28 ก.พ. เวลา 03:25

ธนาคารเวลา (Time bank)

'ออม' ไว้ใช้ในยามชรา
แนวคิดรับสังคมสูงวัย
เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete - aged Society) โดยมี ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี 13 ล้านคน หรือกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ
และจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นปีละกว่า 1 ล้านคนในปี 2567-2568 จากการส่งเสริมการมีบุตรเมื่อ 60 ปีก่อน
โจทย์ใหญ่ คือ การรับมือกับสังคมสูงวัยทุกมิติไม่ว่าจะสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และการมาของเทคโนโลยี
"แรมรุ้ง วรวัธ” อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์กับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า เนื่องมาจากการที่ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเยอะขึ้น เด็กเกิดใหม่น้อยลง วัยทำงานน้อยลง
ดังนั้น ต้องหากลไกที่จะมีใครเข้ามาดูแลเมื่อสูงอายุ และต้องการการช่วยเหลือ การดูแลเป็นพิเศษ
แนวคิด "ธนาคารเวลา" จึงถูกนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยในปี 2561
เป็นการจับคู่เชื่อมต่อ ผู้ที่มีจิตอาสา และผู้ที่ต้องการรับความช่วยเหลือ โดยอาสาสมัครสามารถสะสมเวลา 1 ชั่วโมง เท่ากับ 1 คะแนน เพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคต
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา