8 มี.ค. เวลา 04:46 • ข่าว

สถิติคดีเด็กและเยาวชน 2566 เจาะเหตุพฤติกรรม ป้องกันความรุนแรง

อ่านได้ที่ https://www.voicetv.co.th/read/V0wLhzwp1
● ข้อมูลกรมพินิจฯ ปี 2566 พบว่า เด็กและเยาวชนก่อคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายมากถึง 3,330 คดี และใช้อาวุธก่อความรุนแรงเพิ่มขึ้น 92.10% จากปี 2562 สะท้อนจากคดีเกี่ยวกับอาวุธและวัตถุระเบิดที่เพิ่มขึ้นจาก 876 คดีในปี 2562 เป็น 1,683 คดี ในปี 2566
● ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษา แบ่งเป็น
> อายุ 15–17 ปี ทำผิดคิดเป็น 80%
> อายุ 11–14 ปี ทำผิดคิดเป็น 20% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
● สำหรับปี 2566 สามารถจำแนกคดีได้ดังนี้
> คดีทรัพย์สินฯ 3,330 คดี
> คดีชีวิตและร่างกาย 2,712 คดี
> คดีอาวุธ วัตถุระเบิด 1,683 คดี
> คดีเพศ 885 คดี
> คดีการเมือง 286 ราย
📌 ส่องกฎหมายลงโทษ 'เยาวชน' ในต่างประเทศ
● จีน
> อายุ 12–14 ปี ต้องได้รับโทษทางอาญา หากฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาด้วยวิธีการอันทารุณโหดร้าย หรือทำร้ายผู้อื่นโดยเจตนาด้วยวิธีการอันทารุณโหดร้ายจนนำไปสู่การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพร้ายแรง
> อายุ 14–16 ปี อาจถูกลงโทษทางอาญาได้ หากจงใจก่ออาชญากรรมร้ายแรง เช่น การฆาตกรรมและการข่มขืน
● สิงคโปร์
> อายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ถูกตั้งข้อหาอาชญากรรม
> อายุ 10–12 ปี สามารถมีความผิดทางอาญาได้ โดยการลงโทษขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ที่พิจารณาวุฒิภาวะของเด็กขณะกระทำความผิดเป็นหลัก
> อายุ 14 - 15 ปี หากกระทำความผิด ผู้ปกครองจะต้องร่วมรับผิดชอบในการกระทำของบุตรหลานด้วย เน้นการควบคุม ปรับพฤติกรรม ฟื้นฟู
> อายุ 16 ปีขึ้นไป หากกระทำผิดอาญาร้ายแรง อาจจำคุกตลอดชีวิตได้
● สหรัฐอเมริกา (รัฐมิชิแกน)
> หากอายุต่ำกว่า 18 ปี จะไม่ถูกลงโทษด้วยการกักขังหรือจำคุก แต่จะให้มีการฝึกอบรม การดูแลในสถาบันดูแลเด็ก สถานรับเลี้ยงเด็กที่ เหมาะสมภายใต้ การกำกับดูแลของศาล
> แต่ถ้าอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความประพฤติที่เป็น 'ภัยคุกคาม' ต่อสังคม ศาลสามารถลงโทษให้จำคุกหรือสถานที่คุมขังอื่นสำหรับผู้ใหญ่ได้
> กำหนดให้ผู้ปกครองร่วมรับผิดชอบด้วย เช่น กรณีเด็กอายุ 15 ปี กราดยิงในโรงเรียนจนทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 7 คน ในปี 2021 ศาลตัดสินให้ผู้ก่อเหตุต้องถูกจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่ต้องรอลงอาญา ขณะที่แม่ของผู้ก่อเหตุ มีความผิดในข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา จากการที่ปล่อยให้ลูกไปก่อเหตุกราดยิงในโรงเรียน โดยอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี
📌 เจาะเหตุพฤติกรรม ป้องกันความรุนแรง
● ปัญหาความเปราะบางของสถาบันครอบครัว
> 70.7% ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่
> 28.4% อาศัยกับบุคคลอื่น
> 24.9% อาศัยอยู่ลำพังกับแม่
> 53.8% เด็ก 1-14 ถูกลงโทษด้วยความรุนแรง"
● การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
> 53.8% ของเด็กอายุ 1–14 ปี ถูกลงโทษทางร่างกายหรือใช้ความรุนแรงทางด้านจิตใจ ทั้งการเขย่าหรือกระชากตัว การตีหรือตบที่หน้า ศีรษะ หรือหู การตีด้วยสิ่งของ เช่น เข็มขัด ไม้เรียว รวมถึงการตะคอก ตวาด หรือการด่าเด็กว่าโง่
> การลงโทษในลักษณะดังกล่าว จะทำให้เด็กเกิดบาดแผลทางจิตใจ (Trauma) ขาดเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กต่อต้านและท้าย ที่สุดอาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมรุนแรงและก่ออาชญากรรมได้
● ปัญหาสังคมเพื่อน / ถูกบูลลี่ (Bully)
> 42.9% อยากตอบโต้เอาคืน
> 26.3% เครียด
> 18.2% ไม่มีสมาธิเรียน
> 15.7% ไม่อยากไปโรงเรียน
> 15.6 เก็บตัว
> 13.4 ซึมเศร้า
● ปัญหาชุมชน
> 79.1% อยู่ในชุมชนที่มีปัญหา
> 50.5% อยู่ในแหล่งยาเสพติด
> 32.9% อยู่ในแหล่งมั่วสุม
> 10.6% อยู่ในที่ทะเลาะวิวาทประจำ
● ปัญหาการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย
>82.6% เนื้อหาประเภทรถซิ่งและแต่งรถ
>65.9% เนื้อหาทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกาย อาทิ รุมตบกัน ยกพวกตีกัน
> 57.6% พฤติกรรมเลียนแบบสื่อเนื้อหาไม่เหมาะสม
● ปัญหาทางจิตเวช หรือการใช้ยาเสพติด
โพฤติกรรมความรุนแรงบางประเภท มีสาเหตุจากอาการทางจิตเวชได้ อาทิโรคบุคลิกแปรปรวน (Personality Disorder) โรคพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder) โรคไซโคพาธ (Psychopaths) ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง อาจนำไปสู่การก่ออาชญากรรมรุนแรงมากขึ้นได้
ข้อมูลกรมพินิจฯ 2559 – 2563 พบว่า เด็กและเยาวชนที่ก่อคดีความรุนแรงเกี่ยวกับเพศ และอาวุธและวัตถุระเบิดกว่า 83.1% และ 85.3% เคยกระทำความผิดในโรงเรียนเกี่ยว
อ่านได้ที่ https://www.voicetv.co.th/read/V0wLhzwp1
โฆษณา