19 ก.พ. 2024 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
WealthMagik

ปรับสัดส่วนการลงทุน (Rebalance Portfolio)

หากพูดถึงการกระจายความเสี่ยงของการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เราต้องการก็คือการทำ Asset Allocation แต่ก็ใช่ว่ากระจายความเสี่ยงแล้วพอร์ตจะสมบุรณ์แบบ เพราะการลงทุนระยะยาวอาจทำให้สัดส่วนการลงทุนที่เราตั้งเป้าหมายไว้ตั้งแต่แรกผิดเพี้ยนไปจากเดิม
1
สาเหตุที่สัดส่วนการลงทุนผิดเพี้ยนเกิดจากอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ทรัพย์ที่เราลงทุนในแต่ละตัวเติบโตไม่เท่ากัน จึงจำเป็นต้องมีการปรับสมดุลพอร์ต WealthMagik จึงแนะนำเครื่องมือปรับสมดุลพอร์ต หรือที่เรียกว่า “Rebalance Portfolio”
การ Rebalance Portfolio คืออะไร
การปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนที่เราวางแผนลงทุนในระยะยาวให้กลับมาอยู่ในสัดส่วนที่เราตั้งเป้าไว้ตั้งแต่แรก เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่เรายังยอมรับได้ ผลตอบแทนที่มั่นคง ไม่เหวี่ยงจนเกินไป และสามารถรับมือจากความผันผวนของตลาดได้เพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าพอร์ตลงทุนของเรายังตรงตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้
1
วิธีการ Rebalance Portfolio
  • 1.
    ขายสินทรัพย์ที่สัดส่วนเกินออกไป (Overweight) แล้วนำเงินมาซื้อสินทรัพย์ที่สัดส่วนลดลง (Underweight) เพื่อให้พอร์ตกลับมามีสัดส่วนเท่าเดิม
  • 2.
    เติมเงินเข้าไปในพอร์ตการลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์ที่สัดส่วนลดลง (Underweight) เพื่อให้พอร์ตกลับมามีสัดส่วนเท่าเดิม
  • 3.
    จัดสัดส่วนพอร์ตการลงทุนใหม่ เปลี่ยนแปลงเป้าหมายการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดในช่วงนั้นๆสามารถรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้จากเป้าหมายเดิม
ช่วงเวลาการ Rebalance Portfolio
  • 1.
    ปรับตามช่วงเวลา เช่น ปรับทุกๆ 6 เดือน หรือ ทุก1 ปี
  • 2.
    ปรับตามเป้าหมายในการลงทุน เช่น หากพอร์ตมีกำไรเพิ่มขึ้น 10% จะปรับพอร์ต 1 ครั้ง
  • 3.
    ปรับตามสถานการณ์ตลาดหรือเป้าหมายการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป เช่น เมื่อเราเข้าใกล้วัยเกษียณ อาจจะรับความเสี่ยงได้น้อยลง จึงต้องมีการปรับสัดส่วนพอร์ตการลงทุนใหม่ จากการลงทุนในหุ้น 60 % ตราสารหนี้ 40% เปลี่ยนเป็น ลงทุนในหุ้น 30% ตราสารหนี้ 70 %
การปรับพอร์ต : ยิ่งค่าธรรมเนียมสูง การปรับสัดส่วนพอร์ตการลงทุนบ่อยเกินไปก็จะทำเกิดต้นทุนที่มากขึ้นและทำให้ผลตอบแทนโดยรวมลดลง
ดังนั้นนักลงทุนควรกำหนดเป้าหมายและวางแผนการลงทุนให้ชัดเจนรวมทั้งคอยติดตามผลตอบแทนอยู่สม่ำเสมอและควรปรับสมดุลพอร์ตอย่างมีหลักการ อาจจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆประกอบด้วย เช่น ความเสี่ยง ผลตอบแทน สถานการณ์ตลาด หรือแม้แต่สถานะทางการเงินของตนเอง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
1
โฆษณา