fuels, which emit planet-warming carbon dioxide when they’re burned, hydrogen mostly produces water.” คุณคิดว่าข้อความนี้เป็นจริงหรือไม่?
ข้อความดังกล่าวปรากฏในบทความของ Bloomberg Green เมื่อเดือนธันวาคม 2020 ได้รายงานเกี่ยวกับแผนการในอนาคตของยุโรปที่จะใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงใน "กังหันก๊าซที่ได้รับการดัดแปลง" เพื่อขับเคลื่อนเครื่องบิน นอกจากนี้ ยังมีรายงานในลักษณะเดียวกันนี้ ปรากฏในบทความด้านพลังงานที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากการใช้ก๊าซไฮโดรเจนจะไม่มีการปล่อยมลพิษใดๆ
ข้อความดังกล่าวอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเชื้อเพลิงไฮโดรเจน โดยอาจเข้าใจว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน “ไม่มีการปล่อยมลพิษ และปล่อยแต่เพียงไอน้ำเท่านั้น”
✅️ ความจริงก็คือ การเผาไหม้ก๊าซไฮโดรเจน (H2) ไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) นั่นเป็นข่าวดีสำหรับสภาพอากาศ แต่ทว่า ข่าวร้ายก็คือ การเผาไหม้ของก๊าซไฮโดรเจน สามารถผลิตไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ในปริมาณที่สูงจนเป็นอันตรายได้
การศึกษาในยุโรปพบว่าการเผาไหม้ก๊าซธรรมชาติที่อุดมด้วยไฮโดรเจนในสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรม สามารถนำไปสู่การปล่อย NOx ได้มากถึง 6 เท่าของการเผาไหม้ก๊าซมีเทน (CH4) อีกทั้งยังมีการปล่อยก๊าซอื่นๆ อีกมากมาย การศึกษาในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความยากลำบากในการควบคุมการปล่อย NOx จากการเผาไหม้ก๊าซไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนั้น NOx ถือเป็นภัยคุกคามมลพิษทางอากาศรูปแบบใหม่ที่มาแทนที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์นั้นเป็นเรื่องราวที่ไม่เคยบอกเล่าในแผนอุตสาหกรรมเชิงรุกนี้
💡 แต่อย่างไรก็ตาม โลกยังมีความหวังเสมอ เราสามารถแปลงพลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) นั่นก็คือ “เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell)” ซึ่งปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างแท้จริง โดยปล่อยเพียงไอน้ำเท่านั้น
ความคาดหวังก็คือ ในอีกไม่กี่ทศวรรษต่อจากนี้ เซลล์เชื้อเพลิงและไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) จะเข้าสู่ตลาดการผลิตไฟฟ้า เช่นเดียวกับภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน ดังนั้น เซลล์เชื้อเพลิงจึงมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานทั่วโลกในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า
โดยไฮโดรสีเขียวสามารถผลิตจากกระบวนการ "อิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis)" ภายในอุปกรณ์อิเล็กโทรไลเซอร์ (Electrolysers) นับเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่จะช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions สำหรับการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวนั่นจะต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทนเท่านั้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
ติดตามข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
Facebook: Net Zero Techup
#NetZeroTechup #ClimateChange #NetZero #GlobalWarming #Hydrogen #FuelCell #Electrolysis #Electrolysers #Renewableenergy #CO2 #NOx #GHG
โฆษณา