26 ก.พ. เวลา 03:08 • การเมือง

“ยูเครนโปรดดูโคโซโวเป็นตัวอย่าง” Politico

ยูเครนหวังว่าอเมริกาจะเข้ามาช่วยฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม แต่ตัวอย่างของโคโซโวแสดงให้เห็นแล้ว บางครั้งการอุปถัมภ์ของชาวอเมริกันเพียงนำไปสู่อันตรายเท่านั้น “วอชิงตันได้ประโยชน์จากความไว้วางใจของพริสตินา (เมืองหลวงโคโซโว)”
1
เครดิตภาพ: BBC
โคโซโวเป็นรัฐอิสระบนคาบสมุทรบอลข่าน ประกาศเอกราชจากเซอร์เบียแบบรับรองเองฝ่ายเดียวเมื่อกุมภาพันธ์ 2008 หลังจากความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดมานานหลายปีระหว่างชาวเซิร์บและชาวแอลเบเนียในพื้นที่ภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของเซอร์เบีย
โคโซโวได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกาและประเทศหลักในสหภาพยุโรป แต่เซอร์เบียเองซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยรัสเซีย พันธมิตรที่ทรงอำนาจปฏิเสธที่จะให้รับรองการแยกตัวของโคโซโวเช่นเดียวกับชาวเซิร์บในโคโซโว
หลังจากการล่มสลายของอดีตยูโกสลาเวียในช่วง 1990s เซอร์เบียตอบสนองต่อแรงกดดันแบ่งแยกดินแดนจากโคโซโวด้วยการสั่งเข้าปราบปรามอย่างหนักต่อชาวแอลเบเนียในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งยุติลงโดยการแทรกแซงทางทหารของนาโตในปี 1999 จนถึงปี 2008 สหประชาชาติได้เข้ามาดูแลภูมิภาคโคโซโว การปรองดองระหว่างชาวแอลเบเนียซึ่งเป็นส่วนใหญ่สนับสนุนการประกาศเอกราชและชนกลุ่มน้อยชาวเซิร์บทางตอนเหนือซึ่งไม่ขอรับรอง “ยังคงเป็นเรื่องยากและคุกรุ่นอยู่ตลอดจนถึงปัจจุบัน”
2
เครดิตภาพ: Dimitar Dilkoff/AFP via Getty Images
สองปีผ่านไปสำหรับสงครามรัสเซีย-ยูเครน ความหวังของเคียฟแน่นอนว่าขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและฝ่ายพันธมิตรในยุโรป ไม่เพียงแต่ในช่วงสงครามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหลังจากสิ้นสุดสงครามด้วย จะฟื้นฟูประเทศที่สูญเสียย่อยยับยังไง? อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าเคียฟไม่ควรคาดหวังมากเกินไปจากวอชิงตัน ในโคโซโวซึ่งได้รับการยอมรับบางส่วน ถือเป็นความสำเร็จทางการทูตหลักในทศวรรษที่ผ่านมาโดยอเมริกา
การอุปถัมภ์ของอเมริกาไม่ได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจหรือสังคมมากนัก แต่กลับกันนักการเมืองและนายทุนจากต่างประเทศกลับกลายเป็นว่าสนใจผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าการช่วยเหลือรัฐอิสระเล็กๆ นี้ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาอเมริกาทำให้ปัญหาของโคโซโวรุนแรงขึ้นเพียงใด แต่เป็นผลประโยชน์ให้กับอเมริกาเท่านั้น – เนื้อหาใจความจากบทความเผยแพร่ของ Politico (อ้างอิง: [1])
1
  • ชาวอเมริกันได้รับการปฏิบัติเสมือนเป็นผู้มีพระคุณ แต่โคโซโวยังคงเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรป
ซึ่งแตกต่างจาก “อิรัก” และ “อัฟกานิสถาน” ซึ่งประชาชนท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นศัตรูกับกองกำลังอเมริกัน แต่ในโคโซโวแล้วอเมริกาถือว่าพวกเขาเป็นผู้มีพระคุณเพราะช่วยขับไล่กองทหารยูโกสลาเวียในปี 1999 จากนั้นกองกำลังนาโตภายใต้คำสั่งของ เวสลีย์ คลาร์ก นายพลชาวอเมริกันสั่งหยุดการกวาดล้างชาติพันธุ์โดยชาวเซิร์บต่อชาวแอลเบเนีย และประสบความสำเร็จในการโอนภูมิภาคโคโซโวไปยังการดูแลต่อของสหประชาชาติ
1
ชาวโคโซโวทักทายกองทหารนาโตบนถนน ภาพถ่ายเมื่อ 30 มิถุนายน 1999 เครดิตภาพ: Ami Vitale / Getty Images
ตั้งแต่นั้นมามีการสร้างอนุสาวรีย์หลายแห่งทั่วโคโซโวเพื่อเชิดชูการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ในการต่อสู้เพื่อเอกราชจากเบลเกรด อนุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อผู้นำทางการเมืองและการทหารของอเมริกา ถนนและจัตุรัสก็ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่พวกเขา อดีตประธานาธิบดี “บิล คลินตัน” และ “แมดเดอลีน อัลไบรท์” ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศภายใต้เขา ได้รับการยกย่องนับถือเป็นพิเศษในโคโซโว คนในพื้นที่มักบอกนักท่องเที่ยวว่าหลังสงครามสิ้นสุดลง เด็กผู้ชายมักถูกเรียกว่าคลินตัน และเด็กผู้หญิงถูกเรียกว่าแมดเดอลีน
1
ความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันกับพริสตินาได้รับการอธิบายในแง่บวกหลัก (เพียงด้านเดียว) นั่นคือการแทรกแซงของอเมริกาภายในนาโตเพื่อช่วยรักษาชีวิตผู้คนและป้องกันความรุนแรงที่บานปลายในโคโซโวได้อย่างไร
เครดิตภาพ: Armend Nimani/AFP via Getty Images
อย่างไรก็ตามการเข้ามาของสหรัฐฯ ในโคโซโวไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจนว่าประสบความสำเร็จ ผลประโยชน์ของชาวอเมริกันในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่วนเวียนอยู่กับผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าการสนับสนุนประชากรในท้องถิ่นและการพัฒนาเศรษฐกิจ
หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดของเรื่องนี้คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของโคโซโวซึ่งหนึ่งในสี่ของศตวรรษหลังสงครามกลางเมืองยังคงอยู่ในสภาพทรุดโทรม การจ่ายไฟฟ้าของประเทศยังขึ้นอยู่กับโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ล้าสมัยและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมสองแห่ง (หนึ่งในนั้นเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 1962) เนื่องจากอุตสาหกรรมถ่านหินเหล่านี้ “พริสตินาจึงถือเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป” (อ้างอิง: [2])
โรงไฟฟ้าถ่านหินใกล้กับเมือง Obilić ในโคโซโว เครดิตภาพ: Armend Nimani/AFP via Getty Images
ไม่เพียงแต่อุตสาหกรรมพลังงานเท่านั้นที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติในโคโซโว แต่ยังรวมถึงอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วย แม้แต่ในสมัยยูโกสลาเวีย บริษัท Trepça ของรัฐซึ่งประกอบธุรกิจเหมืองแร่และถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ว่าจ้างรายสำคัญในคาบสมุทรบอลข่าน มีพนักงานมากกว่า 20,000 คน พวกเขารับผิดชอบการทำงานของเหมือง โรงงานโลหะ และโรงงานแปรรูปหลายแห่ง แต่ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา Trepça ตกต่ำลง เนื่องจากอุปกรณ์ล้าสมัยไม่มีการพัฒนาและพนักงานก็ลดลงอย่างมาก
1
อัตราการว่างงานของโคโซโวเฉลี่ยมากกว่า 27% ในช่วงปี 2013 ถึง 2022 (อ้างอิง: [3]) ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตราที่เลวร้ายที่สุดในยุโรป ถึงแม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพลวัตจะดีขึ้นเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม “การว่างงานยังคงเป็นปัญหาสำคัญของโคโซโว” เนื่องจากค่าจ้างต่ำและการขาดโอกาส คนหนุ่มสาวจำนวนมากจึงออกนอกประเทศ พลเมืองโคโซโวประมาณ 800,000 คน (มากกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป) อาศัยอยู่ในต่างประเทศ เกือบทั้งหมดส่งเงินกลับมาให้ญาติ แม้ว่าการส่งเงินเหล่านี้ไม่สามารถถือเป็นแหล่งรายได้ที่เชื่อถือได้ แต่คิดเป็นประมาณ 15% ของ GDP ในโคโซโว
1
เครดิตภาพ: Armend Nimani/AFP via Getty Image
ปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ได้แก่ ความไม่มั่นคงทางการเมืองและการคอร์รัปชัน หนึ่งในผู้ริเริ่มหลักในการประกาศอิสรภาพ ประธานาธิบดีคนที่ 5 ของโคโซโว “ฮาชิม ทาซี” ซึ่งประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ เคยเรียกว่า “จอร์จ วอชิงตัน แห่งโคโซโว” ถูกควบคุมตัวในกรุงเฮกตั้งแต่ปี 2020 ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลชาวแอลเบเนียของโคโซโวและชนกลุ่มน้อยชาวเซิร์บที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือย่ำแย่ลงในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แม้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของนาโตเกือบ 4,500 คนในภูมิภาคก็ตาม
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ประธานาธิบดี “อเล็กซานดาร์ วูซิช” แห่งเซอร์เบียกล่าวหานายกรัฐมนตรี “อัลบิน คูร์ตี” ของโคโซโวว่า ทำการ “สนับสนุนเรียกร้องให้เกิดการกวาดล้างชาติพันธุ์” เนื่องจากธนาคารกลางโคโซโวได้ประกาศให้เงินยูโรเป็นสกุลเงินที่เป็นทางการเพียงสกุลเดียว แม้ว่าผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ในเขตของชาวเซิร์บยังคงใช้เงินสกุลดินาร์อยู่ก็ตาม
กลุ่มชาวเซิร์บทางตอนเหนือของโคโซโวแสดงสัญลักษณ์ถึงความไม่พอใจต่อรัฐบาลชาวแอลเบเนียโดยการยกธงชาติเซอร์เบียเดินขบวนในเมือง เครดิตภาพ: AFP via Getty Images
  • หลังจากการประกาศเอกราช นักลงทุนอเมริกันหลั่งไหลเข้าสู่โคโซโว โครงการหลายโครงการของพวกเขาค่อนข้างส่งผลเสียต่อโคโซโวมากกว่ามีส่วนในการพัฒนา
บริษัทอเมริกันเริ่มให้ความสนใจอย่างมากในโคโซโวหลังจากการประกาศเอกราชในปี 2008 เพื่อให้ข้อเสนอของพวกเขาดึงดูดเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมากขึ้น พวกเขาจึงขอความช่วยเหลือจากอดีตสมาชิกฝ่ายบริหารของคลินตันที่เกี่ยวข้องกับการทำให้โคโซโวแยกตัวจากเซอร์เบียสำเร็จ
ผู้บุกเบิกที่พยายามเพิ่มอิทธิพลในภูมิภาคนี้คือ Bechtel หนึ่งในบริษัทเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ด้วยความเชื่อมโยงกับรัฐบาลอเมริกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้บริษัทได้รับอิทธิพลไปทั่วโลกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 และมีส่วนร่วมในการก่อสร้างโครงการต่างๆ ตั้งแต่ท่อส่งน้ำมัน Trans-Arabian ไปจนถึงอุโมงค์ใต้ช่องแคบอังกฤษ
3
ตัวแทนของ Bechtel เห็นด้วยกับทางการโคโซโวเกี่ยวกับ “สัญญาก่อสร้างถนนใช้ความเร็วสูง (มอเตอร์เวย์)” โดยมีความคิดที่ว่าประมาณ 60% ของประชาชนโคโซโวตกอยู่ใต้เส้นความยากจนในขณะนั้น จึงต้องการถนนดังกล่าว ดูเหมือนย้องแย้งกัน (จนแต่ต้องใช้เงินจำนวนมากสร้างถนนที่ใช้งบมาก หรือ จนต้องเร่งสร้างถนนเพื่อโอกาสในการสร้างรายได้ให้ประเทศ)
1
อย่างไรก็ตามชาวอเมริกันสร้างความประทับใจให้ชนชั้นสูงทางการเมืองในท้องถิ่นด้วยการใช้คำว่า “ทางหลวงรักชาติ” เพื่อมุ่งทำให้ชาวแอลเบเนียที่อาศัยอยู่ในโคโซโวเดินทางไปยังชายแดนแอลเบเนียได้อย่างสะดวกสบายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงได้อย่างไร แทนที่จะเป็นว่าใช้เวลาหนึ่งวันในการเจรจาต่อรองทางเลี้ยวหักศอกบนถนนสายเก่าที่พังทลาย
ทางหลวงรักชาติของโคโซโว โปรเจคของ Bechtel เครดิตภาพ: Bechtel
แม้จะมีข้อสงสัยโดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการนี้ แต่ในปี 2010 รัฐบาลโคโซโวได้ทำข้อตกลงกับ Bechtel มูลค่าประมาณ 700 ล้านยูโร รายละเอียดทั้งหมดของสัญญาไม่เคยเปิดเผย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นทุนการก่อสร้างเป็นเพียงการระบุโดยประมาณเท่านั้น และไม่มีการกำหนดงบสูงสุดของโครงการ
1
ในฐานะรัฐเกิดใหม่และยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกมากนัก โคโซโวจึงไม่สามารถกู้ยืมเงินระยะยาวเพื่อการก่อสร้างได้ แต่ทางการได้ตัดสินใจจัดหาเงินทุนให้กับโครงการโดยตรงจากงบประมาณประเทศ ซึ่งบังคับให้พวกเขาจำกัดรายจ่ายอื่นๆ อย่างจริงจัง “ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของ R7 (ชื่อเรียกโครงการ) มีมูลค่ามากกว่า 20% GDP ของโคโซโวในปี 2010 โดยมีผลกระทบร้ายแรงต่องบประมาณของรัฐ” รายงานของ IMF ระบุ
ตามเงื่อนไขสุดท้ายของโครงการมอเตอร์เวย์นี้จะมีความยาว 102 กิโลเมตร และมีค่าใช้จ่าย 4 ร้อยล้านยูโร อย่างไรก็ตามในระหว่างดำเนินการ Bechtel ได้ลดการก่อสร้างเส้นทางลงเหลือ 77 กิโลเมตร ต้นทุนรวมในการก่อสร้างซึ่งบริษัทอเมริกันร่วมกับ Enka ที่ถือหุ้นในตุรกี แล้วเสร็จในปี 2012 กลับมีมูลค่าสูงถึงพันล้านยูโร
ในปี 2014 Bechtel และ Enka ตกลงกันในสัญญาสำหรับการก่อสร้างถนนสายอื่น ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอีกประมาณ 6 ร้อยล้านยูโร ซึ่งคาดว่าจะเชื่อมต่อ พริสตินา กับ Skopje เมืองหลวงของมาซิโดเนีย รัฐบาลโคโซโวเพิกเฉยต่อผลกระทบด้านลบของ R7 ที่มีต่อเศรษฐกิจ และอนุมัติโครงการใหม่ การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2019 และในเดือนมกราคม 2024 อดีตรัฐมนตรีกระทรวงโครงสร้างพื้นฐาน Pal Lekaj ถูกกล่าวหาว่าใช้ตำแหน่งโดยมิชอบ และถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ในข้อหาเบิกงบเกินจำนวน 53 ล้านยูโรให้กับ Bechtel และ Enka โดยไม่ได้รับอนุญาต
เจ้าหน้าที่สามคนในแผนกของรัฐมนตรี Lekaj ถูกตัดสินว่ามีความผิดในคดีเดียวกัน แต่ไม่มีพนักงานของ Bechtel หรือชาวอเมริกันสักคนเดียวที่ปรากฏในเอกสารของคดี โฆษกของบริษัทปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้และกล่าวว่า Bechtel “สร้างถนนคุณภาพสูงที่ช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการค้า สร้างโอกาสในการฝึกอบรมและงาน และพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาคต่างๆ”
  • อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และอดีตผู้บัญชาการกองกำลังนาโตในยุโรปพยายามเข้าควบคุมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเหมืองแร่ของโคโซโว (ตามลำดับ) พวกเขาถูกขัดขวางโดยการประชาสัมพันธ์ในสื่อและการวิพากษ์วิจารณ์ของสหประชาชาติเท่านั้น
ธุรกิจก่อสร้างไม่ได้อยู่ในความสนใจของอเมริกาเพียงอย่างเดียวในโคโซโว ธุรกิจโทรคมนาคมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการแปรรูปสถานะบริษัท PTK ซึ่งเป็นบริษัทผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐก่อนหน้านี้ ทำให้เกิดความตื่นเต้นไม่น้อยในหมู่นักลงทุน คู่แข่งหลักในการซื้อหุ้น 75% คือบริษัทของอดีตรัฐมนตรีการต่างประเทศสหรัฐฯ “แมดเดอลีน อัลไบรท์” หนึ่งในนักการเมืองอเมริกันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโคโซโว
2
แมดเดอลีน อัลไบรท์ อดีตรัฐมนตรีการต่างประเทศสหรัฐฯ เครดิตภาพ: ShareAmerica
มีนักวิจารณ์ต่อ “อัลไบรท์” ชี้ให้เห็นว่าบริษัทของเธอเป็นเจ้าของผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์มือถือเพียงรายเดียวของโคโซโวอยู่แล้ว และเตือนว่าหากบริษัทเธอเข้าซื้อกิจการ PTK จะยิ่งสามารถควบคุมกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญได้เกือบเบ็ดเสร็จ สุดท้ายเธอได้ถอนข้อเสนอของเธออย่างไม่เต็มใจหลังจากที่เดอะนิวยอร์กไทมส์ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เธอเข้าร่วมในการเสนอราคา (อ้างอิง: [4])
อัลไบรท์เสียชีวิตในปี 2022 แต่ญาติและหุ้นส่วนทางธุรกิจของเธอยังคงทำงานอยู่ในคาบสมุทรบอลข่าน อลิซ ลูกสาวของเธอยังเป็นหัวหน้า Millennium Challenge Corporation ซึ่งเป็นหน่วยงานในอเมริกาที่ออกเงินช่วยเหลือสำหรับโครงการเฉพาะให้กับรัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนารวมถึงโคโซโว และอดีตที่ปรึกษาของเธอ เจมส์ โอไบรอัน เพิ่งกลับมาที่ภูมิภาคนี้ในตำแหน่งปลัดกระทรวงกิจการยุโรปและยูเรเชียน
2
นักลงทุนอเมริกันรายใหญ่อีกรายที่ยังคงสนใจโคโซโวคืออดีตผู้บัญชาการนาโต “พลเอก เวสลีย์ คลาร์ก” เริ่มต้นในปี 2012 เขาใช้เวลาหลายปีในการพยายามควบคุมปริมาณสำรองลิกไนต์จำนวนมหาศาลในนามของบริษัท Envidity Energy Inc. ของแคนาดา ซึ่งขณะนั้นเขาดำรงตำแหน่งอาวุโสในบริษัท
คลาร์กและบริษัทของเขาสัญญากับทางการโคโซโวว่าจะลงทุน 8 พันล้านดอลลาร์ในโครงการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ในปี 2013 รัฐบาลถึงกับเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อให้ใบอนุญาตทำเหมืองถ่านหินแก่ชาวต่างชาติภายใต้โครงการที่เรียบง่ายโดยไม่ต้องเปิดประมูลแบบเปิดเผยต่อสาธารณะ ในไม่ช้าบริษัท Envidity ก็ได้รับอนุญาตให้สำรวจและขุดลิกไนต์ทั่วพื้นที่ซึ่งคิดเป็นประมาณหนึ่งในสามของโคโซโว
พลเอก เวสลีย์ คลาร์ก (ซ้าย) อดีตผู้บัญชาการนาโตในยุโรป เครดิตภาพ: OILMAN Magazine
ในปี 2016 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเผยแพร่รายงานที่วิพากษ์วิจารณ์คลาร์ก โดยระบุว่าโครงการ Envidity ขัดแย้งกับกฎหมายของโคโซโวฉบับก่อนหน้า ทำให้เกิดความกังวลว่าโคโซโวจะถูกลิดรอนทรัพยากรธรรมชาติ โดยผลกำไรจากการแสวงหาผลประโยชน์จะตกเป็นของนักลงทุนต่างชาติเกือบทั้งหมด รายงานยังกล่าวอีกว่าโครงการของคลาร์ก “ชวนให้นึกถึงการก่อสร้างทางหลวงสองสายที่สร้างข้อขัดแย้งโดย Bechtel ซึ่งอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำโคโซโวเป็นตัวแทน”
2
หลังจากการเผยแพร่ของยูเอ็น รัฐสภาโคโซโวเพิกถอนใบอนุญาตของ Envidity แต่ถึงอย่างนั้นคลาร์กก็ไม่ละทิ้งความพยายามที่จะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคบอลข่าน ตอนนี้เขามุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาได้พบกับนายกรัฐมนตรีอัลบิน คูร์ตี และสมาชิกคนอื่นๆ ของชนชั้นสูงทางการเมืองในโคโซโวเป็นประจำ และพยายามโน้มน้าวพวกเขาว่าบริษัทของเขาควรได้รับความไว้วางใจให้ปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศ
1
  • ในเรื่องการลงทุนอเมริกาอาจได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง นักลงทุนชาวอเมริกันยังระมัดระวัง พวกเขาหวาดกลัวกับสถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนติดกับเซอร์เบีย
การเผชิญหน้าระหว่าง “ชาวเซิร์บ” และ “ชาวแอลเบเนีย” ที่อาศัยอยู่ในโคโซโวนั้น เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแม้กระทั่ง 16 ปีหลังจากการได้รับเอกราชของโคโซโว ทั้งบรัสเซลส์และวอชิงตันไม่ประสบความสำเร็จในการคลี่คลายสถานการณ์ ทางการเซอร์เบียยังคงถือว่าโคโซโวเป็นภูมิภาคที่ถูกแบ่งแยกดินแดนออกไปและไม่ยอมรับความเป็นอิสระของโคโซโว
1
สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งยังดำเนินต่อไปคือ สถานะของชาติพันธุ์ชาวเซิร์บประมาณ 50,000 คนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของโคโซโวใกล้ชายแดนเซอร์เบีย ความขัดแย้งระหว่างชาวแอลเบเนียและชาวเซิร์บในดินแดนนี้ดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายปี แม้ว่าจะมีกองทหารอเมริกันอยู่ก็ตาม เมื่อปีที่แล้วการทะเลาะวิวาทบริเวณชายแดนจบลงด้วยการเสียชีวิตของตำรวจโคโซโว 1 นาย และชาวเซิร์บ 3 คน
มีนักวิจารณ์หลายคนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของอเมริกาในภูมิภาคนี้ถือว่า “ความสัมพันธ์ที่แตกหักกันระหว่างเบลเกรดและพริสตินาเป็นความล้มเหลวทางการทูตของสหรัฐอเมริกา” แม้ว่าวอชิงตันจะมีอิทธิพลมหาศาล แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของสถานการณ์ได้
“หากอเมริกาต้องการคลี่คลายสถานการณ์ทางตอนเหนือของโคโซโว จริงแล้วสามารถทำเช่นนั้นได้” อดีตเจ้าหน้าที่รัฐบาลโคโซโวบอกกับ Politico โดยไม่เปิดเผยชื่อ “อเมริกาสามารถทำอะไรได้มากกว่านั้นมาก แต่ว่ากลับมีสภาพแวดล้อมทางการทูตที่เจ็บปวด… ปัญหาเกิดขึ้นเพียงเพราะสหรัฐอเมริกาขาดความสนใจในการแก้ปัญหามันเท่านั้น”
1
“นี่เป็นหนึ่งในความลึกลับที่ยิ่งใหญ่” อดีตรัฐมนตรีอีกคนกล่าว ประเทศเช่นอเมริกาสามารถทุ่มทรัพยากรและทุนทางการเมืองมากมายเพื่อทำให้โคโซโวเป็นรัฐที่เดินต่อไปได้แต่ทว่ากลับยังคงล้มเหลวได้อย่างไร ชาวอเมริกันเพียงลืมเกี่ยวกับโคโซโว
คอลัมนิสต์บทความนี้ของ Politico แนะนำว่าชะตากรรมเดียวกันอาจรอคอยยูเครน หากเคียฟตั้งความหวังไว้สูงเกินไปในการรอคอยการสนับสนุนความช่วยเหลือจากอเมริกา อ้างอิงบทความต้นเรื่องได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
26th Feb 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Illustrated by Tomato Košir for POLITICO>
โฆษณา