Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
14 มี.ค. 2024 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
สรุปเหตุการณ์ บริษัทเครื่องสำอางใหญ่สุดในเกาหลีใต้ มูลค่าหาย 80%
Etude, Sulwhasoo, Innisfree และ Laneige
คือแบรนด์เครื่องสำอางเกาหลี ที่คนไทยน่าจะรู้จักกัน
3
ทุกแบรนด์ที่พูดมา มีเจ้าของเดียวกันคือ Amorepacific บริษัทเครื่องสำอางใหญ่สุด ในเกาหลีใต้
รู้หรือไม่ว่า ในปี 2015 Amorepacific
เคยมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 913,800 ล้านบาท
แต่มาวันนี้ มูลค่าบริษัทกลับเหลือเพียง 185,600 ล้านบาท หรือหายไปเกือบ 80% ในระยะเวลา 9 ปี
2
เกิดอะไรขึ้นกับ บริษัทเครื่องสำอางใหญ่สุดในเกาหลีใต้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Amorepacific ก่อตั้งในปี 1945 โดยคุณซอซองฮวาน ที่เริ่มต้นจาก ธุรกิจน้ำมันใส่ผม สูตรดอกคาเมลเลีย ของคุณแม่
จนกระทั่งปี 1997 คุณซอซองฮวาน ได้ส่งต่อธุรกิจให้กับลูกชายคือ คุณซอคยองเบ หรือประธานบริษัทคนปัจจุบัน
จุดเด่นของ Amorepacific คือการเอาสารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องสำอาง จนทำให้หลายแบรนด์ในเครือโด่งดัง
หนึ่งในนั้นคือ Sulwhasoo แบรนด์ที่หลายคนน่าจะคุ้นตากัน ที่มี “โสม” เป็นส่วนผสมชูโรง
และในปี 2008 Amorepacific ได้ออกสินค้าใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาด และถือเป็นการปฏิวัติวงการเครื่องสำอางทั่วโลก
1
นั่นคือ “คุชชัน” ภายใต้แบรนด์ IOPE (ไอโอเป้)
โดยคุชชัน คือ ครีมรองพื้นในรูปแบบตลับ ที่มักจะมีทั้งกันแดดและครีมบำรุง จึงใช้สะดวก รวดเร็ว แถมยังพกพาง่ายกว่าครีมรองพื้นแบบขวด หรือกระปุก
2
คุชชันเลยได้รับความนิยมไปทั่วโลก จนทุกแบรนด์ต้องออกสินค้าประเภทนี้มาแข่งกันอย่างดุเดือด รวมถึงแบรนด์ Luxury ฝั่งตะวันตก ด้วยเช่นกัน
หลังจากนั้น Amorepacific ก็มีสินค้าฮิตอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินค้าออกใหม่ และสินค้าเดิมที่กลับมาฮิตอีกครั้ง
เช่น
- เซรั่ม First Care แบรนด์ Sulwhasoo
- เซรั่มชาเขียว แบรนด์ Innisfree
- สลีปปิงมาสก์ แบรนด์ Laneige
- ลิปทินต์ แบรนด์ Etude
3
เรียกได้ว่าเกือบทุกแบรนด์ภายใต้เครือ Amorepacific ต้องมีสินค้าฮิตอย่างน้อยหนึ่งตัว ที่คนใช้เครื่องสำอางต้องรู้จักกันอย่างแน่นอน
ทำให้แบรนด์ในเครือ Amorepacific ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในเกาหลีใต้ แต่รวมถึงตลาดต่างประเทศ อย่างกลุ่มอาเซียน และที่สำคัญก็คือ ประเทศจีน
เราลองมาดูผลประกอบการของ Amorepacific ในช่วงเวลานั้นกัน
1
ปี 2014
รายได้ 120,200 ล้านบาท กำไร 17,700 ล้านบาท
ปี 2015
รายได้ 147,200 ล้านบาท กำไร 24,000 ล้านบาท
ปี 2016
รายได้ 151,700 ล้านบาท กำไร 26,600 ล้านบาท
จะเห็นว่า ยอดขายและกำไรของบริษัทก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของบริษัทในปี 2016
3
เรื่องนี้ ก็ได้สะท้อนมายังมูลค่าบริษัทของ Amorepacific ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลายเท่าจากปี 2014 จนมูลค่าบริษัทแตะจุดสูงสุดที่ 913,800 ล้านบาท
3
และทำให้คุณซอคยองเบ ทายาทรุ่นที่ 2 และประธานบริษัท ขึ้นไปเป็นเศรษฐีอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ ในตอนนั้นเลยทีเดียว
2
แต่นับตั้งแต่วันนั้น
บริษัทก็ไม่เคยกลับไปจุดนั้นได้อีกเลย..
1
เพราะราคาหุ้นของบริษัท กลับค่อย ๆ ร่วงลง
แล้วเรื่องนี้เป็นเพราะอะไร ?
เรามาเริ่มจากผลประกอบการของ Amorepacific ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากันก่อน
ปี 2021
รายได้ 130,200 ล้านบาท กำไร 5,180 ล้านบาท
ปี 2022
รายได้ 110,000 ล้านบาท กำไร 3,600 ล้านบาท
ปี 2023
รายได้ 98,400 ล้านบาท กำไร 4,650 ล้านบาท
เห็นได้ว่า รายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนกำไรก็ไม่สม่ำเสมอ
1
ด้วยผลประกอบการที่ไม่โตเหมือนเดิม แถมถดถอย
จึงทำให้มูลค่าบริษัท ลดลงจนเหลือเพียง 185,600 ล้านบาท ในปัจจุบัน
สาเหตุหลักของเรื่องนี้คือ หนึ่งในลูกค้าสำคัญของบริษัทหายไป.. และนั่นคือ ชาวจีน
1
ซึ่งต้องบอกว่า รายได้ของบริษัท ลดลงทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1
โดยที่ผ่านมา สัดส่วนรายได้แบ่งตามภูมิภาคของ Amorepacific จะแบ่งออกเป็น
2
- รายได้ในประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 60%
- รายได้จากต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วน 40%
สำหรับในประเทศ รายได้ที่ลดลงมาจากทั้งยอดขายออนไลน์ รวมไปถึงยอดขายของร้านดิวตี้ฟรี ซึ่งก็คือรายได้จากนักท่องเที่ยวนั่นเอง
2
ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า รายได้อาจจะกลับมา ถ้านักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากประเทศจีน กลับมาเที่ยวเหมือนเดิม
2
ทีนี้ลองมาดูฝั่งของรายได้จากต่างประเทศ
1
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ ว่ารายได้ในส่วนนี้ ก็ลดลงเช่นเดียวกัน
2
โดยหลัก ๆ แล้ว รายได้ที่ลดลงเกิดจาก ยอดขายในประเทศจีนที่ลดลงเป็นอย่างมาก
1
ช่วงที่ผ่านมา Amorepacific เลยต้องทยอยปิดเคาน์เตอร์หลายแบรนด์ เช่น Innisfree, Etude และ IOPE หรือก็คือแบรนด์ที่เคยฮิตอย่างมากในจีน
อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับ Amorepacific คู่แข่งสำคัญที่มีฐานลูกค้าเดียวกันอย่าง LG H&H เจ้าของแบรนด์ The History of Whoo ก็มียอดขายในจีนลดลง เช่นเดียวกัน
1
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า เครื่องสำอางเกาหลี เคยเป็นที่นิยมในประเทศจีนมากช่วงหนึ่ง จากเทรนด์เกาหลีที่บูมมาก ทั้ง K-Pop และซีรีส์
แต่ตอนนี้ เทรนด์เครื่องสำอางเกาหลีในจีน ไม่ได้เป็นที่นิยมเท่าแต่ก่อนแล้ว
2
ซึ่งถ้าเราไปดูยอดนำเข้าเครื่องสำอางของประเทศจีน
ปี 2018
อันดับ 1 เกาหลีใต้ 93,600 ล้านบาท
อันดับ 2 ญี่ปุ่น 90,200 ล้านบาท
อันดับ 3 ฝรั่งเศส 79,300 ล้านบาท
2
ปี 2022
อันดับ 1 ฝรั่งเศส 179,300 ล้านบาท
อันดับ 2 ญี่ปุ่น 167,400 ล้านบาท
อันดับ 3 เกาหลีใต้ 89,700 ล้านบาท
2
จะเห็นว่า ยอดนำเข้าจากเกาหลีใต้ลดลง
ในขณะที่ยอดนำเข้าจากฝรั่งเศส และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมาก
2
ซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะ เมื่อชาวจีนมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงโหยหาสินค้าและเครื่องสำอางหรูมากขึ้น
2
นอกจากการแข่งขันจากแบรนด์ต่างประเทศแล้ว แบรนด์เครื่องสำอางท้องถิ่นของจีนเอง ก็แข็งแกร่งขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน
ตรงนี้ทาง Amorepacific ก็รู้ดีว่าความนิยมของเครื่องสำอางเกาหลี กำลังลดลงอย่างมากในจีน
บริษัทเลยต้องไปโฟกัสที่ตลาดอื่นแทน ทั้งญี่ปุ่น, ยุโรป, ตะวันออกกลาง รวมถึงอาเซียน ที่ยอดขายโตหมด
โดยเฉพาะญี่ปุ่น ที่เครื่องสำอางเกาหลีได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
จนในปี 2022 เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ญี่ปุ่น นำเข้าเครื่องสำอางมากที่สุด แซงหน้าฝรั่งเศส เลยทีเดียว
1
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า การแก้เกมของ Amorepacific ในครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จมากแค่ไหน
1
และตลาดในประเทศอื่น ๆ ที่เข้าไปรุกมาได้ จะสามารถทดแทนยอดขายจากชาวจีนที่เสียไป ได้หรือไม่
แต่ไม่ว่าอย่างไร Amorepacific ก็คงต้องดิ้นรน เพื่อตื่นจากฝันร้าย ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้มูลค่าบริษัทหายไปกว่า 80% ให้ได้..
4
References
-
https://www.apgroup.com/int/en/about-us/amorepacific/our-history/our-history.html
-
https://finance.yahoo.com/quote/090430.KS/financials
-
https://companiesmarketcap.com/amorepacific/marketcap/
1
-
https://www.pharmnews.com/news/articleView.html?idxno=233124
-
https://fashion.sina.cn/b/sk/2023-01-25/detail-imyatkxm0948339.d.html
-
https://www.sohu.com/a/675234967_121345914
-
https://japannews.yomiuri.co.jp/society/general-news/20230816-129727/
-
https://www.guancha.cn/internation/2023_04_02_686646.shtml
ธุรกิจ
64 บันทึก
130
2
113
64
130
2
113
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย