Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แสงทาน 🌻
•
ติดตาม
13 มี.ค. เวลา 07:10 • ความคิดเห็น
ที่สุดแล้ว คำว่า "ตัวเรา" คืออะไรกันแน่ ผมวานผู้รู้ช่วยสงเคราะห์ความสงสัยในความใคร่รู้ของผมทีครับ ขอคำตอบที่ the best และเข้าใจง่ายทีครับ ขอให้ผลบุญกุศลในการอธิบายธรรมะนี้ จงมีแด่ท่านทั้งหลาย สาธุ ?
ตั้งใจอ่านให้ดีนะครับ ผมจะกล่าวตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ จะอธิบายเรื่องที่ละเอียด ประณีต แบบนี้ทั้งที ก็ต้องเป็นองค์ความรู้ของอัจฉริยะบุรุษคนนี้เท่านั้น
โดยย่อที่สุด คำตอบคือ “ไม่มีครับ”
1
อุปมาเหมือนกองไฟที่ลุกขึ้น ก็เพราะด้วย หญ้า ไม้ ฟืน
เมื่อไฟนี้ดับลง เพราะเหตุคือ หญ้า ไม้ ฟืน ดับไป ก็จะไม่สามารถบอกได้ว่าไฟนี้ดับไปทางซ้าย ขวา บน หรือล่าง
อุปมานี้เป็น ฉันใด อุปไมย ก็ฉันนั้น คือ ชีวิตนี้(ขันธ์ทั้ง 5) ย่อมมีขึ้นได้ ก็เพราะ อวิชชา( ตวามไม่รู้ในอริยสัจ 4) และ ตัณหา(ความทะยานอยาก) แต่เมื่อใด พระอรหันต์ กายแตกทำลายไป และดับ อวิชชา และ ตัณหาได้ ก็จะไม่สามารถบอกได้ว่า พระอรหันต์จะไปเกิดอีกที่ใด เพราะ ผิดตั้งแต่คำถามแล้ว ด้วยเหตุคือ แท้จริงไม่มีตัวตนที่แท้จริงใดๆเลย
4
ในธรรมชาติที่มีการเกิดปรากฎ และ ดับปรากฎนี้ เพราะเหตุดังกล่าว
ธรรมชาติทั้งปวงจึงเป็น “อนัตตา“
คือ มิใช่ตัวตน ต่างจาก ไม่มีตัวตน
ถ้ากล่าวว่า ดอกบัว นี้เป็นอัตตา(คือมีตัวตน)
จะถูกต้อง แค่ใน ปัจจุบัน แต่จะผิดในอนาคต และ อดีต
หรือถ้ากล่าวว่า ดอกบัวนี้ ไม่มีตัวตนอยู่เลย
จะถูกแค่ อดีต และ อนาคต แต่ผิดในปัจจุบัน
โดยที่แท้จริง ตถาคต แสดงธรรมไม่เข้าไปส่วนสุด 2 ฝั่ง
เพราะธรรมนั้นเป็น อนัตตา คือ มิใช่ตัวตน มีขึ้นอยู่ระยะนึง แล้วจึงเสื่อมสลายหายไป ไม่มีตัวตนใดเป็นตัวตนของจริงเลย ที่แท้ ทุกข์(สภาะทั้งปวงที่มีการปรุงประกอบ)เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
1
ราคะ นันทิ ตัณหา(ความอยาก และ ความพอใจทั้งปวง) ใดๆ มีอยู่ใน ธรรมชาติที่มีการเกิดดับได้ นี้เอง ตถาคตจึงเรียกว่าสัตว์ (ผู้ยึดติด) ผู้ยังยินดีในอาลัย(สิ่งที่ดับได้) และ อาลัยในยินดี
โดยที่แท้ตัวตนอย่างแท้จริงของเรามิได้มี เป็นแค่กลุ่มก้อนความอยากเท่านั้น
2
ถ้าจะเข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง จำเป็นต้องเข้าใจ อริยสัจ 4 , ไตรลักษณ์ และ ปฏิจจสมุปบาท แล้วความสงสัยนี้จะไม่มีเลยครับ
5 บันทึก
10
4
4
5
10
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย