8 มี.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม

อินทนิลน้ำ อีกพันธุ์ไม้ดอกสวยงามที่กำลังเบ่งบานในต้นฤดูร้อน

ในช่วงฤดูร้อนแบบนี้ เป็นช่วงที่พรรณไม้นานาชนิดแข่งกันออกดอกบานสะพรั่งให้พวกเราได้ชื่นชมกัน โดยเฉพาะ พรรณไม้ในสกุลตะแบก (𝘓𝘢𝘨𝘦𝘳𝘴𝘵𝘳𝘰𝘦𝘮𝘪𝘢) ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มตะแบกชนิดต่างๆ เสลาหรืออินทรชิต และกลุ่มอินทนิล ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางเพจเราได้นำเสนอต้นอินทรชิตหรือเสลาใบใหญ่ ที่ออกดอกเบ่งบานหน้าอาคารสำนักงานสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) ไปแล้ว
วันนี้เลยอยากเก็บภาพพันธุ์ไม้อีกหนึ่งชนิดในสกุลเดียวกัน ที่กำลังออกดอกสวยงามในบริเวณพื้นที่สำนักงาน สบอ 7 เช่นเดียวกัน นั่นคือต้น “อินทนิลน้ำ” พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล ประจำจังหวัดสกลนคร
อินทนิลน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘓𝘢𝘨𝘦𝘳𝘴𝘵𝘳𝘰𝘦𝘮𝘪𝘢 𝘴𝘱𝘦𝘤𝘪𝘰𝘴𝘢 (L.) Pers.วงศ์ : LYTHRACEAE ชื่ออื่น ตะแบกดำ อินทนิล
ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10 - 25 เมตร ลำต้นไม่เปลาตรงมักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มาก นัก เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม
เปลือก ค่อนข้างเรียบสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน มีรอยด่างเป็นดวงสีขาว ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม หรือเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 6 - 10 เซนติเมตร ยาว 11 - 26 เซนติเมตร ปลายแหลมยาวเป็นติ่งเล็กน้อย โคนกลมหรือมน
ดอก สีม่วงสด ม่วงปนชมพูหรือชมพูเป็นล้วนออกเป็นช่อที่ปลาย กิ่ง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 - 7.5 เซนติเมตร ผล ผลรีมีขนาดใหญ่ ยาว 2.2 - 2.6 เซนติเมตร ไม่มีขน ปกคลุม
นิเวศวิทยา ขึ้นตามที่ราบลุ่มบริเวณริมน้ำในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบทั่วไป ออกดอก มีนาคม - มิถุนายน ผลแก่ ตุลาคม - ธันวาคม พอผลแก่เต็มที่จึงแตกออกเพื่อโปรยเมล็ดในช่วงพฤศจิกายน - มกราคม
ที่มา/อ้างอิง : https://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/sakon.htm
บทความ : กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)
ภาพถ่าย : วิษณุรักษ์ ศรีบัณฑิต นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
#อินทนิลน้ำ #กรมอุทยานแห่งชาติ #สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่7
โฆษณา