13 มี.ค. 2024 เวลา 07:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ

กทม. ใช้หนี้ BTS 2.3 หมื่นล้าน แต่ยังเหลือหนี้ก้อนโตอีกเกือบ 1 แสนล้าน

เมื่อวานนี้ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่เอกสาร ข้อบัญญติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2567
ใจความสำคัญของตัวข้อบัญญัตินั้น ก็คือการที่ทางกรุงเทพมหานคร จะมีรายจ่ายพิเศษเพิ่มขึ้นมา นั่นก็คือ รายจ่ายที่จะต้องชำระหนี้สินกับทาง BTS เป็นจำนวน 23,488,692,200 บาท
โดยหนี้ในส่วนที่ กทม. กำลังจะจ่ายนั้น ก็น่าจะเป็นหนี้ในส่วนของ ระบบการเดินรถและเครื่องกล หรือ ระบบอาณัติสัญญาณ (E&M) ของรถไฟฟ้าสายสีเขียว
หลังจากที่ สภากรุงเทพมหานคร มีมติให้เห็นชอบ ให้นำเงินสะสมจ่ายขาดจำนวน 23,488,692,200 บาท ไปจ่ายหนี้ให้กับทาง BTS เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
1
หากมองอย่างผิวเผิน หลายคนอาจจะคิดว่า เรื่องราวทั้งหมดคงคลี่คลายแล้ว แต่จริง ๆ แล้ว หนี้สินที่กทม. ติดค้างไว้กับ BTS มีมากถึง 120,000 ล้านบาท
2
แล้วหนี้ก้อนนี้ มาจากไหน ?
หลังจากที่มีการเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีเขียวหมอชิต-อ่อนนุช รัฐบาลก็เริ่มมีแนวคิดที่จะสร้างส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้า
กินพื้นที่จังหวัดอื่นนอกกรุงเทพฯ เช่น ปทุมธานี และสมุทรปราการ ซึ่งอยู่นอกอำนาจการบริหารจัดการของกทม.
รัฐบาลในสมัยนั้น จึงให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นผู้รับผิดชอบส่วนต่อขยายนอกกรุงเทพฯ
2
แต่ทว่า ในปี 2558 คสช. มีมติให้ทางกทม. เป็นผู้รับผิดชอบการเดินรถทั้งเส้น เพื่อความสะดวกในการให้บริการ
ซึ่งตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ระหว่าง BTS กับ รฟม. ก็คือ รฟม. จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าก่อสร้าง และเป็นผู้รับรายได้ทั้งหมด แต่ต้องว่าจ้างให้ BTS เป็นผู้เดินรถ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กทม. ที่เข้ามารับไม้ต่อจาก รฟม. ก็ต้องรับผิดชอบหนี้สินแทน รฟม. มูลค่ารวมกันประมาณ 120,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น..
1
- ค่าก่อสร้าง ส่วนต่อขยาย 69,105 ล้านบาท
- ค่าระบบไฟฟ้า และเครื่องกล 20,248 ล้านบาท
- ค่าจ้างเดินรถ 9,377 ล้านบาท
- ประเมินขาดทุนเพิ่มเติม 30,000 ล้านบาท
1
แล้วการใช้หนี้ของ กทม. จะส่งผลยังไงต่องบการเงินของ BTS บ้าง ?
2
หนี้สินที่ กทม. จะชำระในข้างต้นนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่เงินต้นเท่านั้น แต่ยังรวมดอกเบี้ยเข้าไปด้วย
1
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะกระทบเป็นอันดับแรกก็คือ กำไรของบริษัท BTS จะดีขึ้น เนื่องจากมีดอกเบี้ยรับที่เพิ่มเข้ามา จากการใช้หนี้ของ กทม.
1
นอกจากนั้น เงินสดของบริษัทในส่วนของงบดุลก็จะเพิ่มขึ้น และยังทำให้กระแสเงินสดของบริษัท อาจจะกลับมาเป็นบวกได้ เนื่องด้วยมีเงินสดที่รับมาจาก ทั้งตัวเงินต้น และดอกเบี้ยจากการใช้หนี้
2
จากทั้งหมดนี้เอง ก็จะเห็นได้ว่า มหากาพย์เรื่อง BTS นั้น อาจจะยังไม่จบง่าย ๆ
ถึงอย่างนั้น ผู้ถือหุ้น BTS ก็อาจจะใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง จากผลประกอบการของบริษัท ที่อาจจะดีขึ้น
โดยภายหลังจากมีประกาศนี้ออกมา
ราคาหุ้นของ BTS ก็ปรับตัวขึ้นมาแล้ว 3.9%..
References
-เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา -https://thematter.co/social/quickbite-bkk-debt-on-bts-jan-2021/133492
2
โฆษณา