Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
•
ติดตาม
20 ก.พ. 2024 เวลา 13:47 • ธุรกิจ
เม็กซิโก วางแผนสร้างแลนด์บริดจ์ แข่งกับคลองปานามา?? // พี่นำเข้า จะเล่าให้ฟัง
ร้อยปีที่ผ่านมา คลองปานามาได้ขับเคลื่อนการค้าโลก เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปมหาสมุทรแปซิฟิกที่ดีที่สุด...แต่สถานการณ์นั้นอาจกำลังจะเปลี่ยนไป เม็กซิโกใกล้จะเปิดตัวโครงการใหม่ที่มีชื่อว่า “ทางเดินสมุทรของคอคอดเตฮวนเตเปก” (Interoceanic Corridor of the Isthmus of Tehuantepec) ชื่อเรียกยากนิดนึง ขอเรียกโครงการ CIIT ละกัน…
แล้วเจ้าสิ่งนี้คืออะไร และจะมาแทนที่คลองปานามาหรือไม่? วันนี้แอดมินจะพามาหาคำตอบกัน…
=========================
นำเข้าความรู้ ส่งออกความคิด
ติดตามเพจ นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
=========================
ก่อนเราจะพูดถึงโครงการใหม่ของเม็กซิโกนั้น เราต้องมาพูดเรื่องคลองปานามากันก่อน เพราะนอกจากคลองสุเอซแล้ว นี่อาจเป็นคลองขุดที่โด่งดังที่สุดบนโลกก็ว่าได้ คลองปานามาตัดผ่านคอคอดปานามา
เพื่อนๆ น่าจะคุ้นเคยกับคำว่า “คอคอด” กันพอสมควร เช่นชื่อ คอคอดกระ ซึ่งคำว่า “คอคอด” มันคือชิ้นแผ่นดินที่เชื่อมผืนดินใหญ่สองผืนเข้าด้วยกัน คอคอดปานามาเชื่อมอเมริกาเหนือเข้ากับอเมริกาใต้ และมีมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ที่ทั้งสองฝั่ง คอคอดนี้กว้างประมาณ 65 กิโลเมตร ซึ่งก็เท่ากับความยาวของคลองปานามาพอดี ถือว่าเป็นคลองที่ค่อนข้างสั้น
หากเทียบให้เห็นภาพ คลองสุเอซยาวกว่าคลองปานามา เกือบสามเท่า ในขณะที่คลองขุด “ต้า-ยฺวิ่นเหอ” หรือ คลองใหญ่ (Grand Canal, 大运河) ในประเทศจีนนั้นใหญ่โตอย่างเหลือเชื่อ...ยาวกว่าถึงยี่สิบเท่าเลยทีเดียว
ถึงแม้คลองปานามา จะมีขนาดสั้นมากๆ แต่หากลองดูแผนที่ทวีปอเมริกา จะพบความสำคัญของคลองปานามา
ลองจินตนาการเรือจากยุโรปที่มีสินค้าที่ต้องการขายในแคลิฟอร์เนีย เรือก็ต้องแล่นยาวลงไปที่ช่องแคบมาเจลลัน (ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้) แล้วกลับขึ้นไปทางเหนือ ถ้าเรือที่ไปนั้นเร็วพอ มันก็พอทำได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่เรือขนส่งปกติส่วนใหญ่ล่ะ? ก็อาจใช้เวลาเป็นเดือน ๆ
ที่สำคัญ...เส้นทางนั้นอันตรายด้วย ช่องแคบมาเจลลันอาจเจอทั้งพายุโหมกระหน่ำหรือกระแสน้ำที่น่ากลัว ในยุดนั้นก็มีทางเลือกเดียวที่จะอ้อมไป นั่นคือการลัดช่องทางทางตะวันตกเฉียงเหนือผ่านทางตอนบนของทวีปอเมริกา แต่ช่องทางนี้เกือบตลอดทั้งปีก็ถูกอุดตันด้วยน้ำแข็งและเรือก็เดินทางผ่านไม่ได้
สหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจที่จะทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปี 1902
ทางสหรัฐวางแผนเพื่อจะขุดคลองในอเมริกากลาง คลองขุดใหม่จะใช้เวลาที่เรือวิ่งผ่านไม่ถึงวัน แถมตัดระยะทางการเดินทางจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปแปซิฟิกไปประมาณ 12,000 กิโลเมตร ซึ่งก็ทำให้ประหยัดเวลาไปได้หลายสัปดาห์!! (จริงๆฝรั่งเศษ ก็เคยขุดมาก่อนหน้า แต่ทำไม่สำเร็จ)
1
การจะขุดคลองนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย คนงานต้องใช้ทั้งระเบิด สว่าน และรถตักไอน้ำเพื่อเคลียร์เศษดินทิ้งกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร!เพื่อทำให้ตัวเลขนี้เห็นภาพมากขึ้น ถ้าเกิดนำดินกองมาทั้งหมด มันจะเป็นกองดินยักษ์ที่สูงเกือบสองเท่าของตึกเอ็มไพร์เสต เลยทีเดียว!
การก่อสร้างนี้มีความยากลำบาก คนงานต้องขุดคลองนี้ท่ามกลางความร้อนกว่า 40 องศาเซลเซียส คนงานเสียชีวิตเกือบ 6,000 คนระหว่างการขุด บางคนตายด้วยโรคลมแดด (heatstroke) และบางส่วนก็จากหินถล่มและโรคเขตร้อนต่าง ๆ คงเรียกได้ว่าไม่ใช่งานที่สนุกนัก...
นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องความท้าทายทางวิศวกรรมที่โครงการต้องฝ่าฟัน จุดสูงสุดและต่ำสุดในเส้นทางคลองที่ต้องการขุดนั้นต่างกันเกือบ 30 เมตร
ซึ่งนี่ทำให้ทีมรับผิดชอบการขุดต้องสร้างระบบประตูกั้นน้ำเพื่อเปลี่ยนระดับความสูง ซึ่งทำให้คลองสามารถยกเรือขนส่งขึ้นไปจนสูงประมาณ 30 เมตร และค่อย ๆ พาเรือกลับลงมา
ในที่สุดการขุดคลองปานามานั้นสิ้นเปลืองเงินสหรัฐถึง 375 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นมูลค่าในปัจจุบันประมาณ 12 พันล้านดอลลาร์
แม้มีความท้าทายมากมาย คลองปานามาก็เปิดใช้อย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมปี 1914 หลังจากที่ขุดกันมานานกว่าทศวรรษ เรือลำแรกที่วิ่งผ่านคลองคือเรือ SS Ancon และกลายเป็นลำแรกในเรือจำนวนมากที่เริ่มใช้งานคลอง มีเรือกว่าหนึ่งพันลำแล่นผ่านคลองในปีแรก และตัวเลขนี้ยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี
ในปัจจุบันมีเรือมากกว่า 10,000 ลำใช้คลองปานามาในแต่ละปี และขนส่งสินค้ามากกว่าครึ่งพันล้านตัน เรือต่าง ๆ ต้องจ่ายค่าใช้คลองด้วย ในกรณีของเรือที่มีขนาดใหญ่ อาจจ่ายถึงครึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว แต่ก็ยอมเสียเพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการนำเรือมุ่งหน้าลงไปที่ช่องแคบมาเจลลัน
คลองปานามา แห่งนี้ได้เปลี่ยนโฉมหน้าการค้าโลก!!
แต่ในปี 2024 ทางเม็กซิโก ที่กำลังจะขึ้นมาเป็นโรงงานผลิตหลักของโลก ทดแทนจีนบางส่วน ก็ปิ้งไอเดีย โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจแนวช่องแคบเตวนเตเปก หรือเรียกสั้นๆ ว่า CIIT
เพื่อให้เข้าใจที่มาของ CIIT เราต้องย้อนกลับไปช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาเริ่มวางแผนสร้างคลองปานามา และปรากฏว่าพวกเขาไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่คิดริเริ่มโครงการในลักษณะนี้ ในปี 1884 ชายผู้ทรงอิทธิพลคนหนึ่งได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของเม็กซิโก นั่นคือ José de la Cruz Porfirio Díaz Mori เรียกชื่อสั้นๆ ว่า Porfirio Diaz
Porfirio Diaz มาจากรัฐวาฮากา ริมชายฝั่งทางใต้ของเม็กซิโก เมื่อเขามีอำนาจ เขาตัดสินใจสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อวาฮากากับชายฝั่งรัฐเบรากรุซทางตอนเหนือ หรือเขามุ่งสร้างทางรถไฟระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก เพื่อแก้ไขปัญหาเดียวกันกับที่คลองปานามาทำได้ในเวลาต่อมา
ช่วงกลางเดือนมกราคม 1907 รถไฟสายใหม่นี้ หรือ Tren Interoceánico เริ่มเปิดให้บริการ ซึ่งเร็วกว่าการเปิดใช้คลองปานามาถึงเจ็ดปี และบรรดาพ่อค้าทั่วโลกก็เริ่มใช้บริการในทันที!!
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สินค้าหลายแสนตันเคลื่อนย้ายผ่านเส้นทางนี้ได้สำเร็จ เศรษฐกิจเม็กซิโกเริ่มเฟื่องฟูเมื่อประเทศมีบทบาทสำคัญในการค้าระหว่างประเทศ แต่ความสำเร็จนี้มีอายุสั้น! เมื่อคลองปานามาเปิดขึ้น บริษัทขนส่งส่วนใหญ่ตัดสินใจเลิกใช้ Tren Interoceánico และหันไปใช้คลองแทน ...
1
ในปี 1914 ปริมาณสินค้าที่เดินทางไปตามทางรถไฟเม็กซิโกลดลงหนึ่งในสาม และหนึ่งปีต่อมา ก็ลดลงเกือบ 80%
ทั้งๆ ที่เส้นทางรถไฟผ่านเม็กซิโกนั้นเร็วกว่าคลองปานามาจริงๆ ช่วยประหยัดเวลาได้หลายวันสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน แล้วทำไมทุกคนถึงเลือกใช้บริการคลองปานามาแทน? ประเด็นนี้อาจดูไม่สมเหตุสมผลในตอนแรก แต่ความจริงมีเหตุผลสำคัญไม่กี่ข้อ
ประการแรก บริษัทขนส่งจำนวนมากตั้งอยู่ในอเมริกา พวกเขาจึงเลือกสนับสนุนโครงการของอเมริกาแทนคู่แข่งอย่างเม็กซิโก
นอกจากนี้ สงครามกลางเมืองเพิ่งปะทุขึ้นในเม็กซิโก ความรุนแรงทำให้หลายบริษัทหวาดกลัว และในแง่การขนส่ง การใช้เส้นทางเดินเรือนั้นก็ง่ายกว่า เพราะคุณไม่จำเป็นต้องนำสินค้าลงจากรถไฟ
2
ด้วยเหตุนี้ ปริมาณการขนส่งที่ลดลงอย่างมากทำให้ Tren Interoceánico มีค่าบำรุงรักษาที่สูงเกินไปจนดูแลต่อไปไม่ไหว เส้นทางทรุดโทรมและใช้งานไม่ได้เป็นเวลาหนึ่งร้อยปี...
จนกระทั่ง ในปี 2018 ประธานาธิบดีLópez Obrador ได้วางแผนฟื้นฟูเส้นทางรถไฟเดิมของเม็กซิโก และสร้างระเบียงเศรษฐกิจใหม่ระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิก ซึ่งตั้งใจให้เป็นคู่แข่งกับคลองปานามาที่อยู่ใกล้เคียงกัน
โครงการดังกล่าวได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในอีกไม่กี่เดือนต่อมา และการก่อสร้างเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2020 ด้วยการถางพืชพรรณ รื้อรางรถไฟเก่า และจัดวางรางใหม่เอี่ยมแทน เส้นทางรถไฟใหม่ที่มีสามสายหลักนี้คาดว่าจะยาวกว่าหนึ่งพันกิโลเมตร รัฐบาลเม็กซิโกยังวางแผนที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งตามแนวยาวของเส้นทางรถไฟ
López Obrador ทุ่มเทสุดตัวสำหรับโครงการนี้ ในปี 2023 เขาส่งกองทัพไปยึดทางรถไฟสายเก่าซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเอกชน ต่อมาเขาเสนอที่จะชดเชยให้บริษัท แต่สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าทางรถไฟส่วนนี้ตกอยู่ในมือของรัฐบาลอย่างเบ็ดเสร็จ
เขาไม่ต้องการเสี่ยงให้โครงการล่มสลายเพียงเพราะตกลงกับเอกชนหัวดื้อไม่ได้ มีการปะทะกับผู้ประท้วงบ้าง รวมถึงชนเผ่าดั้งเดิมในวาฮากา ผู้ประท้วงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการ คนงานก่อสร้างได้ตัดต้นไม้และทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น
ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งถูกจำคุกชั่วคราว ฐานใช้มีดพร้าโจมตีคนงานก่อสร้าง ในที่อื่นๆ ครอบครัวท้องถิ่นต้องย้ายจากพื้นที่เกิดการก่อสร้าง ทุกอย่างดูขัดแย้งไปหมด... แต่คนส่วนใหญ่ในภูมิภาคคิดว่าข้อเสียของโครงการนั้นชดเชยได้ด้วยประโยชน์มากมายที่จะเกิดขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า CIIT จะสร้างงานให้คนในท้องถิ่นถึงครึ่งล้านตำแหน่ง และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่าราว 50 พันล้านดอลลาร์ การเติบโตทางเศรษฐกิจนี้อาจเปลี่ยนโฉมหน้าของประเทศ และนั่นคือสิ่งที่ประธานาธิบดี López Obrador ต้องการอย่างแท้จริง
ในเดือนสิงหาคม 2023 Line Z แล้วเสร็จสมบูรณ์ López Obrador ขึ้นรถไฟโดยสารเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางด้วยตนเอง การเดินทางใช้เวลาน้อยกว่าเก้าชั่วโมง ทำให้การเดินทางข้ามเส้นนี้เร็วกว่าการล่องผ่านคลองปานามาอย่างเป็นทางการ สองเดือนต่อมา ก่อนเทศกาลคริสต์มาสปี 2023 รถไฟขบวนแรกเปิดประตูให้บริการประชาชนทั่วไปและเริ่มบรรทุกผู้โดยสารจากชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อีกสองสายที่เหลือคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2024
คำถามที่น่าสนใจก็คือ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับคลองปานามา?
ผู้เชี่ยวชาญบางคนคิดว่า CIIT จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ทั้งถูกกว่าและเร็วกว่า เมื่อเทียบกับคลองปานามาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
1
ถ้าสิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง ก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่บริษัทเดินเรือต่างๆ อาจเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือใหม่ โดยใช้เส้นทางรถไฟของเม็กซิโกแทนการใช้คลองปานามา ซึ่งมันอาจผลักดันให้คลองปานามาต้องปิดตัวลงไป เช่นเดียวกับที่คลองปานามาเคยโค่นล้มระบบรางเดิมของเม็กซิโกเมื่อหนึ่งศตวรรษก่อนหน้านั่นเอง
แต่จริงๆ แล้ว นั่นไม่ใช่สิ่งที่ CIIT ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการนั้น ผู้คนที่เกี่ยวข้องได้ย้ำหลายครั้งว่าทางรถไฟของเม็กซิโกนี้จะมาเสริมคลองปานามาที่มีอยู่ ไม่ได้พยายามจะมาแทนที่แต่อย่างใด คลองปานามามีความสามารถในการรองรับตู้คอนเทนเนอร์ได้มากถึงสี่ล้านตู้ต่อปี แต่บ่อยครั้งที่จำนวนนั้นก็มักจะไม่เพียงพอ
เรือเดินสมุทรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้คลองปานามาประสบปัญหาในการรองรับความต้องการเหล่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น คลองนี้ยังเผชิญกับปัญหาต่างๆ อีก ในปี 2023 ปานามาถูกเล่นงานด้วยฤดูแล้งที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ เจ้าหน้าที่ตัดสินใจจำกัดการใช้งานคลองลงเพื่อรักษาน้ำไว้
ล่าสุดปริมาเรือที่ผ่านคลองปานามาลดเหลือเพียง 25 ลำต่อวัน ซึ่งลดลงจากค่าเฉลี่ยเดิมอยู่ที่เกือบ 40 ลำต่อวัน เรือส่วนหนึ่ง ถูกทิ้งให้ติดอยู่ ต้องรอโอกาสที่จะได้ข้ามคลอง นี่แสดงให้เห็นว่าตัวเลือกเสริมอย่าง CIIT สามารถเข้ามาช่วยลดภาระให้กับคลองปานามาได้
การทำงานร่วมกันของคลองปานามาและ CIIT สามารถส่งผลให้การค้าโลกเพิ่มขึ้น โดยที่สินค้าจำนวนมากขึ้นจะสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกได้
ดังที่เจ้าหน้าที่ชาวเม็กซิกันคนหนึ่งได้กล่าวถึงโครงการนี้ในปี 2023 ว่า "มันไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อประเทศ แต่มันคือการเชื่อมต่อโลก" แต่ในอนาคต ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ CIIT จะต้องเผชิญกับการแข่งขันของตัวเอง ในปี 2014 นักธุรกิจชาวจีนพยายามสร้างคลองในนิการากัว ด้วยหวังว่าจะสร้างทางเลือกอื่นให้กับคลองปานามา!
หลังตลาดหุ้นจีนตกต่ำในปี 2015 เขาถูกบังคับให้ละทิ้งโครงการ แต่ก็อาจมีคนใหม่หันมาสานต่อโครงการนี้ได้ในอนาคต นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่เส้นทางเดินเรือตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Passage) ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปิดกั้นด้วยน้ำแข็งอาจเปิดออกให้เดินเรือได้ เนื่องจากภาวะโลกร้อน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เรือบางลำสามารถใช้เส้นทางนั้นเพื่อเดินทางจากฝั่งหนึ่งของอเมริกาไปยังอีกฝั่งหนึ่งได้แล้ว
แน่นอน การลงทุนมีความเสี่ยง บทเรียน CIIT จากประเทศเม็กซิโก น่าจะเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความทะเยอทะยาน ของประเทศ ในการสร้างแลนด์บริดจ์เชื่อม 2 มหาสมุทร
1
ประเทศไทย เอง ก็มีประเด็นที่ยังถกเถียงกันเรื่อง แลนด์บริดจ์ แน่นอนว่าหลายๆ คนในวงการโลจิสจิกส์ฟังดูไม่ make sense ลดเวลาไม่กี่วัน เรือใหญ่คงไม่มา แถมต้องมีค่าใช้จ่ายยกขึ้นยกลงอีก
ส่วนฝ่ายที่เป็นคนชงโครงการ ก็มองต่าง บอกว่าให้มองภาพกว้าง แลนด์บริดต์ แห่งนี้จะเป็น “ทางเลือก” ทดแทนช่องแคบมะละกา และยังมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ มองภาพใหญ่ ขึ้น ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะขนสินค้า โดยไม่ผ่านช่องแคบมะละกา ระหว่างฝั่งตะวันตก มาตะวันออก (จีน) ได้
ซึ่งตัวอย่างของ CIIT เราดูอีกสักพัก ก็น่าจะเป็น model ให้เทียบกันได้
และจริงๆ ฝั่งไทย ก็คล้ายของเม็กซิโก คือนอกจาก option ผ่านไทย แทนผ่านสิงคโปร์แล้ว เพื่อนๆ บ้านอย่างอินโดนีเซีย ก็มีช่องแคบให้ อ้อมเหมือนกันนะ ดูๆ แล้วเทียบเป็นการลงทุน ก็ ลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ คู่แข่งเยอะ
ถ้าไทยเรายังไม่ได้ตัดสินใจ ก็รอดูผล CIIT เม็กซิโกไปสักพักก็ยังทัน
1
=========================
นำเข้าความรู้ ส่งออกความคิด
ติดตามเพจ นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
=========================
UOB x นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
การมี partner ทางธุรกิจที่ดี ช่วยให้งานนำเข้าส่งออก กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ได้
แอดมิน เลยขอแนะนำสิทธิพิเศษ สำหรับเพื่อนๆ ผู้ติดตาม
สมัครใช้บริการกับ UOB SME ได้รับสิทธิพิเศษ ฟรีค่าธรรมเนียมการโอนสูงสุด 3 เดือน แถมด้วยบริการดีๆ ทดลองใช้แพลตฟอร์ม ZUPPORTS ช่วยเปรียบเทียบราคาเฟรท และจัดการเอกสารนำเข้า ส่งออก แบบครบวงจร
อย่ารอช้า รีบลงทะเบียนกันฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ที่
https://go.uob.com/3OIWVDV
ธุรกิจ
ข่าวรอบโลก
3 บันทึก
8
1
3
8
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย