9 มี.ค. เวลา 04:33 • ข่าว

10 อันดับโจรกรรมบนทางหลวง ปี 2566

ข้อมูลจากสำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง เปิดเผยตัวเลขการ ‘โจรกรรม’ อุปกรณ์บนทางหลวง พบข้อมูลที่น่าสนใจ ว่าในปี 2566 มีการโจรกรรมอุปกรณ์ทางหลวงถึง 932 แห่ง รวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมด 71,180,901 ล้านบาท
หากเทียบกับปี 2565 พบว่า การโจรกรรมอุปกรณ์บนทางหลวงทั้งหมดเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว จาก 30.6 ล้านบาท เพิ่มเป็น 71.2 ล้านบาท
โดยอุปกรณ์ที่มักถูกโจรกรม พบว่า ‘สายไฟฟ้า’ มีการโจรกรรมเพิ่มขึ้นจากปี 2565 เกือบ 3 เท่า หม้อแปลงไฟฟ้า ถูกโจรกรรมเพิ่มขึ้น 1 เท่า ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 6 เท่า!
‘วอยซ์’ รวบรวมข้อมูล 10 อันดับการโจรกรรม ปี 2566 พบว่า
◾ สายไฟฟ้า ถูกโจรกรรม 447 แห่ง มูลค่ารวม 34.1 ล้านบาท
◾ หม้อแปลงไฟฟ้า ถูกโจรกรรม 78 แห่ง มูลค่ารวม 16.6 ล้านบาท
◾ อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง ถูกโจรกรรม 118 แห่ง มูลค่ารวม 5.3 ล้านบาท
◾ ป้ายจราจร ถูกโจรกรรม 35 แห่ง มูลค่ารวม 2.6 ล้านบาท
◾ ตู้ควบคุมไฟฟ้า ถูกโจรกรรม 37 แห่ง มูลค่ารวม 1.6 ล้านบาท
◾ ฝาตะแกรงเหล็ก-ท่อ ถูกโจรกรรม 30 แห่ง มูลค่ารวม 1.4 ล้านบาท
◾ ราวกันอันตราย ถูกโจรกรรม 23 แห่ง มูลค่ารวม 1.4 ล้านบาท
◾ ปุ่ม / เป้าสะท้อนแสง ถูกโจรกรรม 28 แห่ง มูลค่ารวม 2.7 แสนบาท
◾ รั้วลูกกรง ถูกโจรกรรม 1 แห่ง มูลค่ารวม 1.3 หมื่นบาท
◾ ราวสะพานลอย ถูกโจรกรรม 1 แห่ง มูลค่ารวม 1.4 หมื่นบาท
❗️ไฟฟ้า คือระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ การลักลอบตัดสายไฟ ถือเป็นความผิดประมวลอาฐานลักทรพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท
❗️ อีกทั้งยังเป็นความผิดฐานทำลายทรัพย์สินหรือทำให้เสียหายแก่ทางหลวง มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
❗️ หรือหากร่วมกันกระทำผิด 2 คนขึ้นไป หรือกระทำเวลากลางคืน จะมีโทษหนักขึ้น จำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท และต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย
กลุ่มโจรกรรมสายไฟ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- คนในพื้นที่ เช่น ผู้ติดยาเสพติดในชุมชน ตัดครั้งละไม่มากแต่จับยากเพราะรู้ทางหนีทีไล่ หากเป็นเยาวชน มักเอาเงินไปซื้อยาเสพติด เล่นพนันฯ แต่หากเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาเรื่องเงินในการดำรงชีวิต
- กลุ่มมืออาชีพ เช่น กลุ่มลูกจ้างบริษัทรับเหมาที่ประกอบการด้านโทรคมนาคม กลุ่มนี้ชำนาญมากเพราะทำเป็นประจำอยู่แล้ว
- กลุ่มชั่วคราว หรือพวกยิปซี มักขับกระบะตระเวรลักตัดสายไฟ ดัดแปลงรถและแต่งกายให้เหมือนเจ้าหน้าที่ไฟฟ้า หรือติดตั้งไฟไซเรนตบตาบนหลังคารถ
ตัวอย่างคดี
บริษัททีโอที จำกัด ถูกขโมยสายเคเบิล ในปี 2557 และเพียงปีเดียว ได้สร้างความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท โดยจังหวัดที่มีการถูกลักลอบขโมยสายเคเบิลมากที่สุดคือ นครปฐม สงขลา สุพรรณบุรี ราชบุรี และขอนแก่น
สายไฟฟ้าและสายเคเบิล มีส่วนประกอบเป็นทองแดงและอลูมิเนียม ซึ่งมีการรับซื้อในราคาสูง เช่น
◾ ทองแดงปลอดสวย กิโลกรัมละ 283 บาท
◾ สายโทรศัพท์ กิโลกรัมละ 268 บาท
◾ ทองแดงชุบ กิโลกรัมละ 251 บาท
◾ อลูมิเนียมหนา กิโลกรัมละ 53 บาท
◾ ทองเหลืองหนา กิโลกรัมละ 180 บาท
ที่มา: สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง / เอกสารศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการลักลอบขโมยสายไฟ
โฆษณา