9 มี.ค. 2024 เวลา 06:31 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปวิกฤติอียิปต์ ประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ย 27% ในโพสต์เดียว

ถ้าเราลองหลับตาลง แล้วจินตนาการไปพร้อมกับลงทุนแมนว่า หากเราตื่นนอนขึ้นมา แล้วเจอกับ
4
- ข้าวของในประเทศ แพงขึ้น 30%
- ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย เพิ่มขึ้น 27%
8
ก็คงเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก เพราะอยู่ดี ๆ ค่าครองชีพแทบทุกอย่างของเรา เพิ่มขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว
ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศอียิปต์ ที่ตอนนี้คนอียิปต์ กำลังเผชิญชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
4
แล้วอะไรที่ทำให้อียิปต์ มาอยู่จุดนี้ได้
ดินแดนฟาโรห์แห่งนี้ กำลังเจอกับวิกฤติอะไรอยู่ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้ไหมว่า จริง ๆ แล้วคนอียิปต์ เคยรวยกว่าคนไทย โดยเมื่อปี ค.ศ.1960 หรือราว 64 ปีที่แล้ว
2
คนอียิปต์ มีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 3,160 บาทต่อปี ในขณะที่คนไทยตอนนั้น มีรายได้ต่อหัวเพียง 2,140 บาทต่อปีเท่านั้น
ซึ่งในตอนนั้น เศรษฐกิจอียิปต์รุ่งเรืองมาก เพราะมีทั้งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่าง “น้ำมันดิบ” ที่สามารถใช้และส่งออกไปยังต่างประเทศได้
1
นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าของโลก ทั้งทวีปแอฟริกา เอเชีย และยุโรป ด้วยคลองสุเอซ ที่ภาคการขนส่งสร้างรายได้ให้ประเทศปีละ 180,000 ล้านบาท
4
และยังมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก เดินทางมาเยี่ยมชมมหาพีระมิดกีซา จนทำให้อียิปต์มีรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างมหาศาล
1
แต่ภาพความโชติช่วงของเศรษฐกิจ กลับเริ่มมอดลง ทีละเล็กทีละน้อย จนประเทศเริ่มเข้าสู่ความมืดมน และทำให้อียิปต์ เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจมาถึงทุกวันนี้
1
ซึ่งสาเหตุของวิกฤติที่ว่า ก็มาจาก..
1) การวางแผนเศรษฐกิจที่ผิดพลาด
ในช่วงปี 1962 เป็นต้นมา อียิปต์ใช้นโยบายการตรึงค่าเงินปอนด์อียิปต์ของตัวเองไว้คงที่ โดยอยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 0.4 ปอนด์อียิปต์
5
ซึ่งก็ดูจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศมีเสถียรภาพ ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว และการนำเข้าของประเทศ
3
แต่กลับส่งผลเสียต่อภาคการส่งออกของอียิปต์ เพราะทำให้สินค้าส่งออกของอียิปต์ ดูแพงขึ้นในสายตาของต่างประเทศ
1
ทั้ง ๆ ที่สินค้าส่งออกหลักของอียิปต์ หากไม่นับน้ำมันเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูงมาก และต้องสู้ด้วยเรื่องราคาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตร ไหม ฝ้าย สิ่งทอ
2
อีกทั้งภาคธุรกิจ ยังไม่ถูกเหลียวแลจากรัฐบาล เพราะรัฐบาลมุ่งเน้นแต่แปรรูปเอกชน ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ และไม่สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน
1
ทำให้ภาคการส่งออกอียิปต์ ขาดความสามารถในการแข่งขัน
1
พอเป็นแบบนี้ อียิปต์จึงเริ่มนำเข้า มากกว่าส่งออก
หรือขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 1960
จนทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเริ่มผันผวน
4
ซึ่งธนาคารกลางอียิปต์เอง ก็พยายามควบคุมค่าเงินให้คงที่ โดยแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนหลายครั้ง จนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างหนัก
2
และในที่สุดต้องกู้เงินครั้งแรกจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามาชดเชย ในปี 2016 ที่ผ่านมา
แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น จนต้องขอกู้ IMF เพิ่มอีกในเวลาต่อมา..
1
2) ประชากรในประเทศ ที่เพิ่มเร็วเกินไป
เมื่อ 60 ปีก่อน คนอียิปต์มีเพียง 27 ล้านคน เท่า ๆ กับคนไทยในตอนนั้น แต่ปัจจุบัน อียิปต์มีประชากรแซงไทย และมากถึง 113 ล้านคน
8
ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ อาหารไม่พอ เพราะอียิปต์มีพื้นที่ทะเลทรายมากถึง 96% แถมยังเพาะปลูกได้เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำไนล์ตอนเหนือเท่านั้น
2
พอเป็นแบบนี้ ทำให้อียิปต์จำเป็นต้องนำเข้าอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวสาลี ที่เป็นอาหารหลัก
1
และไม่เพียงแค่นี้ เพราะปัจจุบัน อียิปต์ผลิตน้ำมันได้ 680,000 บาร์เรลต่อวัน แต่คนอียิปต์ ต้องการใช้น้ำมันถึง 877,000 บาร์เรลต่อวัน
3
ดังนั้นอียิปต์ จึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมัน แม้สามารถผลิตน้ำมันในประเทศได้ก็ตาม
1
เมื่อต้องนำเข้าน้ำมันและอาหารมากขึ้น ก็ยิ่งซ้ำเติมทำให้ประเทศขาดดุลการค้ามากขึ้นไปอีก
4
3) อียิปต์ เจอความขัดแย้งรอบด้านบ่อยครั้ง
แม้จะโชคดีเรื่องทำเลที่ตั้ง ที่สามารถควบคุมการค้าโลกผ่านคลองสุเอซได้ แต่ดินแดนตรงนี้ ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งมากมายเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับชาติอาหรับ ที่อียิปต์เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทำให้งบประมาณประเทศ ต้องทุ่มไปกับการทหารจำนวนมาก
1
ซึ่งเงินตรงนี้ เคยสูงถึงเกือบ 20% ของ GDP ประเทศ
และรัฐบาลอียิปต์ก็ต้องใช้วิธีขาดดุลงบประมาณ โดยการก่อหนี้สาธารณะ และทำให้หนี้สาธารณะของอียิปต์ ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นจนมีระดับ 90% ของ GDP ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017
7
นอกจากนี้ ยังมีวิกฤติอาหรับสปริง ที่ทำให้อียิปต์เกิดความไม่สงบในประเทศ และล่าสุด ก็มีกลุ่มฮูตี ที่มีการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดงในปัจจุบัน
2
ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวอียิปต์ ที่เคยคิดเป็น 16% ของ GDP กระทบอย่างหนัก จนลดลงเรื่อย ๆ เหลือเพียง 4% ของ GDP ในปี 2020
 
แถมคลองสุเอซ ที่เป็นอีกเส้นเลือดสำคัญ ก็มีรายได้ที่ลดลงตามมาด้วย
3
จากมรสุม 3 ด้านที่เข้ามาต่อเนื่อง ทำให้อียิปต์เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจมาถึงปัจจุบัน และในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์ต่าง ๆ ก็ยิ่งทำร้ายอียิปต์มากขึ้นไปอีก
2
โดยเฉพาะความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้อียิปต์ต้องนำเข้าข้าวสาลีและน้ำมันในราคาแพงขึ้น จนประเทศยิ่งขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
แถมยังทำให้เกิดเงินเฟ้อมากขึ้น ซึ่งคนอียิปต์ก็ต้องจ่ายเงินในชีวิตประจำวันแพงขึ้น ทั้ง ๆ ที่ประเทศ มีคนจนมากถึง 32.5% ของประชากรทั้งหมด
7
สุดท้าย ปัจจุบันอียิปต์ตัดสินใจลอยตัวค่าเงิน
จนค่าเงินอ่อนลง 38% และเร่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในประเทศ จนขึ้นมาอยู่ที่ 27% เพื่อเอาชนะเงินเฟ้อที่สูงถึง 30%
1
โดยที่ทำไปทั้งหมดนี้ นอกจากแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว ก็ยังเพื่อต้องการได้เงินกู้จาก IMF เพิ่มเติมอีก 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 106,000 ล้านบาท
2
เพราะ IMF เองมีเงื่อนไขว่า หากอยากกู้เพิ่ม อียิปต์ ต้องปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนของตัวเอง ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และต้องแก้ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศให้ได้
3
ซึ่งรัฐบาลอียิปต์ก็ต้องยอม เพราะหากต้องกู้เงินในประเทศต่อไป ก็ยิ่งไปแย่งแหล่งเงินทุนกู้ยืมจากภาคเอกชน และทำให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
1
และหากจะหาแหล่งกู้จากต่างประเทศ การที่อียิปต์เจอวิกฤติเศรษฐกิจมากขนาดนี้ ก็คงไม่มีเจ้าหนี้ประเทศไหน อยากปล่อยกู้ให้กับอียิปต์มากนัก
3
แต่การที่รัฐบาลอียิปต์ ดำเนินนโยบายผิดพลาด จนต้องยอม IMF ก็มีต้นทุนแฝงที่ต้องแลกกลับมาเช่นกัน ทั้งชาวอียิปต์ ที่ต้องเผชิญกับต้นทุนค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว และลูกหลานชาวอียิปต์ ที่มีภาระต้องชดใช้หนี้ในระยะยาว..
6
โฆษณา