Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
OCEAN LIFE ไทยสมุทรประกันชีวิต
•
ติดตาม
13 มี.ค. 2024 เวลา 09:59 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เช็กลิสต์ 5 สิ่งที่ควรดู ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน
1. เช็กสัญญารีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม
เมื่อเราขอทำสินเชื่อบ้านกับธนาคารต่าง ๆ แต่ละแห่งจะกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักกำหนดไว้ที่ 3 ปี ซึ่งการรีไฟแนนซ์บ้านหลังครบกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน มักจะไม่เสียค่าเบี้ยปรับใด ๆ
หากรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน อาจต้องเสียค่าเบี้ยปรับจากการไถ่ถอนก่อนกำหนดกับธนาคารเดิม ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่ 3% ของยอดเงินคงค้าง ในกรณีที่ต้องการประหยัด จึงควรเช็กสัญญารีไฟแนนซ์บ้านฉบับปัจจุบันให้ถี่ถ้วนที่สุด แต่ถ้าคำนวณแล้วว่าอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้าน รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารแห่งใหม่นั้นคุ้มค่า เมื่อเทียบกับค่าธรรมเนียมที่ต้องเสีย ก็สามารถรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ โดยไม่ต้องรอจนสัญญาหมดอายุก็ได้
2. เช็กดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารทุกแห่ง
หลักสำคัญในการเลือกรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ คือ อัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อที่จะทำในอนาคต จะต้องต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลอดสินเชื่อของสัญญาฉบับปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยของธนาคารที่ต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน กำหนดให้ 3 ปีแรกอยู่ที่ MRR -4.36% ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปอยู่ที่ MRR -1.40% โดยมีอัตราดอกเบี้ยตลอดสัญญา 5.64% ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในสัญญาฉบับปัจจุบันที่กำหนดให้ 3 ปีแรกอยู่ที่ MRR -3.60% ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปอยู่ที่ MRR -1.40% โดยมีอัตราดอกเบี้ยตลอดสัญญา 5.95% เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า อาจกำหนดอายุสัญญาสั้นกว่าธนาคารที่เสนอดอกเบี้ยสูงกว่า ดังนั้น ค่าผ่อนบ้านโดยเฉลี่ยต่อเดือนอาจสูงกว่าก็ได้
3. เช็กค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้าน
เช่น ค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน ที่ต้องจ่ายให้ธนาคารใหม่, ค่าอากรแสตมป์, ค่าธรรมเนียมจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน, ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย เป็นต้น แม้อาจดูเป็นค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่พอรวมกันหลาย ๆ อย่าง ก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในเดือนนั้น ๆ ได้
4. เช็กเบี้ยประกันสินเชื่อบ้าน (MRTA)
หลายธนาคารมักมีข้อเสนอให้ผู้กู้ทำประกันสินเชื่อบ้านพร้อมกับการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยมักลดอัตราดอกเบี้ยช่วง 3 ปีแรกให้ เช่น หากรีไฟแนนซ์บ้านโดยไม่ทำประกันสินเชื่อบ้านกับธนาคาร อัตราดอกเบี้ย MRR จะอยู่ที่ -4.36% แต่หากทำประกันด้วย อัตราดอกเบี้ย MRR จะลดลงมาที่ -4.46% เป็นต้น
เบี้ยประกันสินเชื่อบ้านโดยส่วนใหญ่จะเป็นแบบชำระครั้งเดียว ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยจะขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ระยะเวลาคุ้มครอง และจำนวนเงินเอาประกันภัย ดังนั้น ก่อนทำประกันสินเชื่อบ้าน ควรเช็กค่าเบี้ยประกันสินเชื่อบ้านให้รอบคอบก่อน เนื่องจากเบี้ยประกันสินเชื่อบ้านที่ทำเองกับบริษัทประกันอาจต่ำกว่าที่ธนาคารใหม่เสนอ ซึ่งจะช่วยประหยัดได้
เช็กเบี้ยประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้านจาก OCEAN LIFE ไทยสมุทรได้ง่าย ๆ คลิก
เรียนรู้เพิ่มเติม
ocean.co.th
ประกันสินเชื่อ MRTA ประกันสินเชื่อบ้าน ทำเองได้ จ่ายเบี้ยถูก
ประกันสินเชื่อ MRTA ประกันสินเชื่อบ้าน คุ้มครองสินเชื่อบ้านของคนฉลาดเลือก วางแผนง่าย ทำเองได้ จ่ายเบี้ยถูก
5. เช็กวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์ที่ธนาคารเสนอพ่วงมาด้วย
ธนาคารหลายแห่งมักเสนอวงเงินกู้เพิ่มอเนกประสงค์พร้อมกับการรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งผู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบ ในกรณีที่ต้องการตกแต่งต่อเติมบ้าน การทำสินเชื่อเพิ่มนี้อาจมีประโยชน์ เพราะสามารถผ่อนชำระได้ ช่วยให้สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น แต่หากไม่ได้มีแผนการเป็นพิเศษ ก็ไม่จำเป็นต้องรับข้อเสนอของธนาคาร
จะเห็นได้ว่า การรีไฟแนนซ์บ้าน อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลาอยู่บ้าง แต่ถ้าทำอย่างละเอียดรอบคอบ จะช่วยให้ประหยัดเงินได้
1
การเงิน
การลงทุน
เศรษฐกิจ
2 บันทึก
3
6
2
3
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย