6 มี.ค. เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode65: Kinesiology of Sacroiliac joint#10

Combined Sacroiliac and Iliosacral motion##
.
หลังจากที่เราเข้าใจการเคลื่อนไหวว่าsacrum nutation/counter-nutationไปบนinnominate boneได้อย่างไร(sacroiliac) และinnominate bone เคลื่อนที่ไปบนsacrum(iliosacral)อย่างไรแล้ว ต่อไปผมจะพูดถึงการเคลื่อนไหวที่เกิดcombineกันระหว่างsacroiliac, iliosacral, lumbar และhip jointกันนะครับ
เมื่อpelvic girdle(ทั้งinnominate boneและsacrum) เคลื่อนที่เป็นunitเดียวกันไปบนhip joint เราจะเรียกการเคลื่อนไหวเมื่อเกิดanterior rotationนี้ว่า “anterior pelvic tilt” และเรียกการเคลื่อนไหวเมื่อเกิดposterior rotationว่า “posterior pelvic tilt”ครับ
เวลาที่เราก้มตัว forward bending การเคลื่อนไหวที่pelvic จะเกิดเป็นbilateral motion โดยในช่วงแรกของการก้ม ส่วนของpelvic girdleจะshiftไปทางด้านหลังเพื่อcontrolให้center of gravityอยู่ในbase of support เพื่อรักษาbalanceนั่นเอง หลังจากนั้นเมื่อก้มตัวลงไป sacrumจะอยู่ในตำแหน่งnutationไปเรื่อยๆ ส่วนinnominate boneทั้ง2ข้าง จะเกิดanterior rotationพร้อมๆกันไปบนfemur(คือเกิดanterior pelvic tiltนั่นเอง) PSISทั้ง2ข้างจะขยับขึ้นในsuperior direction, lumbar spine จะเกิดflexion
เมื่อเราก้มตัวไปเรื่อยๆ tensionที่เกิดขึ้นที่sacrotuberous ligament, hamstring, thoracolumbar fasciaจะมากขึ้น จนถึงจุดนึงที่sacrumจะถูกlimit ที่จุดนี้innominate boneทั้ง2ข้างจะยังเกิดanterior tiltต่อไปได้อีกเล็กน้อย จึงทำให้sacrumเกิดcounter-nutation(เมื่อเทียบกับinnominate bone)นั่นเองครับ
.
ตอนกลับขึ้นมายืนตรง sacrumจะอยู่ในposition nutation จนกระทั่งขึ้นมายืนตรงเพื่อmaintain innominate boneทั้ง2ข้างไว้ครับ
ส่วนเวลาที่เราแอ่นหลัง backward bending ช่วงเริ่มต้นpelvic girdle จะshift anteriorly เพื่อปรับตำแหน่งcenter of gravityเหมือนตอนที่ก้มหลัง innominate boneทั้ง2ข้าง จะเกิดposterior rotationพร้อมๆกันไปบนfemur(เกิดposterior pelvic tilt) PSISทั้ง2ข้างจะเคลื่อนลงในทิศinferiorly ในขณะที่thoracolumbar spineจะค่อยๆเกิดextensionทีละข้อไปจนถึงL5
ระหว่างที่backward bendingนี้ sacrumจะอยู่ในท่าnutationตลอดการเคลื่อนไหว ตำแหน่งนี้เป็นstableที่สุด เพราะเกิดการcompressionของSI jointครับ
เมื่อเราก้มตัวหรือแอ่นตัวไปด้านหลัง ทั้งsacrumและinnominate boneจะเคลื่อนที่แบบbilateral motionคือทั้ง2ข้าง เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกันไปพร้อมๆกัน แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกิดการเคลื่อนไหวที่lower limbเช่นตอนที่เราเดิน จะมีจังหวะที่hipข้างนึงอยู่ในท่าflexion hipอีกข้างอยู่ในท่าextension
จังหวะแบบนี้innominate boneข้างหนึ่งจะต้องเกิดanterior innominate motionในขณะที่อีกข้างจะต้องเกิดposterior innominate motion ซึ่งสัมพันธ์กับsacrumที่ข้างหนึ่งจะต้องเกิดnutationในขณะที่อีกข้างนึงจะเกิดcounter-nutation การเคลื่อนไหวลักษณะนี้จะเป็นการเคลื่อนไหวแบบunilateral motion และสิ่งที่จะเกิดตามมาคือsacrumจะเกิดrotation(sacral torsion) ทำให้การเคลื่อนไหวมีความซับซ้อนมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าsacrumด้านซ้าย เกิดnutation(forward) จะทำให้sacrum rotation to Rt. side เวลาที่เราpalpate sacral base ของข้างซ้ายจะอยู่ลึกกว่าข้างขวา ส่วนsacrumด้านขวา จะเกิดตรงกันข้ามกันคือเกิดcounter-nutation ทำให้เราเจอว่าpalpate sacral baseอยู่ตื้นกว่า เป็นต้นครับ
สำหรับการrotationของsacrumลักษณะนี้จะเกิดรอบแกนสมมติ ที่เราเรียกว่า “sacral axis” ที่ผมจะอธิบายเพิ่มขึ้นในบทความหน้านะครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
#Sacroiliacjoint
#lumbopelvic
#kinesiology
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/ หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/ ได้เลยครับ
Ref.
Gibbons, J. (2017). Functional anatomy of the pelvis and the sacroiliac joint: A Practical Guide. North Atlantic Books.
Kapandji, A., Owerko, C., & Anderson, A. (2019). The Physiology of the Joints - Volume 3: The Spinal Column, Pelvic Girdle and Head. Handspring Publishing.
Foster, M. A. (2019). Therapeutic Kinesiology: Musculoskeletal Systems, Palpation, and Body Mechanics (1st ed.). Pearson.
โฆษณา