15 ก.พ. เวลา 17:47 • ประวัติศาสตร์

สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีบทบาทในระดับนานาชาติมีความซับซ้อนและหลากหลายแง่มุม

โดยมีมิติทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรม
การทูตระหว่างประเทศผ่านช่องทางราชการ รวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินเยือน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมในองค์กรระหว่างประเทศ​ ประวัติศาสตร์อันยาวนานย้อนหลังไปหลายศตวรรษ เดิมทีใช้การทูตและไมตรีจิตเพื่อสร้างพันธมิตร ส่งเสริมการค้า และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศที่สงบสุขและมั่นคง
ประเทศไทยกลายเป็นพันธมิตรสำคัญของหลายประเทศ โดยมีบทบาทสำคัญในโครงการริเริ่มด้านความมั่นคงและการพัฒนาระดับภูมิภาค ทำให้จุดยืนของประเทศไทยแข็งแกร่งขึ้นในระดับสากลและได้รับประโยชน์จากการรับรู้ถึงบทบาทสถาบันกษัตริย์ทำให้ไทยผ่านพ้นวิกฤกตในหลายครา เสริมสร้างสถานะความมั่นคง​ พลิกวิกฤตจาก​▪️▪️▪️
ประเทศผู้แพ้​สงคราม​
มีรายได้ต่อหัวระดับต่ำในเอเซีย​
สถาบันกษัตริย์​ดำรงบทบาทเป็นนักการต่างประเทศ และนักการทูต การเสด็จเยือนราชวงศ์​ไทยจึงได้ความเคารพนับถือจากประมุขประเทศ หัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลต่างประเทศ ชื่อประเทศไทยปักสง่างามบนแผนที่โลกอีกครั้ง
นับเป็นการทูตที่ดีที่สุดของไทย​
ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก มีความช่วยเหลือหลั่งไหลเข้ามา ตลาดการค้าเปิด มีการลงทุนเข้ามามากมาย​ ตั้งแต่นั้นการท่องเที่ยวก็เริ่มจากราว 1 ล้านคนสู่ความเฟื่องฟู​ เป็นยุคของการฟื้นฟูอารยธรรม วัฒนธรรม เผยแพร่​ ขจรขจายไปสู่สากลตราบ
จนเฉกเช่นทุกวันนี้​​ ✨✨✨✨
✨✨✨📖📚📕📕📚
ราวกับประวัติศาสตร์กลับมามีชีวิต
16 พฤษภาคม​ 2565 กรมสมเด็จพระกนิษฐา
ธิราชเจ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปหอจดหมายเหตุ การทูตฝรั่งเศส เป็นสถานที่เก็บเอกสารของหน่วยงานภายใต้กระทรงการต่างประเทศ และที่เก็บรวบรวมเครื่องบรรณาการของขวัญทางการทูต ที่ฝรั่งเศสได้รับจากประเทศต่างๆ เอกสารสำคัญระหว่างไทย ฝรั่งเศส ได้แก่ พระราชสาสน์ทองคำ
สมัยสมเด็จพระจอมเกล้า​เจ้าอยู่หัว
หัวหน้าคณะราชฑูตสยามอัญเชิญมาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยจักรพรรดิโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส สำเนาสนธิสัญญาฉบับแรกระหว่างฝรั่งเศส และสยาม บันทึกทางประวัติศาตร์อีกหลายฉบับ
📕📚 การเดินทางอันน่าทึ่งของคณะราชฑูตสยาม
สู่ฝรั่งเศส พระราชสานส์ทองคำพร้อมเครื่องบรรณาการ​อันวิจิตร
พระราชสาส์นทองคำในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่งถึงจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ของฝรั่งเศส ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2404
พระราชสาส์นทองคำ มีขนาดยาว 40 เซนติเมตร
พระสุพรรณบัตรห่อในแผ่นทองคำ แล้วใส่ในฝักทองคำลงยาออกแบบเพื่อพับบรรจุไว้ในกล่อง บนเนื้อทองมีข้อความสลักไว้ ซึ่งยังไม่มีผู้ใดถอดรหัสได้
1
พร้อมเครื่องราชบรรณาการ รวมทั้งหมดอีก 33 รายการ ที่สำคัญคือ พระราชสาส์นจารึกใน และพระราชสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 อีก 2 แผ่น นอกนั้นเป็นพระมหามงกุฎ พระสังวาล พระธำมรงค์ สนับเพลาผ้าทรง พานทองคำ ซองบุหรี่ทองคำ ดาบเหล็กลายฝักทองคำลงยา กริชฝักนาค หอกอย่างสยาม กลองมโหรทึกปี่งา และสิ่งอื่น ๆ ที่น่าสนใจจากประเทศสยาม
📚📕 ปรากฏหลักฐานว่าคณะทูตจากสยามอัญเชิญไปมอบแด่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ณ พระราชวังฟงแตนโบล (Fontainebleau) ห่างจากกรุงปารีสราว 55 กิโลเมตร ซึ่งฌอง เลออง เจอโรม (Jean Leon Gérôme) ศิลปินชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงได้วาดภาพสีน้ำมันถึงเหตุการณ์นี้ไว้
นอกจากพระราชสาสน์ทองคำยังมี ช้าง สองเชือก
ภายหลังพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ได้พระราชทาน
ชื่อว่า คาสเตอร์ พอลลุกซ์ (Castor & Pollux)
และเครื่องบรรณาการ​ชิ้นเอก พระมหาพิชัยมงกุฎ​(จำลอง)​
✨👑 มงกุฎอันเลิศลอยของคิงมงกุฎนี้ ได้รับการประเมินค่าไว้ในราคา 70,000 ฟรังก์ (สมัย ร.4)
จัดอยู่ในกลุ่มสิ่งของชิ้นเดียวที่มีราคาสูงที่สุดในพระราชวัง จากการตรวจสอบอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2408 พบว่าเป็นทองคำทั้งองค์ ประดับอยู่ด้วยทับทิม 2,298 เม็ด เพชรเหลี่ยมกุหลาบ 233เม็ด มรกต 46 เม็ด และไข่มุก 9 เม็ด✨👑
สำหรับคณะทูตผู้นำพระราชสาส์นดังกล่าวในคราวนั้น นำโดย พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี
ฃ (แพ บุนนาค) อันถือเป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
📕📚 ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย (สมัยรัตนโกสินทร์)​ กับฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการเริ่มเมื่อ
ปี พ.ศ. 2399 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี การค้า และการเดินเรือ ส่วนก่อนหน้านั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็เคยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกันมาเนืองๆ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2229 คณะราชทูตสยามนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) (สมัยกรุงศรีอยุธยา)​ เดินทางโดยเรือถึงเมืองแบรสต์ (Brest) แคว้นเบรอตาญ (Bretagne) ก่อนที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
1
▪️▪️▪️▪️
เหตุการณ์แห่งความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญครั้งนี้ มีประจักษ์พยานด้วยการที่ฝรั่งเศสเรียกถนนแซงต์ ปิแอร์ (St.Pierre) และถนนหลายสาย ซึ่งคณะราชทูตใช้เป็นทางผ่าน ทั้งในกรุงปารีส (Paris) เมืองมาร์แซย์ (Marseille) เมืองแบรสต์ (Brest) และเมืองโลรียองต์ (Lorient) ว่า ถนนสยาม (Rue de Siam)
2
ทั้งนี้ กษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเคยส่งพระราชสาส์นในลักษณะเดียวกันไปถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในช่วงเวลาต่างๆ ได้แก่ พ.ศ. 2223 2228 2230 และ 2242 แต่สูญหายไปหมด ดังนั้น พระราชสาส์นฉบับที่ยังหลงเหลืออยู่นี้ จึงเป็นเอกสารทางประวัติ​ศาสตร์​ที่สำคัญอย่างยิ่ง
▪️▪️▪️▪️
ทำให้หอจดหมายกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส ดำเนินโครงการระดมทุนเพื่ออนุรักษ์ซ่อมแซมเอกสารโบราณล้ำค่าหลายชิ้น หนึ่งในนั้นคือ พระราชสาส์นทองคำในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจะเป็นเอกสารชิ้นแรกที่ได้รับการอนุรักษ์ภายใต้โครงการดังกล่าว มีการรับบริจาคเงินราว 350,000 บาท เพื่อใช้ในการทำความสะอาด อนุรักษ์ และแปลเอกสารดังกล่าว รวมถึงสแกนเอกสารแล้วเผยแพร่สู่สาธารณะในรูปแบบดิจิตอล
ปัจจุบัน​พระราชสาส์นทองคำอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ “เปอตี ปาเล” กรุงปารีส ประเทศ​ฝรั่งเศส
Source​ ▪️▪️
🔹จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2521.
🔹 Manich Jumsai, M.L. History of Anglo-Thai relations. Bangkok : Chalermnit
🔺▪️▪️ Related​ Content​ ▪️▪️🔺
(สีหสาส์นบัลลังค์🔹)
(พระราชสาสน์ทองคำ​ พระเจ้าอลองพญาส่งถึง
พระเจ้าจอรช์ที่​ 2​ ความเชื่อมโยงทางประวัติศาส​ตร์
ถึงปัจจุบัน....มุมมองของกษัตริย์​พม่าองค์สุดท้าย​ต่อราชอาณาจักร และกษัตริย์​สยาม🔹)​
▪️▪️▪️
(พระราชสานส์ทองคำเครื่องราชบรรณาการจากราชสำนักสยามถึงอังกฤษ และฝรั่งเศส)​🔹🔹
(ย้อนไทมไลน์ จักรพรรดิ​โปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส​
คณะราชฑูต​สยาม และงาน Expo ความเชื่อมโยงทางประวัติ​ศาสตร์​ ไทย-ฝรั่งเศส🔹)​
โฆษณา