2 มี.ค. เวลา 12:31 • ธุรกิจ

สรุป ดีลขายคืน มหัศจรรย์ SINGER กับ RABBIT

การที่คนเรายอมจ่ายเงิน 3,900 ล้านบาท เพื่อใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นที่สูงกว่าราคาตลาดในตอนนี้ 2 เท่า ภายใน 3 ปี และถ้าเราไม่ใช้สิทธิ์ก็ยอมจ่ายค่าปรับ 400 ล้านบาท ก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะถือเป็นดีลที่มหัศจรรย์หรือไม่
1
แล้วที่มาที่ไปดีลนี้ เริ่มต้น และ จบลงอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2564
U หรือ RABBIT ในปัจจุบัน ได้ประกาศเข้าซื้อหุ้น SINGER ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กลุ่ม JMART ของคุณอดิศักดิ์
เดิมที RABBIT ทำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเป็นหนึ่งในบริษัทลูกของ BTS
ต่อมาในปี 2564 ในช่วงที่เกิดการล็อกดาวน์ โครงการอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท จึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก
1
RABBIT จึงต้องขายอสังหาริมทรัพย์บางส่วนออกไป โดยเฉพาะโครงการในต่างประเทศ ก่อนที่ในปี 2565 จะปรับโครงสร้าง มาเป็นธุรกิจการเงินมากขึ้น แบ่งเป็น
-ธุรกิจประกันชีวิต ภายใต้ชื่อ Rabbit Life
-ธุรกิจการลงทุน ซึ่งก็คือ การลงทุนใน JMART และ SINGER ของคุณอดิศักดิ์ นั่นเอง
1
ซึ่งในตอนนั้น RABBIT ได้ซื้อหุ้น
-SINGER ที่ราคาเฉลี่ย 36.30 บาทต่อหุ้น
มาล่าสุด RABBIT ได้ทำสัญญาขายคืนหุ้น SINGER ทั้งหมด จำนวนทั้งหมด 195.1 ล้านหุ้น ให้กับคุณอดิศักดิ์
3
ที่น่าสนใจคือ ราคาหุ้น SINGER ที่ตกลงขาย นั้นขาดทุน
-ซื้อมา 36.30 บาท ต่อหุ้น
-ขายราคา 20.00 บาท ต่อหุ้น
คิดเป็น -45% หรือจะขาดทุน มากถึง 3,180 ล้านบาท
2
อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้แย่ขนาดนั้นสำหรับ RABBIT เพราะราคา 20 บาทนี้ ก็ยังเป็น 2 เท่าของราคาหุ้น SINGER ณ ตอนนี้..
1
แล้ว SINGER ทำธุรกิจอะไร ?
โดย SINGER เป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ซิงเกอร์ และทำธุรกิจสินเชื่อ ที่เป็นบริษัทลูกของ JMART
ในช่วงแรก SINGER เติบโตได้ดี
ปี 2563 รายได้ 3,658 ล้านบาท กำไร 443 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 4,397 ล้านบาท กำไร 701 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 5,205 ล้านบาท กำไร 935 ล้านบาท
2
ด้วยกำไร ที่เติบโตเป็นเท่าตัว ใน 2 ปี
ราคาหุ้น SINGER จึงเคยพุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว
แต่ไม่นาน SINGER ก็เริ่มแย่ลง เพราะสินเชื่อ ที่บริษัทปล่อยกู้ไป ได้กลายเป็นหนี้เสียจำนวนมาก
1
จนต้องนำหนี้เสียเหล่านี้ มาตั้งสำรองเป็นค่าใช้จ่ายของมหาศาล ปี 2566 SINGER รายงานผลขาดทุน มากถึง 3,210 ล้านบาท..
2
และทำให้ราคาหุ้น SINGER
ตกลงมาอยู่ต่ำกว่า 10 บาท ต่อหุ้น
2
การขาดทุนอย่างหนัก บวกกับราคาหุ้น SINGER ที่ตกต่ำ ทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่แบบ RABBIT ต้องรับรู้ส่วนแบ่งการขาดทุนเข้ามาด้วย
1
จากในงบการเงินปี 2566 นั้น RABBIT ได้บันทึกผลขาดทุนจาก
-การด้อยค่าเงินลงทุนใน SINGER จำนวนทั้งสิ้น 2,372 ล้านบาท
-ส่วนแบ่งการขาดทุนจาก SINGER มาอีก 795 ล้านบาท
4
ซึ่ง RABBIT ก็ไม่ได้กระทบคนเดียว
แต่ตัวบริษัทแม่อย่าง BTS ที่ถือ RABBIT อยู่ 35% ก็ได้รับผลกระทบทางอ้อมไปด้วย
1
จุดนี้เอง ก็ได้ทำให้หุ้น BTS ร่วงลงอย่างหนัก จนทำจุดต่ำสุดในรอบ 12 ปีไปเรียบร้อย
2
และสุดท้าย ก็นำมาซึ่งการเกิดขึ้นของ ดีลมหัศจรรย์ในครั้งนี้
ดีลนี้น่าสนใจก็เพราะ..
ราคาของหุ้น SINGER ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปิดที่ 9.45 บาทต่อหุ้น
แต่ RABBIT ดันทำสัญญาขายหุ้น SINGER ให้แก่คุณอดิศักดิ์ ในราคาหุ้นละ 20 บาท 195 ล้านหุ้น รวมเป็นจำนวน 3,900 ล้านบาท
3
โดยดีลมีระยะเวลา 3 ปี และมีเงื่อนไขการซื้อขายสำคัญ 2 ข้อ
-หากคุณอดิศักดิ์ ไม่ได้ซื้อหุ้นทั้งหมดภายในระยะเวลาของสัญญา คุณอดิศักดิ์ต้องชำระค่าปรับให้แก่ RABBIT 400 ล้านบาท
2
-หากราคาตลาดของหุ้นที่ซื้อขายสูงกว่า 20 บาท เป็นเวลา 5 วัน RABBIT มีสิทธิ์ขายหุ้นที่ถูกปฏิเสธให้แก่บุคคลภายนอก
2
เรื่องนี้คนทำดีลทั้งสองฝ่าย น่าจะคิดอะไรอยู่ ?
วิเคราะห์แล้ว ถ้าคุณอดิศักดิ์ไม่ซื้อหุ้น SINGER ภายใน 3 ปี คุณอดิศักดิ์จะต้องจ่ายเงินค่าปรับ 400 ล้านบาท ให้แก่ RABBIT
และ RABBIT ก็จะยอมถือหุ้น SINGER ต่อ โดยได้รับเงินสด 400 ล้านบาท
ซึ่งดูแล้ว RABBIT มีแต่จะได้กับได้ ส่วนคุณอดิศักดิ์ มีแต่จะเสียค่าปรับ
แล้วทำไมคุณอดิศักดิ์ ถึงยอมเสียค่าปรับ ?
ถ้าดูจากเงื่อนไขแล้ว คุณอดิศักดิ์ต้องการรักษาสิทธิ์ที่จะซื้อหุ้น SINGER จาก RABBIT คืนภายใน 3 ปี มาก ๆ.. มากจนไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม คุณอดิศักดิ์ถึงอยากได้หุ้นจำนวนมากขนาดนั้น ในราคาที่แพงกว่าตลาดมาก ถ้าให้เดา เหตุผลที่พอเป็นไปได้ก็อาจจะเป็น
1
-อยากได้หุ้นบิ๊กล็อต จำนวนมากของ SINGER ที่ RABBIT ถืออยู่ ที่อาจจะหาซื้อจำนวนมากขนาดนี้ในตลาดได้ยาก
-คุณอดิศักดิ์ และ RABBIT อยากสร้างข้อตกลง เพื่อไม่ให้ทั้งคู่เทขายหุ้น SINGER ในตลาดในระหว่างนี้ เพื่อซ้ำเติมราคาตลาด
1
-อยากสร้างความมั่นใจให้ผู้ถือหุ้นที่เหลือ ว่าคุณอดิศักดิ์มั่นใจมากกับบริษัท SINGER ถึงกับยอมรับซื้อที่ราคาสูงกว่าตลาด และยอมจ่ายค่าปรับ หากว่าภายใน 3 ปีไม่ได้ใช้สิทธิ์นั้น
4
-หรือเหตุผลสุดท้าย สัญญานี้มีเงื่อนไขว่า RABBIT จะต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ซึ่งก็อาจแปลได้ว่าดีลนี้ อาจจะเกี่ยวกับการกู้เงินจากสถาบันการเงินด้วย
โดยสรุปแล้ว ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ดีลมหัศจรรย์นี้ จะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายได้อย่างตั้งใจหรือไม่
1
แต่ถ้าให้พูดตรง ๆ แล้ว..
1
การยอมจ่ายเงิน 3,900 ล้าน เพื่อซื้อหุ้นในราคาแพง ทั้งที่ก็สามารถซื้อหุ้นเองในราคาถูกกว่าจากตลาดได้โดยตรง และที่สำคัญ ถ้าไม่ใช้สิทธิ์ซื้อ จะยอมจ่ายค่าปรับ 400 ล้าน
1
ต้องถือเป็นดีลที่ Aggressive และ แปลก
และคนทั่วไป น่าจะไม่ทำแบบนี้กัน..
6
References
-งบการเงินและ MD&A บริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
-งบการเงินและ MD&A บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
โฆษณา