Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 ก.พ. เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์
‘เงิน’ เป็น ‘สิ่งมีชีวิต’ กระเป๋าสตางค์ = บ้านของเงิน
ทริกเปลี่ยนกระเป๋าให้ปัง จากหนังสือ "ชีวิตมั่งคั่งด้วยกระเป๋าสตางค์ใบเดียว"
มีใครที่เชื่อเรื่องใช้กระเป๋าสตางค์ให้เรียกทรัพย์หรือเปล่าครับ?
กระเป๋าสตางค์ไม่ได้เป็นเพียงของใช้ประจำวันหรือเครื่องประดับเท่านั้น เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นที่เปลี่ยนแปลงคนที่ติดลบให้กลายเป็นคนรวยที่มีความสุขในชีวิตมาแล้ว
วันนี้ aomMONEY อยากจะแบ่งปันเรื่องราวดีๆ จากหนังสือ ชีวิตมั่งคั่งด้วยกระเป๋าสตางค์ใบเดียว โดย คะเมะดะ จุนอิชิ ขอสรุปเป็นประเด็นๆ เคล็ดลับวิธีเปลี่ยนกระเป๋าสตางค์อย่างไรให้ชีวิตเปลี่ยน ที่น่าสนใจ....มาเริ่มกันเลยย
ต้องเชื่อว่า ‘เงิน’ เป็น ‘สิ่งมีชีวิต’
เหมือนเป็นมนุษย์คนหนึ่งและเป็นเพื่อนของเรา แล้วเจ้าสิ่งมีชีวิตนี้จะเลือกเข้าหาคนที่เอาใจใส่ ใช้อย่างทะนุถนอม และไม่ชอบคนที่ดูถูกเงิน แม้จะเป็นเศษเหรียญก็มีค่า
ควรใช้กระเป๋าสตางค์ทรงยาว กระเป๋าสตางค์ = บ้านของเงิน
ถ้าเรามีบ้านที่แสนสบายเงินก็จะเลือกมาอยู่กับเรา กระเป๋ายาวช่วยให้เก็บเงินและธนบัตรได้ง่าย, ไม่ยับ
ถ้าเราใช้กระเป๋าสตางค์แบบพับเงินจะรู้สึกอึดอัด
ทฤษฏี 200 เท่า รายได้ต่อปีของคนนั้น จะเท่ากับราคากระเป๋าสตางค์ x 200 (อาจไม่ได้ตรงกันทุกครั้งแต่ตามสถิติที่ผู้เขียนค้นพบส่วนมากจะตรงแม้จะยังพิสูจน์ได้ไม่แน่ชัด)
ดังนั้นถ้าอยากได้รายรับที่สูงขึ้นให้เปลี่ยนไปใช้กระเป๋าสตางค์ที่แพงขึ้น เพราะในทางจิตวิทยา เมื่อได้จับกระเป๋าสตางค์ราคาแพง จิตใต้สำนึกของเราจะพยายามหาเงินมาใส่ในกระเป๋าให้คู่ควรกับค่ากระเป๋าสตางค์ใบนั้น
เงินไม่ชอบกระเป๋าอ้วน ควรจัดระเบียบ & ทำความสะอาดกระเป๋าสตางค์ทุกวัน นำสลิปใบเสร็จ, บัตรสะสมแต้มหรือกระดาษอื่น ๆ ออกไป ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าแต่ละวันใช้เงินไปเท่าไหร่, คงเหลือเท่าไหร่ ทำให้เราวางแผนการใช้เงินได้ดียิ่งขึ้นและควรแยกเก็บเหรียญใส่ในกระเป๋าเหรียญต่างหากด้วย
อยากประหยัดต้องซื้อของแพง เพราะเราจะคำนึงถึง คุณภาพ ความคุ้มค่า เป็นการบ่มเพาะนิสัยที่จะมองถึงอนาคตในระยะยาว ได้ใช้เงินอย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ให้ราคาสินค้ามาเป็นตัวกำหนดการใช้เงิน
จัดธนบัตรไปในทางเดียวกัน เรียงธนบัตรตามมูลค่า ให้มูลค่าสูงสุดอยู่หลังสุด เพื่อรักษาธนบัตรที่มีมูลค่าสูงไว้ได้นาน เป็นระเบียบเรียบร้อยและจะช่วยให้หยิบใช้เงินได้สะดวก
ใช้จ่ายเงินอย่างสุภาพ ต้องยื่นเงินอย่างสุภาพเสมอ เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้รับและเงิน เพื่อให้เงินรู้สึกดีที่จะได้ออกสู่สังคม
“ไปดีนะ” & กลับมาแล้วเหรอ” ตอนใช้เงินให้เราพูดในใจกับเงินว่า “ไปดีนะ” และตอนได้เงินมาให้เราพูดในใจกับเงินว่า “กลับมาแล้วเหรอ” เพราะถ้าเราใช้เงินฟุ่มเฟือยเราจะรู้สึกผิดในใจที่จะกล่าวว่า “ไปดีนะ” ทำให้เกิดความยับยั้งชั่งใจช่วยควบคุมการใช้เงินได้ดียิ่งขึ้น
ก่อนจะควักเงินให้หยุดแล้วตอบคำถาม ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า นี่การจ่ายครั้งนี้เพื่อ การบริโภค, การลงทุน หรือการผลาญ เราต้องตอบคำถามทุกครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้เราหยุดคิดก่อนช้อปมากยิ่งขึ้น
ซื้อของไม่ให้ขาดทุน เมื่อเราจะตัดสินใจซื้อของแพง ๆ ต้องดูด้วยว่าของชิ้นนั้นเมื่อเราซื้อมาแล้ว ต้องขายต่อได้ในราคา > 70% หรือไม่? เป็นการฝึกนิสัยให้ตระหนักถึงการซื้อของที่มีคุณภาพดี พิจารณาอย่างถี่ถ้วน
กำหนดจำนวนและวิธีถอนเงิน กำหนดให้ถอนเงินได้ 2 ครั้ง/เดือนเท่านั้น โดยแต่ละครั้งเป็นตัวเลขที่เราจำได้ง่าย เช่น เกิดวันที่ 8 จึงถอนเงินครั้งละ 8,800 บาท การถอนแบบนี้จะช่วยให้เราจดจำได้ว่า เราถอนเงินเท่าไหร่, ใช้เท่าไหร่, คงเหลือเท่าไหร่ เป็นการฝึกการควบคุมการใช้เงิน
เงินจะยิ่งเข้ามาถ้าเรายิ่งเป็นอิสระจากเงิน การคิดถึงเรื่องเงินตลอดเวลาหรือตระหนี่ถี่เหนียวนั้น ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข เราต้องปฏิบัติตัวต่อเงินแบบพอดี เพราะเป้าหมายที่สำคัญของการควบคุมจัดการเงินนั้นก็เพื่อการเป็นคนรวยที่มีความสุขด้วยนั่นเอง รวมถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนของเงินก็สะท้อนรูปแบบการดำเนินชีวิตให้ตัวเราด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือชีวิตมั่งคั่งด้วยกระเป๋าสตางค์ใบเดียว โดย คะเมะดะ จุนอิชิ
#aomMONEY #วางแผนการเงิน #การเงิน #ทริคการเงิน #เป้าหมายการเงิน
1
7 บันทึก
6
11
7
6
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย