10 มี.ค. 2024 เวลา 07:49 • ประวัติศาสตร์

ศึกษาระบบกลไกลการแลกเปลี่ยนคูลา库拉 (Kula) ของกำนัลใช้สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมโดยปราศจากมูลค่าทางราคา

เปิดมุมมองผ่านมานุษยวิทยา ศึกษาระบบกลไกลการแลกเปลี่ยนคูลา“库拉 (Kula) ”ของกำนัลที่ใช้สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมโดยปราศจากมูลค่าทางราคา
หากการแลกเปลี่ยนหรือสร้างสัมพันธ์ทางสังคมในยุคสมัยก่อนปราศจากการแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินตรา ไม่มีการค้าขาย เหตุใดจึงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมได้ ? เหตุใดจึงทำการติดต่อและสานสัมพันธ์กับอาณาจักรเพื่อนบ้าน หรือเกาะบริเวณรอบๆได้ ?
วันนี้จะพาเปิดมุมมองสำหรับศาสตร์ทางมานุษยวิทยา (社会科学) การศึกษาความเป็นอยู่หรือสภาพสังคมใดสังคมหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งการก่อเกิด การดำรงอยู่และการแพร่กระจาย ล้วนแล้วเป็นหัวข้อเนื้อหาสำคัญที่นักวิชาการทางด้านมานุษยวิทยาทำการศึกษามานับหลายศตวรรษ
ในโลกที่แสนจะกว้างใหญ่และมีแหล่งอารยธรรมกระจายอยู่ทั่วทุกแห่งหนนั้น นักมานุษยวิทยามักจะค้นหาวิธีหรือหลักทฤษฎีต่างๆเพื่อทลายกำแพงในการทำความเข้าใจวัฒนธรรมหรือสภาพสังคมต่างๆที่กระจายตัวอยู่แต่ละซีกโลก
ชาติพันธุ์วรรณา (民族志 ethnography) ถือเป็นศาสตร์วิชาหลักที่ใช้ในการบันทึกและแพร่กระจายของอารยธรรมของชาติพันธุ์หนึ่ง และเป็นเครื่องมือหลักที่นักมานุษยวิทยาใช้ในการศึกษาถึงสภาพสังคม แหล่งวัฒนธรรม อาทิ Herodotus (希罗多德: 484 – 425 BC) ที่ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ จากการบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศอื่นๆ ถือเป็นรูปแบบการบันทึกผ่านมุมมองของการศึกษาแบบชาติพันธุ์วรรณา
ซึ่งผลของการศึกษาสภาพสังคมของประเทศใดประเทศหนึ่งโดยผ่านชาติพันธุ์วรรณานั้นถือว่ามีคุณค่าทางวิชาการอย่างมาก โดยแบ่งออกเป็นสองปัจจัยหลักคือ ประการหนึ่ง ตัวผู้วิจัยใช้หลักทางวิชาการผสมผสานกับทฤษฎีที่เชื่อถือได้ โดยพยายามศึกษาโครงสร้างวัฒนธรรมที่ซับซ้อนให้กลายเป็นเนื้อหาที่มีหลักมีการได้
ประการสอง เนื้อหาที่ผู้วิจัยได้จดบันทึกทุกสิ่งอย่างนั้นเป็นเนื้อหาที่เชื่อถือได้ เพราะถือเป็นเนื้อหาที่ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์จริงและเห็นกับตาของตัวผู้วิจัยเอง (现场目睹 I witness) และขั้นตอนของการศึกษาตั้งอยู่บนบรรทัดฐานของสภาวะความเป็นจริงสภาพสังคมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์นั้นๆ
บทความนี้ผู้เขียนอยากจะชวนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหลักการที่ใช้เป็นสะพานในการสานสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้คน ซึ่งถือเป็นหลักการที่เกี่ยวกับการศึกษาผ่านชาติพันธุ์วรรณาเช่นกัน ของสิ่งนี้เราเรียกมันว่า “ของกำนัล (礼物)”
การแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะนี้จะต่างจากการแลกเปลี่ยนค้าขายสินค้า การทำธุรกิจความร่วมมือต่างๆโดยสิ้นเชิง เพราะของกำนัลที่ถือเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนมักจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเรียกมันว่า ความเชื่อใจและเกียรติยศ (信用与荣誉)ซึ่งการแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้เราเรียกว่า 库拉 "Kula ring"
คูลาริง (库拉) จากหนังสือ Argonauts of the Western Pacific 《西太平洋的航海者》 (Malinowski 1922) เป็นระบบการแลกเปลี่ยนของมีค่าซึ่งเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของคนในหมูเกาะโทรบรีแอนด์ (特罗布里恩群岛 Trobriand) ทางทิศตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินีในปัจจุบัน
https://materialreligions.blogspot.com/2014/11/few-studies-of-materialculture-have.html
โดยใช้สิ่งที่เรียกว่าสร้อยคอเปลือกหอยสีแดง (soulava) และกำไลแขนเปลือกหอยสีขาว (mwali) เป็นสื่อเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งภายหลังถูกนำมาอ้างอิงในการศึกษาเชิงเปรียบเทียบว่าด้วยมิติทางสังคมของการแลกเปลี่ยนของกำนัลใน The Gift: Forms and Functions of Exchange in Archaic Societies 《礼物:旧社会中交换的形式与功能》 (Mauss 1925)
กำไลแขนทำจากเปลือกหอยสีขาว (mwali)
ในยุคสมัยที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนค้าขายทางตลาด ไม่มีเงินตรามาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนหรือสานสัมพันธ์ คูลาถือเป็นระบบกลไกแลกเปลี่ยนที่เป็นทั้งเชิงสัญลักษณ์หรือพิธีกรรม และเป็นทั้งกระบวนการแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างเกาะที่มีระบบนิเวศต่างกัน การสร้างมิตรภาพ และการสร้างพันธมิตรทางการเมือง
Malinowski (马林诺夫斯基)ได้บันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมการแลกเปลี่ยนคูลาไว้อย่างน่าสนใจ เขากล่าวไว้ว่าผู้ที่ทำการแลกเปลี่ยนนี้จะต้องเป็นผู้ที่รอบรู้ทางด้านเวทย์มนตร์เพื่อใช้ในการเดินเรือ ซึ่งการเส้นทางการแลกเปลี่ยนจะดำเนินไปตามลักษณะวงแหวน โดยสร้อยคอเปลือกหอยสีแดง จะเวียนตามหมู่เกาะต่างๆไปตามเข็มนาฬิกา ในขณะเดียวกัน การแลกเปลี่ยนกำไลแขนเปลือกหอยสีขาว ก็จะเวียนไปในลักษณะของทวนเข็มนาฬิกา จนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า วงแหวนคูลา (Kula ring)
การแลกเปลี่ยนคูลายังมีนัยสำคัญอย่างยิ่งในการเยือนหมู่เกาะเพื่อนบ้าน เพราะการการแลกเปลี่ยนคูลานำมาซึ่งความรู้สึกสบายใจและปลอดภัยให้กับเจ้าบ้าน เพราะในโลกของการเดินทางที่ต้องเผชิญกับอันตรายในรูปแบบต่างๆ ทั้งภัยธรรมชาติและศาสตร์มืดที่มาจากคนแปลกหน้า
นักมานุษยวิทยาชี้ให้เห็นว่า การแลกเปลี่ยนแบบคูลาริงถือเป็นการแลกเปลี่ยนแบบสมดุล ที่แตกต่างจากระบบการแลกเปลี่ยนที่เป็นไปตามกลไกลของมูลค่าสินค้าเป็นสำคัญในประเทศตะวันตก
เพราะการรักษาสมดุลในที่นี้จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของพันธะความสัมพันธ์ระหว่างคู่แลกเปลี่ยน กล่าวคือ การแลกเปลี่ยนคูลานั้นจะต้องคำนึงถึงคู่เปลี่ยนเพื่อตระหนักถึงความคาดหวังว่าคู่แลกเปลี่ยนจะมอบวัตถุคูลาที่มีมูลค่าเท่าเทียมกันกลับคืน เมื่อส่งมอบของกำนัลให้กับคู่แลกเปลี่ยน ช่วงระยะเวลาในการส่งคืนนานเท่าไหร่ เมื่อถึงเวลามอบของกำนัลคืน มูลค่าที่มอบให้จะต้องมากกว่าเดิม หรือที่เราเรียกกันว่า “ศักดิ์ศรี”
"ผู้ให้" จะต้องแสดงถึงความใจกว้าง (慷慨 generosity) โดยการมอบวัตถุที่มีมูลค่าเท่าเทียมหรือมากกว่าที่เคยได้รับจากคู่แลกเปลี่ยน ส่วน"ผู้รับ" จะพยายามใช้วิธีต่างๆเพื่อสร้างข้อผูกมัดหรือทำให้ผู้ครอบครอง(คูลา)รู้สึกถึงพันธะในการมอบวัตถุตามที่ตนคาดหวังไว้
ปัจจุบันการติดต่อหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักจะดำเนินอยู่บนพื้นฐานของการค้าเศรษฐกิจ โดยผ่านการค้าขายและแลกเปลี่ยนทางการตลาดเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อได้ศึกษาระบบกลไกลแลกเปลี่ยนคูลาแล้ว มนุษย์เราใช้แค่สร้อยคอและกำไลที่ทำจากเปลือกหอยเพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อแลกเปลี่ยนกับอาณาจักรเพื่อบ้านโดยสิ่งของที่เราเรียกว่า “ของกำนัล”ซึ่งปราศจากมูลค่าทางราคาโดยสิ้นเชิง เหตุนี้เราจึงเห็นถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของระบบกลไกแลกเปลี่ยนตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงยุคปัจจุบัน
Zhou Peng
โฆษณา