Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
14 มี.ค. 2024 เวลา 01:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📌เศรษฐกิจจีนในปีนี้จะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จหรือไม่?
เหมือนเพิ่งจะผ่านไปในนานเองที่เมื่อปีก่อน จีนตั้งเป้าเศรษฐกิจเติบโต 5% และในปีนี้จีนก็ตั้งเป้าเศรษฐกิจโต 5% อีกครั้ง ซึ่งก็เป็นไปตามนี่นักวิเคราะห์หลายคนได้คาดการณ์ไว้
โดยจีนจะตั้งงบประมาณขาดดุลต่อ GDP อยู่ที่ 3% ต่อปี ลดลงมาจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 3.8%
และได้ประกาศพันธบัตรระยะยาวพิเศษขึ้นมา คาดว่าพันธบัตรระยะยาวพิเศษที่จะออกมานี้ จะมีมูลค่า 1 ล้านล้านหยวน (138.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อที่จะนำมาเป็นทุนในในโครงการก่อสร้างหลักๆ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในขณะที่จะมีการออกพันธบัตรที่มีจุดประสงค์พิเศษมูลค่า 3.9 ล้านล้านหยวนของรัฐบาลท้องถิ่นในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าปีก่อนอยู่ 100 พันล้านหยวน
นักเศรษฐศาสตร์จาก Oxford Economics ประเมินว่า การขาดดุลงบประมาณ ซึ่งไม่รวมการออกพันธบัตรพิเศษ พันธบัตรตามนโยบายธนาคาร และหนี้ยานพาหนะรัฐบาลท้องถิ่น น่าจะขาดดุลอยู่ที่ราวๆ 3 - 3.5%
โดยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวพิเศษที่จะออกมานี้ จะไม่รวมอยู่ในงบประมาณขาดดุลของรัฐบาล จะทำให้สามารถออกพันธบัตรได้ในเวลาที่เหมาะสมตามสภาวะตลาดและภาวะเศรษฐกิจ
🔴เติบโตไปอย่างยั่งยืน
เมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจจีนโตได้อยู่ที่ 5.2% โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากวิกฤติโรคระบาดนั้นช้ากว่าที่หลายคนคาดคิดไปบ้าง ในขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจถูกฉุดรั้งไว้จากปัญหาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการส่งออก
ในปีนี้ จีนวางแผนที่จะตั้งเป้าให้อัตราการว่างงานในเมืองอยู่ที่ 5.5% มีการสร้างงานใม่ๆ ในเมืองกว่า 12 ล้านตำแหน่ง และดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นราวๆ 3% ซึ่งเป้าหมายในปี 2024 ก็ดูแล้วจะคล้ายๆ กับที่ตั้งไว้เมื่อปี 2023
และนอกจากเป้าหมายด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจข้างต้นแล้ว รัฐบาลจีนยังให้ความสำคัญกับความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย ป้องกันความเสี่ยง และรักษาเสถียรภาพทางสังคมอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลปักกิ่งจะมองข้ามตัวเลขไป แล้วหันไปสนับสนุนการปฏิรูปเพื่อให้เกิดเติบโตแบบคุณภาพสูงแทน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปภาษี การส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และขจัดอุปสรรคต่อการลงทุนภาคเอกชน
ถึงแม้ในขณะนี้ ปัจจัยที่ช่วยในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ค่อยๆ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
แต่จีนเองก็ยังคงจำเป็นต้องเตรียมตัวเผื่อสำหรับปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากปัญหาหนี้ และปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์
โดยรัฐบาลจีนได้วางแผนที่จะออกมาตรการกำจัดความเสี่ยงที่เกิดจากปัญหาหนี้ที่มีอยู่ และความเสี่ยงจากหนี้ใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยังให้คำมั่นที่จะตอบสนองความต้องการทางการเงินที่สมเหตุสมผลของภาคอสังหาริมทรัพย์ และพยายามลดความเสี่ยงหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เนื่องจากในอดีตรัฐบาลท้องถิ่นจีนต้องอาศัยการขายที่ดินให้กับนักพัฒนาที่ดินเป็นรายได้หลัก
ปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนนั้นมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับเรื่องการคลังของรัฐบาลท้องถิ่น
พอตลาดอสังหาริมทรัพย์ทรุดตัว หลังรัฐบาลออกมาตรการควมคุมการก่อหนี้ของนักพัฒนาฯ ในปี 2020 ก็ส่งผลให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดบางแห่งต้องล้มละลาย จนก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการเติบโตของประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกแห่งนี้
มาเอาใจช่วยจีนกันว่า ในปีนี้จีนจะเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จหรือไม่…
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : บริษัท ก่อการดี จำกัด
════════════════
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
════════════════
คุณจะไม่พลาดทุกประเด็นเศรษฐกิจ จาก Bnomics
เพียงตั้งค่าที่เมนูมุมขวาบนเพจให้
เป็น "#Favourites" หรือ “#รายการโปรด”
แล้วทุกประเด็นเศรษฐกิจ จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
Reference
https://www.cnbc.com/2024/03/05/china-gdp-target-2024.html
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจจีน
หุ้น
3 บันทึก
7
2
3
7
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย