Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
26 ก.พ. เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
จักจั่น กับที่มาของเสียงที่คุ้นหู แมลงนักดนตรีแห่งผืนป่า
จักจั่น (Cicada) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Meimuna opalifera Walker
จักจั่นถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว 230-295 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสสิก (Triassic) นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้จักจั่นเป็นแมลงอยู่ในอันดับ (Order) Homoptera ซึ่งเป็นกลุ่มของแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร เช่นเพลี้ยชนิดต่าง ๆ ครั่ง แมลงหวี่ขาว
ลักษณะที่เด่นชัดของแมลงในอันดับนี้ก็คือ ปีกคู่หน้ามีลักษณะและขนาดความหนาของเนื้อปีกเท่ากันตลอดทั้งแผ่นปีก ชื่ออันดับที่มาจากลักษณะเด่นที่ว่านี้ คือ homo แปลว่า เหมือนกัน, เท่ากัน ส่วน ptera แปลว่า ปีก ซึ่งจะหนาทึบหรือบางใสก็ได้แล้วแต่ชนิดของแมลง ปีกของจักจั่นจะบางใสเหมือนกันทั้งแผ่นปีก
จักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในบรรดาแมลงอันดับนี้ทั้งหมด คือมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงบางชนิดที่ มีขนาดตัวยาวกว่า 10 เซนติเมตร มีหนวดสั้น ๆ (หนวดแบบขน-setaceoux) จนเกือบจะมองไม่เห็นดูคล้ายปุ่มเล็ก ๆ มากกว่าที่จะเป็นหนวด มีตาเดี่ยวสามตา ส่วนหัว ลำตัว ท้อง จะเชื่อมต่อกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน ปีกคู่หน้าจะบางใส
เสียงร้องของจักจั่น เพศผู้สามารถทำเสียงได้ดังมาก ประมาณ 200 เดซิเบล ตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้ แหล่งกำเนิดเสียงมาจากบริเวณด้านใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก จักจั่นแต่ละชนิดมีเสียงเฉพาะในแต่ละตัว ทำให้สามารถแยกประเภทของจักจั่นได้จากเสียงร้อง
ทำนองของเสียงร้องอาจบ่งบอกได้ถึงการป้องกันตัว ตกใจเมื่อถูกรบกวน หรือร้องเรียกเพื่อหาคู่ จักจั่นมีส่วนหัวและส่วนอก กว้างเรียวมาทางหาง มีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม อยู่ใกล้กับด้านสันหลัง ของศีรษะ หนวดสั้นเป็นรูปขน ปากเป็นแบบเจาะดูด มีปีกบางใสและยาวกว่าลำตัว เวลาเกาะอยู่กับที่ ปีกจะหุบชิดกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม มองคล้ายหลังคา ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนสลับกับสีน้ำตาลเข้ม ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อน ตาโต ขาหน้ามีขนาดใหญ่ไว้สำหรับขุดดิน ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวตั้งแต่หัวจรดปีกประมาณ 30 – 40 มิลลิเมตร
ในการศึกษาเรื่องเสียงของจักจั่นพบว่า ส่วนใหญ่การทำเสียงของจักจั่นจะเป็นไปเพื่อการหาคู่ครอง สำหรับจักจั่น "เสียง" ก็ไม่ ต่างไปจาก "รูปร่างหน้าตาและความสามารถ" ของคนเรา คุณภาพของเสียงบ่งบอกถึงคุณภาพของร่างกาย และพลังเสียง ท่วงทำนอง ความไพเราะ คือลีลา เฉพาะของจักจั่นตัวผู้แต่ละตัว ที่จะประกาศหรือโชว์ให้ตัวเมียได้เห็น (ได้ยิน) ศักยภาพและพึงพอใจในที่สุด
📸 Sarawut Plongnui
ที่มา : อุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่ จ.พังงา
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
#อุทยานแห่งชาติเขาหลักลำรู่ #พังงา #กรมอุทยานแห่งชาติ #จักจั่น
สิ่งแวดล้อม
ท่องเที่ยว
สื่อทางเลือก
บันทึก
6
2
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย