7 มี.ค. 2024 เวลา 22:19 • การเกษตร
สี่ขีด

“ในหลวง ร.๙ ท่านทรงตรัส พืช และสัตว์ ต้องมีน้ำในการดำรงชีวิต”

ขอท้าวความจากบทก่อนหน้ามาสักระยะ(เป็นเดือนละ🤣) ว่าทำไมถึงเลือกใช้หัวน้ำแบบหัวมินิสปริงเกอร์ 🤔 mini springer 💦
เริ่มเปลี่ยนมาตั้งตอนเริ่มฟื้นฟูต้นตั้งแรกๆ เพราะเราไม่สามารถไปเปลี่ยนตอนที่กำลังมีผลผลิต อาจเกิดทำให้ต้นทุเรียนสับสนการให้น้ำของต้นได้ จึงเลือกมาเปลี่ยนตอนหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จ
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ก็พักฟื้นต้น 14-30 วัน ก็ไปจ่ายค่ายาปุ๋ยกันเสียที่ได้นำมาใช้ในสวนเป็นเรื่องปกติของเกษตรกรทำสวนทุเรียน (กรณีเจ้าของสวนทำเครดิตกับทางร้านยา ปู๋ย) หลังจากนั้นก็คลายสารแพคโคฯ ตามบริบทที่ทุกสวนต้องทำสำหรับสวนที่ลงสารแพคโคฯ 🌳👍
จัดการตัดแต่งทรงพุ่ม 🌳 ปีเริ่มต้นฤดูกาลเลือกที่ตัดยอดปลานกิ่ง(หางเสือ)ออกทั้งสวน เพื่อเวลาแขวนลูก เจอลมแรงๆ ลดการสูญเสียได้ระดับนึง และช่วยให้ต้นไม่แบกใบ และกิ่งสาขามากเกินกำลัง ✨
ลำดับต่อมาก็บำรุ่งใส่ปุ๋ยทางดิน หลังจากตัดแต่งทรงพุ่มเสร็จ เปลี่ยนหัวน้ำจากแบบเก่าที่เคยใช้ 600 ลิตร/ชั่วโมง 3 หัวต่อต้น ก็ตกต้นละ 1800 ลิตร/ชั่วโมง(เกินความจำเป็นต่อทุเรียนที่ต้องการน้ำมากขนาดนั้น) ปกติทุเรียนต้นอายุ 4 ปี ต้องการใช้น้ำไม่ควรเกิน 500 ลิตร/ชั่วโมง/ต้น ซึ่งเท่าที่สังเกตุส่งผลให้เกิดโรครากเน่าคอดินได้เช่นกัน 🤔
หลังจากศึกษาหาแนวทางมาบวกกับสภาพอากาศเปลี่ยนในปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น ร้อนแล้ง ต้นไม้เครียด ต้นไม้ไม่ได้บริโภคน้ำมากขนาดเกินความจำเป็น ถึงได้เปลี่ยนมาใช้หัวน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ทั้งแปลง ขนาดที่สวนเลือกใช้เป็นขนาด 200 ลิตร/ชั่วโมง 3 หัว/ต้น 600 ลิตร/ชั่วโมง/ต้น ไม่มากไม่เกินความจำเป็นที่ทุเรียนนำไปบริโภค(ต้นอายุ 6-9 ปี) ข้อดีของหัวมินิอีกอย่างคือ ช่วยปรับความชื้นในทรงพุ่ม กรณีที่อากาศร้อน แห้ง ต้นไม้เครียดและยังช่วยลดความเครียดของต้นทุเรียนได้อีกด้วย (ตามในคลิปวิดีโอ) 🌳💦
การเปลี่ยนแปลงย่อมมีข้อถกเถียง มันช่วยได้จริงมั้ย 🤔 เสียเวลารดน้ำนานมั้งละ 🤔 อุดตันบ้างละ 🤔 แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลา และความอดทน ไม่อย่างงั้นทำสวนไม่ได้ จริงมั้ย 👍
ติดตามผลที่เราได้เปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ต้นจนเริ่มเห็นผลจริง ต้นทุเรียนบริโภคน้ำอย่างเพียงพอ ไม่เกินความจำเป็นแบบเดิมที่เราเคยปฏิบัติต่อกันมา เทคนิค และเทคโนโลยีมีไว้เพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่ยังไม่เรียนรู้ แต่กลับต่อต้าน อย่าเอาความเขลาของตนเองแสดงให้คนอื่นรู้ 🤣
การเปลี่ยนแปลงย่อมได้เห็นผลลัพธ์ที่ตามมา ต้นไม้ได้อาหาร น้ำที่เพียงพอต่อความจำเป็นของเขาก็สมบูรณ์ ไม่ก่อเกิดโรค ไม่เสื่อมโทรม 🌳
ขอบคุณที่สละเวลาอ่านมาถึงตรงนี้นะครับ 🙏
แล้วจะมาบอกเล่าในบทความถัดไป
โฆษณา