23 ก.พ. เวลา 14:31 • สุขภาพ

ยาเบาหวาน(Glipizide) ไกลพิไซด์ กับ (Metformin) เมทฟอร์มิน

เป็นยาลดน้ำตาลในเลือดที่เป็นยาพื้นฐาน และยังคงนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน แล้วต่างกันอย่างไร วันนี้มาเล่าให้ฟังคะ😊
.
📌Glipizide เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในกลุ่มยา ซัลโฟนิลยูเรีย
.
#กลไกออกฤทธิ์ จับกับ ตัวรับ(receptor )ที่เบต้าเซลล์ของตับอ่อน กระตุ้นการหลั่งของอินซูลิน
.
#ผลข้างเคียงสำคัญ คือ น้ำตาลในเลือดต่ำและทำให้น้ำหนักขึ้น จึงมักจะต้องเริ่มยาในขนาดต่ำๆก่อนนะคะ
.
#รูปแบบการจำหน่าย ห้ามิลลิกรัมต่อเม็ด
.
#วิธีรับประทาน ควรรับประทานก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้านานกว่าครึ่งชั่วโมงอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
.
#ขนาดยาที่รับประทาน ถ้ามากกว่า 15 มิลลิกรัมควรแบ่งเป็น 2 ครั้ง
.
#ขนาดสูงสุด รับประทานไม่เกิน 40 mg ต่อวัน ( เท่าที่ผ่านมาก็ไม่เคยเจอนะคะ)
.
#ข้อควรระวัง ผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยโรคไตจะมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้มาก 
มีข้อแนะนำในผู้ป่วยโรคไตที่ eGFR น้อยกว่า 50 ให้ลดขนาดยาประมาณครึ่งหนึ่ง
ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ
.
.
📌Metformin เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ในกลุ่ม ไบกัวไนด์ (Biguanide)
#กลไกการออกฤทธิ์ เพิ่มความไวของอินซูลิน ลดการดูดซึมกลูโคสที่ลำไส้ ลดการสร้างน้ำตาลที่ตับ ยับยั้งการสร้างไขมัน
#ผลข้างเคียงที่เจอบ่อย ในช่วงแรก มีคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร จึงแนะนำให้เริ่มจากขนาดต่ำๆ เพื่อให้ทนต่อยาได้มากขึ้น,
มีภาวะขาดวิตามินบี 12 (ref.3)
ผลข้างเคียงที่รุนแรง คือ แลคติกอะซิโดซิส แต่ไม่ได้เจอบ่อย(ref.4)
.
#รูปแบบการจำหน่าย(ยาเดี่ยว) 500 มิลลิกรัม, 850 มิลลิกรัม
#วิธีรับประทาน ควรรับประทานหลังอาหารเพื่อลดผลข้างเคียงจากยา เรื่องคลื่นไส้ อาเจียน
.
#ขนาดยาสูงสุด ไม่เกิน คือ 2550 mg ต่อวัน
#ข้อควรระวัง
.
1.ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง CrCl<30 เนื่องจากยา ขับออกทางไตเป็นหลัก
2.ระวังการใช้ในผู้ที่มีการทำงานของตับบกพร่อง
#สรุป เมทฟอร์มิน ดีกว่า ไกลพิไซด์ ในแง่ไม่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยาระยะยาว และไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป แต่ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา 2 ตัวนี้ร่วมกัน มักจะเป็นผู้ป่วย เบาหวานที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้ว ทำให้รับประทานยาชนิดเดียวแล้วไม่ค่อยได้ผล
อย่างที่ทุกคนทราบดี การใช้ยาเพื่อให้ได้ ประสิทธิภาพที่ดี ก็ต้องมีการปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตด้วย #อยากได้สุขภาพที่ดีต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน คะ
.
เรียบเรียงโดย: เพจเรื่องเล่าจากห้องยา
#ภญสุพนิต
.
.
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
.
1. short note pharmacotherapy โดยอาจารย์ธีระพงษ์ ศรีศิลป์
.
2.บทความเรื่อง การใช้ยาลดระดับน้ำตาลชนิดชนิดรับประทานโดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
.
.
5.ตำราเภสัชกรครอบครัวโดย สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลประเทศไทย
.
โฆษณา