10 มี.ค. เวลา 12:10 • ประวัติศาสตร์
รัฐในสมัยพุทธกาลเป็นรัฐแบบ "นครรัฐ" (city-state) โดยรัฐส่สนใหญ่ปกครองแบบราชาธิปไตย หมายความว่า มีผู้ปกครองคนเดียวที่มีอำนาจเด็ดขาด แต่มีนครรัฐบางนครรัฐคือนครรัฐของพวกเจ้าลิจฉวี (นครรัฐไพศาลี) ที่ปกครองด้วยระบอบการปกครองที่อาจจะเรียกได้ว่า เป้นประชาธิปไตยโดยตรง (แต่ก็คงไม่ถึงขนาดเอเธนส์ ) หรือหากจะพูดให้ถูกกว่านั้นคือเป็นอภิชนาธิปไตยที่มีความเป็นประชาธิปไตยอาจจะใกล้เคียงกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่าง ๆ ในสมัยนั้น เข้าว่าก็เหมือนความสัมพันธ์ของรัฐโบราณแบบทั่วไป คือรัฐที่ใหญ่กว่าพยายามแผ่ขยายอาณาเขตไปกินรัฐที่เล็กกว่า รัฐที่ใหญ่กว่าบางรัฐจึงอาจอยู่ในสถานะของจักรวรรดิ์ และรัฐบางรัฐก็อาจมีการผูกสัมพันธไมตรีกันผ่านการแต่งงานของเหล่าผู้ปกครอง แต่อย่างไรก็ตามในสมัยพุทธกาลยังไม่มีรัฐไหนที่สามารถรวบรวมนครรัฐของอินเดียโบราณให้เป็นอาณาจักรเดียวได้ คนที่สามารถรวบรวมแผ่นดินอินเดียได้เป็นคนแรก ๆ น่าจะเป็นพวกโมริยะมั้งหากผมจำไม่ผิด (คือหลังจากขับไล่พวกกรีกออกไปได้นู่นแหละ)
โฆษณา