29 ก.พ. 2024 เวลา 10:37 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Financial Education ep.06 - ทำไมเราจึงไม่ควรออมเงินระยะยาว?

“เงินเป็นสิ่งที่เราไม่ควรไว้ใจมากที่สุด”
ขอต้อนรับสู่ Financial Education รายการที่จะพาทุกๆคนล่องลอยไปในโลกแห่งการเงินการลงทุน คุณจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การย้อนเวลาไปเรียนรู้ความผิดพลาดในอดีตเพื่อที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจและจะได้นำมาปรับใช้ให้เหมาะสม หรือจะเป็นการนำเสนอวิธีคิด กลยุทธ์ และการตัดสินใจของธุรกิจชั้นนำ เพื่อที่จะนำมาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์
  • ที่มาที่ไป
เนื่องจากเงินสามารถถูกผลิตขึ้นมาได้อย่างไม่จำกัด ทำให้เมื่อมีจำนวณเงินที่มากขึ้นในตลาด มูลค่าของมันจึงค่อยๆลดลง ซึ่งตรงกันข้ามกับทองคำอย่างสิ้นเชิง
โดยการที่เงินลดมูลค่านี้ สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า “เงินเฟ้อ” (แต่เป็นการเฟ้อตามกลไกของตลาด ไม่ใช่วิกฤตเงินเฟ้อ
ในอดีตเงินทุกสกุลจะถูกผูกไว้กับทองคำ หมายความว่าการที่จะพิมพ์เงินได้นั้นจะต้องเอาทองคำมาแลก จึงก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ชนะสงคราม จึงได้คิดค้นข้อเสนอที่ว่าให้ทุกสกุลเงินบนโลกผูกไว้กับสกุลเงิน US Dollar แล้วสัญญาว่า US Dollar จะผูกไว้กับทองคำอีกที แต่ภายหลังสหรัฐก็ผิดคำมั่นสัญญาโดยการพิมพ์เงินออกมาดื้อๆโดยไม่อิงกับทองคำ เนื่องจากต้องการนำเงินมาใช้ในสงครามในเวียดนาม แต่สุดท้ายก็โบ๊ะแตกโดยการที่โดนฝรั่งเศษขอซื้อทองคำคืน แต่สุดท้ายสหรัฐก็ไม่มี
ต่อมาใน 1971 ประธานาธิปดีสหรัฐในสมัยนั้นหรือ ริชาร์ด นิกสัน จึงได้ออกมาประกาศกับชาวโลกทั่วโลกแบบดื้อๆว่าต่อไปนี้จะไม่ผูกค่าเงินกับทองคำอีกแล้ว (Nixon Shock)
ในปัจจุบันเงินจึงเป็นสิ่งที่สามารถพิมพ์ออกมาได้ไม่จำกัดหรือก็คือยุคของระบบการเงินแบบ Fiat Money System
จึงทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกวันนี้เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีอิธิพลไม่มากก็น้อยต่อทุกประเทศทั่วโลก ดังเช่น Covid-19 crisis ที่ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐได้ตัดสินใจพิมพ์เงินเข้าระบบอย่างมหาศาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตนเอง จึงทำให้เมื่อหลังจากที่ Covid-19 crisis ได้เริ่มสิ้นสุดลง เงินที่ FED ได้พิมพ์เข้ามาได้ล้นทะลักกลายเป็นฟองสบู่ที่แตกกระจายไปทั่วโลก เงินสกุลต่างๆที่ผูกไว้กับ US Dollar จึงได้เสื่อมมูลค่าลงอย่างรวดเร็ว
  • คนรวยมักไม่ถือเงินสดระยะเวลานานๆ:
เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเงินจะลดมูลค่าลงในทุกๆปีตามกลไกของตลาด ดังนั้นการถือเงินสดไว้เฉยๆจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
การออมเงินให้ผลตอบแทนอยู่ที่ไม่เกิน 1% ต่อเดือน ซึ่งยังเอาชนะอัตราเงินเฟ้อไม่ได้เลยด้วซ้ำ ดังนั้นการออมเงินระยะยาวก็ไม่ต่างอะไรกับการแช่แข็งเงินเอาไว้ในตู้เย็นเพื่อรอกระแสเวลาที่จะค่อยๆกัดกินมูลค่าที่ละเล็กทีละน้อย ซึ่งแน่นอนว่าขาดทุนแน่นอน 100% “เราไม่สามารถรวยได้จากการออมเงิน การออมเงินเป็นสิ่งที่เสี่ยงที่สุดโลกใบนี้”
  • อะไรให้ผลตอบแทนดีกว่าการออมเงิน?
คำตอบก็คือ “ทุกอย่าง” ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ หุ้น คริปโต อสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมตราสารหนี้และตราสารทุน แต่สิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมือใหม่พึ่งคลอดที่ยังอายุไม่มากก็คงจะหนีไม่พ้น “กองทุนรวม”
  • กองทุนรวมคืออะไร ดียังไง?
กองทุนรวมมีหลายประเภท เป็นการที่เรานำเงินของเราไปให้ผู้จัดการกองทุนจัดการให้ โดยมรหลากหลายกองทุนให้เลือก เช่น กองทุนตราสารทุน กองทุนพันธบัตรรัฐบาล จนไปถึงกองทุนสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง Crypto และทองคำ
โดยกองทุนยอดฮิตตลอดการก็คงหนีไม่พ้นกองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนหุ้น โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.กองทุนหุ้นดัชนี (Index fund) - ประเภท Passive fund
- กลยุทธ์การลงทุนแบบล้อไปตามดัชนีราคาตลาดโดยจะไม่มีผู้เชียวชาญมาคอย บริหารเงินให้เหมือน Active fund แต่จะเป็นการลงเงินอัตโนมัติตามเงื่อนไขของหุ้น เช่น กองทุน SET50 จะอ้างอิงตามดัชนีของหุ้นบริษัท 50 อันดับแรกของไทย, กองทุน [*]Feeder fund S&P500 ที่จะมีดัชนีล้อไปตามกราฟของกองทุนใหญ่ S&P500 ที่ USA หรือแม้แต่กองทุน Nasdaq ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำด้าน เทคโนโลยี
- เนื่องจากเป็นการลงเงินไปตามเงื่อนไขของกองทุน ไม่มีคนมาคอยลงให้เหมือน Active fund จึงทำให้มีค่าธรรมเนียมต่ำ และผลตอบแทนจะแน่นอนและเป็นไปตาม ราคาตลาดของหุ้นนั้นๆ
- เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ไปจนถึงมือฉมัง เน้นหวังผลระยะยาว
- เป็นกองทุนที่คุ้มค่าที่สุดเพราะแทบจะไม่มีโอกาสที่จะแพ้ตลาด เพราะเป็นการ ลงเงินล้อไปตามแนวโน้มของตลาด (อัตราผลตอบแทนเหมือนหุ้น 8%-12% ต่อ เดือน *ค่าเฉลี่ย 10% ต่อเดือน) “ไม่แพ้และไม่ชนะตลาดแต่ผลตอบแทนระยะยาวดี แน่นอน”
2. กองทุนประเภท Active fund
- กลยุทธ์การลงทุนแบบ Active มีผู้เชี่ยวชาญคอยหาราคาและจังหวะการเข้าออก ตลาดที่เหมาะสมให้เหมือนการเล่นหุ้น
- เนื่องจากมีคนคอบคุมให้ตลอดเวลาจึงมีค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างสูง
- ผลตอบแทนไม่ล้อไปตามตลาด มีโอกาสแพ้ตลาดสูงกว่า Passive fund เพราะไม่ ต่างอะไรกับการเล่นหุ้นปกติ แค่เป็นการยืมมือผู้เชี่ยวชาญมาจัดการให้ทั้งหมด
- อัตราผลตอบแทนเหมือนหุ้น 8%-12% (แต่มีโอกาศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดสูง กว่าหรือ 10%)
NOTE1: [*] Feeder fund คือกองทุนซ้อนกองทุน กล่าวคือกองทุนที่ลงทุนในกองทุนใหญ่ต่างประเทศที่บุคคลทั่วไปอาจจะไม่สามารถลงทุนเองได้ แต่มีข้อเสียคือจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 2 ต่อ ซึ่งบางกองทุนอาจจะมีราคาที่แพง (ขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุนนั้นๆ **แนะนำให้ดูหนังสือชี้ชวนการลงทุนอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนการตัดสินใจซื้อกองทุน**)
ซึ่งกองทุนประเภทนี้ถือเป็นประเภทของกองทุนที่หาได้โดยทั่วไปปตาม บลจ. ต่างๆ เช่น SCBRMS&P500, K-CHINA-A(D), SCBSEMI(SSF) และอีกมากมาย
NOTE2: SET50 คือกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำ 50 อันดับแรกในไทย (มีการปรับเปลี่ยนที่ปี)
NOTE3: S&P500 คือกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำ 500 อันดับแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา (มีการปรับเปลี่ยนทุกปี)
  • กองทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ
1. กองทุน SSF (กองทุนรวมเพื่อการออม (ออมหุ้น))
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อ รวมกับค่าลดหย่อนอื่นๆต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ต้องถือไว้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ
- ไม่มีขั้นต่ำการซื้อและไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี
2. กองทุน RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ)
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อ รวมกับค่าลดหย่อนอื่นๆต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ต้องถือไว้จนอายุครบ 55 ปี หรือหากอายุเกิน 55 ปีแล้วต้องถือไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ไม่มีขั้นต่ำการซื้อ แต่ต้องซื้อทุกปี (อย่างน้อยปีเว้นปี)
  • กลยุทธ์การลงทุนสำหรับมือใหม่
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยหรือ DCA (Dollar Cost Averaging) เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ดูแล้ว Perfect ที่สุดสำหรับมือใหม่หรือคนที่ไม่ค่อยมีเวลามานั่งดูงบดุลบริษัทของหุ้นที่จะลงทุนเป็นรายตัว
DCA คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย กล่าวคือการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละตัวด้วยจำนวนเงินเท่าๆกันเป็นระยะเวลารายเดือนหรือรายปีโดยไม่สนใจราคาตลาด ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีในการสร้างวินัยทางการเงินเพราะเราต้องแบ่งเงินมาลงทุนในทุกๆเดือนตามสัญญาที่ให้ไว้กับตัวเอง โดยจากสถิติแล้วการลงทุนแบบ DCA ในระยะยาวมักจะไม่แพ้ตลาด แต่ในขณะเดียวกันถ้าหากเลือกสินทรัพย์ไม่ถูกตัวก็อาจจะเป็นการสร้างกระแสเงินออกเป็นรายปีเลยก็ได้
ดังนั้นก่อนที่จะลงทุนก็ควรศึกษาให้ดีๆในสินทรัพนั้นๆและก็ควรหมั่นเช็คสถานะของสิ่งที่ลงทุนเป็นประจำ (แต่ไม่ต้องบ้าเท่ากับการเทรดหุ้นที่จะต้องคอยจับจังหวะตลอดเวลา)
โดย Warren Buffett เศรษฐีอันดับ 5 ของโลก และนักลงทุนมือฉมังก็คือบุคคลตัวอย่างผู้ซึ่งตั้งต้นความร่ำรวยมาจากการทำ DCA มาตั้งแต่อายุยังน้อย
  • สมการความรวย
ผลตอบแทนในอนาคต = เงินต้น x อัตราผลตอบแทน^ระยะเวลา
หรือถ้าแปลเป็นภาษาคนง่ายๆก็คือ ปัจจัยของผลตอบแทนที่เราจะได้จะขึ้นอยู่กับ
1. เงินต้น
2. อัตราผลตอบแทน
3. เวลา
**ค่าธรรมเนียม**
โดยสิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดก็คือ “ระยะเวลา”
ความเยาว์วัยเป็นเคล็ดลับของความร่ำรวย
เพราะด้วยพลังทวีของดอกเบี้ยทบต้นที่จะทวีคูณเป็นกราฟ Exponential ในทุกๆปี ในปีแรกๆอาจจะไม่มากแต่ถ้าหากระยะเวลายิ่งมากขึ้นจนเห็นได้ชัด ผลตอบแทนก็จะมากขึ้นเป็นทวีคูณเช่นเดียวกัน (และหากนำปันผลมาลงทุนซ้ำไปเรื่อยๆก็จะยิ่งทบดอกด้วย และผลตอบแทนก็จะยิ่งมากขึ้นไปอีก)
“พลังทวีของดอกเบี้ยทบต้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับที่ 8 ของโลก”
Albert Einstein
เปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดดังรูปนี้ (รูปคำนวนเทียบระหว่างการฝากเงินและการลงทุนในกองทุนดัชนีที่ผลตอบแทน 10% ต่อเดือน)
ออมเงินระยะเวลา 30ปี (ซ้าย) | ลงทุนในกองทุนระยะเวลา 30ปี (ขวา)
ดังนั้นการถือหุ้นหรือกองทุนถึงแม้ว่าระยะสั้นจะมีความผันผวนที่สูงแต่ยังไงก็ตามการถือในระยะเวลาที่นานพอยังไงก็ไม่แพ้ตลาด
Warren Buffett ได้เคยประกาศท้าว่าถ้าหากกองทุนไหนสามารถบริหารเงินในหุ้นจนชนะผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดกองทุน S&P500 ได้ จะได้รับเงินประมาณ 30 ล้านบาท
แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่มีใครที่สามารถทำผลตอบแทนได้ชนะหรือเทียบเท่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของตลาด S&P500 เลยแม้แต่บริษัทเดียว
และยังมีสถิติได้เผยให้เห็นว่า 90% ของนักลงทุนชาวไทยและ 92% ของนักลงทุนในสหรัฐที่หวังผลตอบแทนระยะสั้นมักจะแพ้ตลาด ดังนั้นการลงทุนแบบหวังผลระยะยาวดูจะเป็นอะไรที่คุ้มค่ามากที่สุดสำหรับผู้ที่ยังอายุไม่มาก โดยแม้แต่มือใหม่ที่แทบจะไม่มีความรู้ก็ยังสามารถทำผลตอบแทนได้ชนะนักลงทุนมือฉมังได้อย่างไม่ยากเย็นมากนัก
*ค่าธรรมเนียมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมือฉมังพลาด ก่อนการลงทุนควรศึกษารายละเอียดและนโยบายต่างๆทุกครั้ง **แนะนำให้อ่านหนังสือชี้ชวนการลงทุนอย่างละเอียด**
โดยค่าธรรมเนียม 1% ขึ้นไปถือว่าค่อนข้างแพง
**การลงทุนมีความเสี่ยง (แต่การออมเงินขาดทุน 100% แบบไม่ต้องเสี่ยง) แต่ถึงอย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนควรศึกษาสิ่งที่จะลงทุนก่อนอย่างละเอียด รวมถึงควรเปิดอ่านหนังสือชี้ชวนการลงทุนเพื่อดูบริษัทย่อยที่เงินเราจะไปอยู่ด้วยทุกครั้ง (เพราะบางกองทุนอาจลงทุนในบริษัทที่ซ้ำกัน ถ้าล้มจะไปทั้งกระดานได้) และควรกระจายความเสี่ยงในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน รวมถึงหมั่นเช็คข่าวสารและสถานะของสินทรัพย์ตัวนั้นในทุกๆวัน และที่สำคัญที่สุดคือต้องควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้อยู่ อย่าให้อารมณ์ผันผวนไปตามกราฟ**

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา