13 มี.ค. เวลา 00:44 • ข่าว

Fake News. หลอกให้เชื่อและแชร์

O- Fake News คืออะไร
"Fake news" หมายถึงข่าวปลอมหรือข้อมูลที่ผิด มักจะเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ เช่น Webste, Social media หรือสื่อต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสับสน และทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดที่ไม่เป็นจริงในสังคม เช่น ข่าวปลอมเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ การเมือง หรือเรื่องสังคมที่สร้างความกังวลและความไม่สงบใจในสังคม การตรวจสอบข่าวด้วยแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และการทำความเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการรับรู้ข้อมูลที่ผิดๆ หรือการปักใจเชื่อข่าวปลอมไปตามช่องทางสื่อต่างๆ ในปัจจุบัน
O- การโน้มน้าวของ Fake News
-การใช้ข้อมูลที่ผิด: ผู้ผลิตข่าวปลอมอาจใช้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง หรือเลือกเฉพาะข้อมูลที่สนับสนุนเรื่องที่ต้องการโน้มน้าว โดยไม่ได้เสนอข้อมูลที่เป็นภาพรวมอย่างครบถ้วน
-การใช้ภาพประกอบ: การใช้ภาพประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องหรือภาพที่ถูกแก้ไขแล้ว เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในข่าวปลอม
-การใช้คำพูดหรือคำบรรยายที่ดึงดูดใจ: การใช้คำพูดหรือคำบรรยายที่มีความหมายโดดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างความประหลาดใจให้กับผู้อ่าน
-การใช้โพสต์ใน Social media: การเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่นโพสต์บนทวิตเตอร์(X) อินสตาแกรม เพื่อให้ข่าวไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
-การใช้บัญชีปลอม:การสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอมบนโซเชียลมีเดีย และเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านบัญชีเหล่านี้
-การใช้เทคนิค SEO: ผู้ผลิตข่าวปลอมอาจใช้เทคนิค SEO (Search Engine Optimization) เพื่อให้ข่าวปลอมปรากฏบนผลการค้นหาของเครื่องมือค้นหา เมื่อผู้คนค้นหาเรื่องนั้นๆ
O- ผลกระทบที่ได้รับ Fake News
- ผู้รับได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด อาจส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- ผู้รับเกิดความตระหนกตกใจ เช่น ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือโรคระบาด อาจทำให้ผู้คนแตกตื่น แห่กักตุนของกินของใช้
- ผู้ถูกแอบอ้างได้รับความเสียหาย เช่น ถูกล้อเลียน ดูหมิ่น กลั่นแกล้งรังแก
- ข้อมูลที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น ข้อมูลเท็จทางด้านการเมือง ข่าวสถานการณ์ระหว่างประเทศ
O- การตรวจสอบเนื้อหาของ Fake News ก่อนจะปักใจเชื่อ
- ตรวจสอบแหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูล - เช่น สำนักข่าว หน่วยงาน หรือชื่อผู้ให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือจากหลายๆแหล่ง
- ตรวจสอบหาต้นตอของข่าว - บางครั้งข่าวเท็จอาจเป็นข่าวเก่าที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว หรือใช้ข้อมูลจากข่าวเก่าๆมาเล่าใหม่เพื่อให้เกิดความแตกตื่นหรือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
- สอบถามผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆโดยตรงหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่นรายการชัวร์ก่อนแชร์ โดย สำนักข่าวไทย อสมท. เป็นสื่อกลางนำเรื่องที่แชร์กันมากบนสื่อโซเชียลไปถามผู้รู้มาตอบให้ในรายการและเผยแพร่ในเฟซบุ๊ก SureAndShare
- ดูความน่าเชื่อถือของเนื้อหาและการอ้างอิง - เช่น สถานที่ เวลา บุคคลที่สามที่กล่าวถึง หากไม่ระบุข้อมูลใด ๆ อาจะเป็นไปได้ว่าเป็นข่าวปลอม
- ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น - ว่ามีเว็บไซต์หรือแหล่งข่าวอื่นที่มีข่าวในลักษณะเดียวกันหรือไม่ แหล่งข่าวได้มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเสนอข่าวหรือไม่
อ้างอิง:
โฆษณา