2 มี.ค. เวลา 16:46 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บะหว้า

โมเดล "ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ" เปลี่ยนแปลงการรวมกลุ่มในบ้านบะหว้า

งานในระยะแรก ชาวบ้านตกลงร่วมกันว่า ขอให้สมาชิกเข้าใจระบบการผลิตเห็ดก่อน โดยมีเป้าหมาย คือ ได้ทุนการผลิตก้อนเห็ดประมาณ 50,000 บาท แล้วค่อยปันผลให้กับสมาชิก ในระหว่างนี้แบ่งปันดอกเห็ดสดไปทำอาหาร เมื่อถึงเป้าหมายแล้วจึงประชุมวางแผนพัฒนางานในระยะที่สอง สู่การยกระดับกิจการชุมชนต่อไป
กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2567 กลุ่มชุมชนเห็ดเศรษฐกิจบะหว้า นำเงินไปฝากเข้าธนาคาร จำนวน 45,000 บาท ถึงแม้จะยังไม่สามารถบอกได้ว่าใกล้ความสำเร็จ แต่พูดได้ว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนได้จากข้อมูล องค์ความรู้วิจัย และเทคโนโลยี ปัจจัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มาจากการมีส่วนร่วม
การวิจัยแบบมีส่วนร่วม ได้เริ่มจากการศึกษาปัญหาในชุมชน พบว่า นอกจากการพัฒนาอาชีพไม่ต่อเนื่องแล้ว อีกปัญหาที่สำคัญ คือ "การรวมกลุ่ม" จึงได้วิเคราะห์สาเหตุกับชาวบ้าน ปัญหาสำคัญมาจากการบริหารความคาดหวัง การวางแผนจากทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการความเสี่ยง จึงได้แนวทางพัฒนาแบบมีส่วนร่วม มีส่วนร่วมทำอะไรบ้าง ประกอบด้วย
  • สร้างเป้าหมายร่วม ความเข้าใจของทีมสำคัญยิ่ง
  • ร่วมสร้างกลุยทธ์ อะไรคือกลยุทธ์เดินไปสู่เป้าหมาย
  • ร่วมออกแบบการบริหารจัดการ เช่น แผนธุรกิจ แผนการเงิน(ต้นทุน รายได้ กำไร)
  • เข้าใจภารกิจร่วมกันว่ามีงานทำอะไรที่ต้อง
1. สร้างเป้าหมายร่วม
สร้างเศรษฐกิจชุมชนและสวัสดิการชุมชน โดยการรวมกลุ่มผลิตเห็ดในหมู่บ้าน 30 ครัวเรือน แบ่งเป็นทีมผู้นำบริหารกลุ่ม 5 คน และทีมสมาชิกครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย 25 คน รับรองตามเงื่อนไขโดยชุมชน นำเข้าสู่ระบบผลิตเห็ดในห่วงโซ่คุณค่า “ผู้เปิดดอก” ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เชื่อมโยงความร่วมมือกับกลไกการตลาด กลไกเชิงสถาบัน และภาคีหน่วยงานพัฒนาในงานต้นทาง กลางทาง และปลายทาง มีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้ สู่การยกระดับฐานะทุนเศรษฐกิจและเข้าถึงโอกาสทางสังคม (Social Mobility)
2. ร่วมสร้างกลุยทธ์
“ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ” คือการพัฒนาและยกระดับเป็นอุตสาหกรรมการผลิตในชุมชน (Local Business) ส่งเสริมกลุ่มผลิตเห็ดโดยชุมชนเป็นเจ้าของกิจการ สร้างกลไกความร่วมมือบนระบบนิเวศน์ห่วงโซ่อุปทานเห็ดให้มีเสถียรภาพ เชื่อมโยงกับครัวเรือน ชุมชน กลุ่ม/กิจการ และผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนงานด้วยตัวแบบงานบุญประเพณีวัฒนธรรมในชุมชน มีผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็งเป็นนักปราชญ์บริหารงานเป็นที่ยอมรับ
โดยมีวิสาหกิจชุมชน “เป็นพี่เลี้ยง” หรือ Node ร่วมใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต ถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้และติดตามดูแล ส่งมอบห่วงโซ่คุณค่า “ผู้เปิดดอกเห็ด” ไปยังชุมชนที่เข้าร่วมโมเดล
3. ร่วมออกแบบบริหารจัดการ
แผนธุรกิจ ต้องรู้ข้อมูลในระบบการผลิตแบบเดิม ผู้ผลิตก้อนเห็ด คาดการณ์มีกำไร 50 % ส่วนผู้เปิดดอกที่ซื้อก้อนเชื้อเห็ด คาดการณ์มีกำไรน้อยเพียงแค่ 4.29 % โมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงส่วนต่างราคาต้นทุนลดลงประมาณ 50 % โดยการสร้างพันธมิตรทำความร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดในพื้นที่ ใช้สถานที่ผลิตก้อนเห็ดให้แต่ละกลุ่มมาเป็นแรงงาน พร้อมทั้งเป็นพี่เลี้ยงถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตเห็ด
วางแผนการเงิน ได้รับสนับสนุนปัจจัยการผลิตเชื้อเห็ด 10,000 ก้อน พร้อมวัสดุควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือน รวมต้นทุนมีมูลค่า 50,000 บาท คาดการณ์ผลผลิตดอกเห็ดนางฟ้า 4 เดือน ประมาณการเกิดดอกก้อนละ 200 กรัม มีปริมาณรวม 2,000 กิโลกรัมขายกิโลกรัม 70 จะมีรายได้ประมาณ 140,000 บาท คาดการณ์กิจการชุมชนจะมีกำไร 40 % ทั้งนี้เมื่อนำหมวดกำไรและหมวดค่าแรงร่วมกันจะมีเงินเพียงพอกับเป้าหมายสร้างรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 (ตามโจทย์งานวิจัย)
4. เข้าใจภารกิจร่วม
งานที่ต้องทำ คือ เพิ่มทักษะการผลิตก้อนและการเปิดดอกเห็ดด้วยการปฏิบัติจริง การผลิตก้อนใช้สถานที่กับวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ได้ทำความร่วมมือให้เป็นพี่เลี้ยง
  • ขั้นตอนผลิตก้อน ได้แก่ บรรจุก้อนเห็ด, นึ่งฆ่าเชื้อเห็ด, หยอดเชื้อและขนเข้าโรงบ่ม, ในแต่ละวันต้องทำงานให้เสร็จตามเครื่องจักร กล่าวคือ เทคโนโลยีมีกำลังผลิตเห็ดวันละ 1,200 ก้อน จากนั้นใช้เวลาบ่มพร้อมขาย 30-45 วัน
  • ขั้นตอนการเปิดดอก ได้แก่ เก็บดอก ตัดแต่ง ขาย ดูแล ในแต่ละวันต้องทำงาน 2 ช่วง เช้า 04.00 บ่าย 15.00 รวมวันละ 6 ชั่วโมง ระยะเวลาเก็บดอกมากกว่า 4 เดือน
ดำเนินงาน โดย ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โครงการพัฒนาระบบห่วงโซ่การผลิตเกษตรมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ร่วมกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่
ขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับเพลตฟอร์มขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในจังหวัดสกลนคร
สนับสนุนการวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา