11 มี.ค. เวลา 09:28 • การเมือง

ปรากฏการณ์ #Metoo เมื่อความรุนแรงทางเพศ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

ความรุนแรงทางเพศ ( sexual violence ) เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย เมื่อเกิดแล้วจะเป็น
แผลฝังลึกไปในใจเหยื่ออีกนาน หากไม่ได้รับความช่วยเหลือ อาจส่งผลต่อชีวิตได้ แม้ว่าจะมีกฏหมายป้องกันความรุนแรงทางเพศในสังคม แต่หากผู้กระทำความผิดเป็นผู้มีอำนาจ หรือ สังคมเมินเฉยคิดเสียว่าผ่านไปแล้วก็ผ่านไป กฏหมายจะสามารถปกป้องเหยื่อได้จริง ๆ หรือไม่
แฮชแท็ก #Metoo เกิดขึ้นในปี 2006 ที่สหรัฐอเมริกา โดย Tarana Burke นัก activist ผิวดำขององค์กร Just Be Inc ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เธอก่อตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางเพศ รวมถึงเธอเองที่เคยโดนล่วงเมิดทางเพศ
ตอนเด็ก เธอหวังว่า #Metoo จะสามารถช่วยให้เหยื่อคนอื่น ๆ รับรู้ได้ว่าพวกเธอไม่ได้อยู่
ในความเจ็บปวดคนเดียว
Tarana Burke
กรณีอื้อฉาวเริ่มในเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 2017 มีนักข่าวของ The New York Times เปิดโปง Harvey Weinstein นักกำกับภาพยนตร์ ว่าในช่วงระยะเวลาอย่างน้อย 30 ปี เขาได้ทำการล่วงละเมิด ข่มขืน ใช้ความรุนแรงทางเพศกับหญิงสาวในวงการภาพยนตร์มากกว่า 80 คน
ซึ่งมีการให้เหยื่อเซนต์ข้อตกลงที่จะปกปิดการกระทำของเขา ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เนื่องจาก
ชื่อเสียงของเขาในวงการภาพยนตร์และมีเหยื่อจำนวนมาก เมื่อเข้าถึงขบวนการศาล
จึงถูกตัดสินให้จำคุกทั้งหมด 39 ปี หรือเกือบจะชั่วชีวิตของเขา
ในเดือนและปีเดียวกันนั้น ปรากฏการณ์ #Metoo เริ่มสั่นสะเทือนสังคมอเมริกา เมื่อ Alyssa Milano นักแสดงหญิงฮอลลีวูดชาวอเมริกา ออกมาทวิตเชิญชวนผู้หญิงที่เคยถูกล่วงละเมิด
ทางเพศออกมาบอกเล่าประสบการณ์และติด #Metoo ผลลัพธ์คือมีเหยื่อจำนวนมากออกมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น และเป็นไวรัลในอินเตอร์เน็ตอย่างต่อเนื่อง
ปรากฏการณ์ #Metoo เริ่มจากวงการบันเทิงไปสู่วงการการเมือง กีฬาและอาหาร ส่งผลให้
ผู้มีอำนาจในวงการต่าง ๆ ที่ทำความผิด กว่า 200 คนต้องเสียงานและชื่อเสียงไป
ยกตัวอย่างเช่น กรณีดังของ Jeffrey Epstein เจ้าพ่อค้าประเวณีที่คนมีชื่อเสียงในหลายวงการมีส่วนเกี่ยวข้องมากมาย เนื่องด้วยเคสล่วงละเมิดทางเพศที่มีเหยื่อหลายคนออกมาบอกเล่าประสบการณ์ทั่วอเมริกา ทั้งให้เกิดการแก้กฏหมายเพื่อความเป็นธรรมแก่เหยื่อและสร้างสังคมที่น่าอยู่ขึ้น
นอกจากนี้ #Metoo ยังแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชียที่เป็นปิตาธิปไตย ประเทศแถบตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้น อีกทั้งยังส่งผลต่อสังคมมาเรื่อย ๆ
ตั้งแต่ปีค.ศ. 2017 เหยื่อไม่เพียงแต่เป็นผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายก็ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยเช่นกัน
การกระทำที่เป็นความรุนแรงทางเพศ ไม่ต้องถึงขั้นโดนข่มขืน แต่หากเป็นสิ่งที่อีกฝ่ายแสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นทางสายตา ทางการกระทำ แทะโลมด้วยคำพูดต่าง ๆ ที่ทำให้เรา
ไม่พอใจ การแสดงออกว่าคุณก็เป็นหนึ่งในเหยื่อของความรุนแรงทางเพศ เพื่อบอกเล่าประสบการณ์และเป็นเครื่องเตือนใจให้กับคนอื่น ๆ ถือว่าคุณทำสิ่งที่กล้าหาญที่สุดแล้วค่ะ
หวังว่าสังคมไทยของเราเมื่อผู้คนตระหนักได้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนะคะ 🤍
โฆษณา