5 มี.ค. เวลา 13:00 • ธุรกิจ

ประเทศจีนไม่น่าอยู่อย่างที่คิด ข้อมูลล่าสุดพบเศรษฐีจีนส่วนใหญ่เลือกย้ายประเทศมากกว่า 50,000 คน

กระแสย้ายประเทศในจีนนั้นมีอยู่จริง และกำลังมีคนจีนมากขึ้นเรื่อยๆที่ตัดสินใจละทิ้งบ้านเกิดไปแสวงหาโอกาสในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกาอย่างถาวร เนื่องจากนับวันจีนยิ่งจะกลายเป็นประเทศที่มีเสรีภาพน้อยลงไปทุกที เห็นได้ชัดสุดก็จากช่วงไวรัส COVID-19 ระบาด มีการออกกฎเกณฑ์มากมายมาเพื่อปิดกั้นสิทธิพลเมือง แถมยังมีการล้างบางบริษัทเทคโนโลยีในจีนอีก
2
ชนชั้นกลาง และชนชั้นร่ำรวยของจีนจำนวนมากที่รู้สึกเบื่อหน่าย Xi Jinping จึงตัดสินใจหอบเงินหนีไปอยู่ต่างประเทศดีกว่า ถ้าไปดูสถิติของ ตม. สหรัฐอเมริกาจะเห็นภาพเลยว่าในกลุ่มชาวต่างชาติ 80,000 กว่าคนที่มาลงทะเบียนขอวีซ่านักลงทุนช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น มีมากกว่า 70% หรือเกือบ 60,000 คนที่เป็นเศรษฐีชาวจีน
ในออสเตรเลียก็ไม่ต่างกัน เกือบ 90% ของคนที่มาขอวีซ่านักลงทุน คือ เศรษฐีชาวจีน ทั้งๆที่ทั่วโลกมีชาวจีนโพ้นทะเลอยู่แค่ 10 ล้านกว่าคน น้อยกว่าคนอินเดีย และรัสเซียซะอีก พวกนั้นมี 20-30 ล้านคน แต่สัดส่วนคนรวยน่าจะยังไม่เท่าเศรษฐีจีน
3
จากการสำรวจของสถาบัน Hurun พบว่าเกือบ 20% ของเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ในจีนเลือกที่จะย้ายประเทศกันหมด แม้ว่ารัฐบาล Xi Jinping จะพยายามออกมาตรการลดและขัดขวางการถ่ายโอนเงินออกนอกประเทศอย่างมากตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาก็ตาม (อย่าว่าแต่เศรษฐีระดับพันล้านเลย เอาแค่ระดับคนจีนที่มีเงิน 1 ล้านดอลลาร์ เขาก็ขนเงินออกไปเป็น 10,000 คนแล้วในปี 2023 อันนี้คือตัวเลขที่พวกบริษัทคอนซัลท์เขาประเมินนะ ตัวเลขจริงอาจจะมีสูงกว่านี้)
6
สิ่งที่หลายๆสำนักสังเกตได้ คือ การย้ายประเทศครั้งนี้ คนจีนไม่ได้เลือกย้ายมาที่เอเชียเหมือนสมัย 50 ปีก่อนอีกต่อไป ที่ 9 ใน 10 จะเลือกอพยพมาอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยนี้คนจีนไม่ว่าจะมีเงิน หรือไม่มีเงินเขาก็พยายามตะเกียกตะกายย้ายไปประเทศโลกที่ 1 เช่น สหรัฐอเมริกา กันซะเยอะ
5
อย่างไรก็ดี สิ่งที่คนจีนหลายคนยังกังวลกันอยู่ก็คือ ต่อให้ย้ายประเทศ ขอสัญชาติใหม่แล้ว รัฐบาลจีนก็ยังจะตามไปรังควานพวกเขาได้อยู่ดี ถ้าพวกเขาริอาจเริ่มแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเมื่อไร รัฐบาลจีนจะส่งเจ้าหน้าที่ความมั่นคงไปข่มขู่ญาติพี่น้องที่ยังอาศัยอยู่ในจีนทันที หรือไม่ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจลับตามไปขู่ถึงประเทศโลกที่ 1 เพราะจากการสำรวจของ Safeguard Defenders ในปี 2023 จีนมีสถานีตำรวจลับอยู่มากกว่า 100 แห่งใน 50 กว่าประเทศ
6
นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังรู้ดีกว่าคนจีนไม่ว่าจะย้ายไปอยู่ที่ใดบนโลก ก็ยังต้องพึ่งพา WeChat ไว้ใช้ติดต่อหรือโอนเงินให้ครอบครัวที่ยังอยู่ในจีน ใครส่งข้อความอะไรใน WeChat ไม่ว่าจะลงทะเบียนด้วยเบอร์ต่างประเทศยังไงรัฐบาลจีนก็มีวิธีตรวจสอบอยู่ดีสุดท้ายคนที่ย้ายไปต่างประเทศก็แทบจะวิจารณ์การเมืองจีนไม่ได้เลย
2
บางคนย้ายประเทศไปในฐานะนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือนักวิจัย นักวิชาการ จีนก็ตามไปตั้งสมาคมนักศึกษาและนักวิชาการจีนตามมหาวิทยาลัยดังๆในยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพื่อสอดส่องพฤติกรรมของนักศึกษาชาวจีน จริงๆไม่ได้ดูแค่นักศึกษาด้วย ยังตามไปข่มขู่อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นฝรั่งอีก โดยเอาเรื่องวีซ่ามาขู่ ถ้ายังโน้มน้าวให้นักศึกษาจีนวิจารณ์รัฐบาลอีก จะไม่อนุมัติวีซ่าให้เข้าจีน
5
ซึ่งจุดนี้เองเลยกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ตามมารบกวนจิตใจของชาวจีนที่ย้ายประเทศ เพราะด้านหนึ่งรัฐบาลจีนก็พยายามตามมาสอดส่อง ควบคุม คุกคามคนที่คิดต่างจากรัฐบาลจีน จนบางครั้งมันล้ำเส้นเขตอธิปไตยของประเทศอื่นๆ รัฐบาลของพวกยุโรปและสหรัฐอเมริกาเขาเลยเริ่มระแวงพวกคนจีนมากขึ้น คนจีนที่ย้ายออกไปหาลู่ทางทำธุรกิจที่ต่างประเทศจึงถูกตรวจสอบและคัดกรองมากเป็นพิเศษเวลาจะทำเอกสารยื่นเรื่องขอประกอบธุรกิจ เพราะประเทศปลายทางเขาก็กลัวว่าจะมีเจ้าหน้าที่จีนแฝงตัวมาคุกคามประชาชนประเทศเขา
1
พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนบางกลุ่มก็ชอบมาขู่นักวิจัย และนักวิชาการที่ทำงานในมหาวิทยาลัยแถบสหรัฐอเมริกา/ยุโรปให้ส่งข้อมูลของคณะผู้ร่วมวิจัยกลับไปให้รัฐบาลจีน จนบางครั้งมันส่งผลกระทบหลักจริยธรรมการวิจัย และทำให้ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แหล่งข่าวแบบปิด (ในกรณีที่เป็นงานวิจัยด้านการเมือง) ถูกส่งต่อไปในมือของรัฐบาลจีน
2
ตรงนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเขาก็เลยกังวลมากเป็นพิเศษ และพลอยทำให้ชาวจีนโพ้นทะล ชาวจีนอพยพทั้งหลายพากันถูกสอดส่องจากฝั่งประเทศปลายทางไปด้วย คนจีนนี้ลำบากนะ อยู่ประเทศตัวเองก็โดน Xi Jinping แอบสอดส่องพฤติกรรม พอจะย้ายประเทศหนี ชื่อเสียงของประเทศตัวเองก็ไม่ดี ทำให้ถูกประเทศปลายทางมองด้วยความไม่ไว้วางใจอีก
7
ถึงขนาดมีคำกล่าวเลยว่า พวกผู้อพยพชาวจีนนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจน้อยกว่าผู้อพยพชาวอินเดีย ดูจากบอร์ดบริหารของบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon Valley ดูก็ได้ Adobe, Google, Microsoft ก็คนอินเดียนั่งแท่นบริหารหมด แถมหลายๆบริษัทยังสรรหาจะไปรีครูทคนมาทำงานถึงในอินเดียด้วย เพราะชื่อเสียงอินเดียดูเป็นมิตรกว่าจีนในเวทีโลก
6
Source: The Economist, Financial Times และ BBC
โฆษณา