12 มี.ค. 2024 เวลา 00:16 • ข่าวรอบโลก

หญิงวัย 31 ปี เสียชีวิตจากไข้นกแก้ว: กรณีศึกษาประเทศญี่ปุ่น

ในปี 2020 มีการตีพิมพ์กรณีศึกษาที่น่าสนใจ ของหญิงชาวญี่ปุ่นที่ติดเชื้อไข้นกแก้ว จนถึงแก่ชีวิต
หญิงชาวญี่ปุ่นวัย 31 ปี ตั้งครรภ์ได้ 17 สัปดาห์ พบว่ามีอาการไข้สูงมากถึง 38 องศาเซลเซียส มีอาการปวดหัวรุนแรง ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดกล้ามเนื้อ ตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ต่อมาผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง และชีพจรที่สูงถึง 160 bpm (ปกติของมนุษย์จะอยู่ที่ไม่เกิน 60-100 bpm)
7
หญิงรายนี้ถูกนำตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล ถึงตอนนี้ยังคงมีไข้สูงถึง 40 องศาฯ
นอกจากนี้ยังมีภาวะ thrombocytopenia และการทำงานผิดปกติของตับ โดยมีค่า
AST/ALT อยู่ที่ 298/74 ผู้ป่วยมีภาวะหายใจหอบเหนื่อยและขาดออกซิเจนรุนแรง(acute respiratory distress syndrome: ARDS) นอกจากนี้ยังพบการทำงานของไตที่ผิดปกติ โดยรางานดังกล่าวระบุเพียงค่า serum creatinine อยู่ที่ 1.42
3
แม้จะได้รับยาปฏิชีวนะ แต่อาการของผู้ป่วยรายดังกล่าวก็ยังไม่ดีขึ้น วันต่อมาทารกในครรภ์เสียชีวิต อาการของหญิงรายดังกล่าวแย่ลงโดยลำดับ ก่อนจะเสียชีวิตลงหลังเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 3 วัน
และได้รับการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไข้นกแก้วในภายหลัง
3
แม้จะมีอุบัติการณ์ไม่มาก แต่ไข้หวัดนกแก้วเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเจ็บป่วยรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ และการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเท่าที่มีการบันทึกในประเทศญี่ปุ่น ไข้หวัดนกแก้วมีเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ที่ได้รับเชื้อดังกล่าวมากถึง 87-94% และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดา 6.3-8.7% โดยสาเหตุการเสียชีวิตมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น thrombocytopenia, ARDS ,hepatic dysfunction และ coagulopathy เป็นต้น
อาการสำคัญของผู้ติดเชื้อที่พบได้บ่อยคืออาการไข้(99-100%) รองลงมาคือปวดศีรษะ (72.7%) คลื่นไส้ อาเจียน nausea(45.4%) ไอแห้ง (36.3%) เจ็บคอ(18.1%)
และอาการอื่นๆอีกราว 27%
แม้จะชื่อไข้นกแก้ว แต่จากการศึกษาของญี่ปุ่นพบว่า เชื้อดังกล่าวยังกระจายอยู่ในสัตว์ที่ถูกเลี้ยงฟาร์มหลายชนิด โดยพบผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสสัต์แล้วติดโรคดังกล่าวมากที่สุดในแกะ (74%) แพะและนกแก้วอย่างละ 13% ก่อนจะเป็นนกและสัตว์อื่นๆอีกเล็กน้อย
แม้เราจะยังรู้อะไรไม่มากเกี่ยวกับไข้นกแก้ว แต่ที่รู้แน่ๆตอนนี้คือ การได้รับเชื้อดังกล่าวจะรุนแรงในกลุ่มผู้ป่วยบอบบาง เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ทารก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวหรือใช้ยาที่มีการทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ควรได้รับการดูแลและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
การรักษาเชื้อไข้นกแก้วแตกต่างจากไข้หวัดนก เนื่องจากไข้หวัดนกเป็นเชื้อตระกูลไวรัส แต่ไข้หวัดนกแก้วเป็นเชื้อตระกูลแบคทีเรีย จึงใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มยาต้านเชื้อแบคทีเรีย เช่น กลุ่ม cephalosporin และยากลุ่ม protein synthesis inhibitor antibiotics ต่างๆ โดยการเลือกใช้ยาต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ของผู้ป่วย
การป้องกันการติดเชื้อไข้นกแก้วทำได้โดย หลีกเลี่ยงการสัมผัสนก นกแก้วและสัตว์อื่นๆที่อาจเป็นพาหะ หากจำเป็นต้องสัมผัสจริงๆควรสวมหน้ากากอนามัย หลังสัมผัสแล้วควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หากอยู่ที่พื้นที่เสี่ยงให้เฝ้าระวังและสังเกตอาการตนเองและสัตว์เลี้ยง หากพบอาการข้างต้นควรรีบไปพบแพทย์
3
อ้างอิง
10.1111/jog.14217
โฆษณา