3 มี.ค. เวลา 16:06 • ปรัชญา
โอ้โห..คำถามนี้แฝงไปด้วยปรัชญาลึกซึ้งมาก
เคยได้ยินเรื่อง สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เดินจุดตะเกียงกลางวันแสกๆไหมครับ และท่านได้ทำแบบนี้ถึง 2 ครั้ง ต่างยุค ต่างสมัยกัน
1
ครั้งแรก
คือตอนที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงครองราชใหม่ๆ
ครั้งที่ 2
คือตอนที่ รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชใหม่ๆ
ท้องฟ้าสว่างโล่งโจ้ง
แต่ใจคนกำลังมืดมน
การจุดไต้กลางวันแสกๆ ทั้ง 2 ครั้งของสมเด็จโต ล้วนมีนัยยะ เป็นวิถีแห่งธรรมะที่ปราชญ์ใช้เตือนสติแก่ผู้มีอำนาจ
1
เช่นกันครับ ในที่ที่มืดมิดไร้แสงสว่าง แต่กลับไม่ได้มืดมนเลย แต่ถ้าว่ากลับมีแสงสว่างภายในดวงจิต ที่เปี่ยมไปด้วยความสงบสุขและปัญญา เรามักจะพบเห็นได้ตามในที่ชนบท ของวิถีชาวพุทธมามกะในยุคปู่ย่าตายาย ที่แม้แต่แสงไฟนีออนตามเสาไฟฟ้ายังไม่มีสักต้น ไม่มีห้างสรรพสินค้า แต่ที่นั่นกลับสว่างไสวไปด้วย ธรรมะ และคุณธรรมที่เปี่ยมล้น
2
จนกระทั่งโลกวิวัฒนาการไปไกล ทุกสิ่งทุกอย่างเจริญขึ้น มีแสงไฟหลากสี สว่างไสว แต่กลับมืดมนลงอย่างแปลกประหลาด
นี่ก็หมายความว่า แม้ในที่ที่มืด ไร้แสงสว่าง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความมืดอยู่จริงๆ ยังมีผู้คนมากมายที่บ้านไม่มีไฟฟ้า ในที่ที่คนเฒ่าคนแก่นั่งกินข้าวด้วยกันสองเฒ่าตายาย กับเจ้าเหมียวที่กำลังนั่งกินข้าวคลุกปลาทู ท่ามกลางบรรยากาศหัวค่ำโพล้เพล้ ตะวันเริ่มแดง แต่กลับมีความสุขราวกับมีแสงสว่างเจิดจรัส มีเสียงร้องเพลง มีเสียงพิณ เสียงซอ เสียงเท้าเดินของควายที่กำลังเดินย่ำพื้นดิน
แสงสลัวจากกองไฟ มีเสียงแว่วสวดมนต์ อะระหังสัมมา เด็กเล็กก้มกราบ 1 กราบ 2 กราบ 3 ลูกนอนกอดแม่ในความมืด พร้อมกับฟังนิทานจนหลับ วิถีชีวิตแบบนี้ มีแต่เอื้อเฟื้อแบ่งปันและเมตตา มีแต่การให้กัน นี่ก็คือแสงสว่างยังไงล่ะครับ วิถีชีวิตแบบนี้ยังมีหลงเหลืออยู่ไหมนะ🥲 ผมเคยโตมาแบบนี้ ยังจำได้ตอนเป็นเด็ก
1
โฆษณา