13 มี.ค. 2024 เวลา 13:06 • ความคิดเห็น
ผมดีใจที่ได้ยินคำถามนี้ที่ไม่ได้มาจากตัวผมเอง หมายความว่า ผมเองก็ถามตัวเองแบบนี้เหมือนกันนั่นแหละครับ และดูเหมือนคำตอบแบบเป็นทางการ หรือแบบฉบับนั้นดูจะมีผู้คนตอบไปแล้วตั้งมากมาย ฉะนั้นผมขอตอบคำถามนี้ในแบบเฉพาะ คือ ฌแพาะที่ผมมีคำตอบให้กับ "ตัวเอง" ก็แล้วกันนะครับ
คำถามนี้ตอบไม่ง่ายครับ และหากตอบไม่ดีจะทำให้เกิดปัญหา และควรเข้าใจด้วยว่านี่เป็นปัญหาเชิงปรัชญา หมายความว่า เราไม่สามารถตอบมันได้แบบ "1+1 เท่ากับเท่าไหร่?" หรือ แบบ "การไถนาต้องทำอย่างไร?" แบบนั้น แต่ก่อนที่จะตอบปัญหาผมขออธิบาย "ปัญหา" ที่จะตามมาจากการตอบไม่ดีเสียก่อน คือ
ปัญหาที่ถามนั้น ที่สุดแล้วจะได้คำตอบแค่ 3 ทาง คือ 1) ตัวตนมีอยู่ 2) ตัวตนไม่มีอยู่ และ 3) ไม่ตอบ หรือ ไม่รู้ หรือตอบว่า ทั้งมีก็ใช่ไม่มีก็ใช่ หรือทั้งไม่มีก็ไม่ใช่ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่ เหล่านี้แหละ ปัญหาที่ตามมาก็คือ คุณคิดว่าในบรรดา 3 ทางของคำตอบนี้พุทธศาสนาตอบแบบไหน? แน่นอน บางทีคุณอาจเคยได้ยินว่าพุทธศาสนาถือว่าคำตอบทั้ง 3 ทางนี้ถือเป็น "มิจฉาทิฐิ" ด้วยกันทั้งหมด (ทิฐิทั้ง 6 นั่นแหละ)
ดังนั้นแสดงว่าพุทธศาสนามีทางออกที่ 4 อย่างนั้นหรือเปล่า? เท่าที่ผมศึกษามาก็คือไม่ใช่! พุทธศาสนาเองก็ตอบอยู่ภายใน 3 ทางนั่นแหละ สำคัญมันอยู่ที่ตอบยังไงถึงจะไม่เป็นมิจฉาทิฐิ?
หากตอบว่าตัวเรามีอยู่ ก็จะทำให้เกิดความยึดมั่นในความมีตัวตน ซึ่งรากของมันก้จะนำไปสู่ความเชื่อเรื่องพระเจ้าอย่างไม่มีทางปฏิเสธ หากตอบว่าตัวเราไม่มี ก็จะทำให้เกิดความยึดมั่นในความไม่มีตัวตน ซึ่งรากของมันก็จะนำไปสู่ความเชื่อที่ว่าอะไร ๆ ก็ไม่มี ทั้งบาปบุญคุณโทษ และอื่น ๆ เหล่านี้ล้วนไม่มีอย่างไม่มีทางปฏิเสธ หรือหากไม่ตอบก็มีเพียงความหมายเดียวว่าคือไม่รู้! ปัญหาของการตอบคำถามนี้ไม่ดีก็จะตกอยู่ในข่ายเหล่านี้นั่นแหละ
แล้วศาสนาพุทธ(แบบที่ผมนับถือและเข้าใจ ซึ่งขอบอกเลยว่า "ไม่ใช่" วิทยาศาสตร์ และไม่ได้อยากจะเป็นเลยด้วย เพราะคำตอบ(ของปัญหาเรื่องตัวตน)ของวิทยาศาสตร์จะนำไปสู่มิฉาทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง)ตอบปัญหานี้ยังไง? ตอบยังไงมันถึงจะไม่เป็นมิจฉาทิฐิ?
แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนั้นอีก ต้องตอบให้ได้อีกก่อนว่า "แล้วทำไมเราถึงไม่อยากได้คำตอบที่นำไปสู่มิจฉาทิฐิ?" เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ให้ได้ จำเป็นต้องตอบอีกคำถามให้ได้ก่อนอีกว่า "อะไรคือหัวใจ/พื้นฐาน/เป้าหมายสำคัญสูงสุดของศาสนาพุทธ?" คำตอบนี้ง่ายมาก คือการ "พ้นทุกข์" อะไรที่พ้นจากนี้เป็นเพียงเรื่องจิปาถะ(แต่จะดูเบา "ธรรมะจิปาถะ" เหล่านี้ไม่ได้เลยทีเดียว) นั่นหมายความว่า คำตอบสำหรับปัญหาที่อยู่ก่อนหน้านั้นก็คือ "เพราะมิจฉาทิฐิทำใหเกิดทุกข์" นั่นเอง
ทีนี้กลับไปสู่ปัญหาว่าเราจะตอบคำถามเรื่องตัวตนยังไงไม่ให้เป็นมิจฉาทิฐิ? คำตอบนั้นก็ง่ายมากอีกเช่นกัน เมื่อไหร่ที่คุณถามตัวคุณว่าคุณคือไหร่ ก็ขอให้ตอบว่า "คุณก็คุณ ใครให้กำเนิดคุณ ท่านเหล่านั้นก็คือพ่อแม่คุณนั่นแหละ คุณเกิดแห่งหนตำบลไหน คนอื่นเรื่อกชื่อคุณว่าอย่างไร ประกอบการงานอะไร คุณก็คือนั้นนั่นแหละ เพียงแค่คุณไม่ยึดถือในความเป็นตัวคุณ ในความเป็นของ ๆ คุณ" ก็เท่านั้น (ปัญหามันอยู่ตรงความไม่ยึดถือ(ภาษาพระ สิ่งนี้ก็คือ "สังโยชน์ ๆ" นั่นแหละ
อย่าท่องว่า สังโยชน์คืออะไรมีอะไรบ้าง ขอให้จงเข้าใจว่า สังโยชน์ คือ สิ่งที่ "ผูก" เรากับสิ่งที่ทำให้เรานั้นเป็นทุกข์ก็เท่านั้นแหละ)) ฉะนั้นแล้ว การ "ตัด" ความยึดถือนั่นแหละยาก และเป็นสาระ กล่าวคือ สาระของศาสนานี้อยู่ที่ว่าเราจะตัดเราจากความยึดถือในความเป็นเราได้อย่างไร? ไม่ใช่อยู่ที่ว่าเราคืออะไร?
แต่เห็นไหมล่ะว่า เมื่อตอบมาจนถึงจุดนี้แล้วต่อคำถามที่ว่า "เราคืออะไร?" "เกิดมาทำไม?" หรืออะไรเทือกนี้ก็ยังไม่ได้ตอบ แต่ก็ไม่ใช่ว่ายังไม่ได้ตอบ....
เอาล่ะครับเอาล่ะ ความหมายที่ผมอยากให้คุณเข้าใจ(ในสิ่งที่ผมสื่อ)เมื่ออ่านมาจนหมดทุกย่อหน้าแล้วก็คือ คำถามที่ว่า "เราคือใคร?/เราคืออะไร?" ในพุทธศาสนานั้น สำหรับความเข้าใจความหมายของศาสนาในระดับหนึ่งแล้ว คำถามนี้เป็นคำถามที่ไม่ควร! และที่ไม่ควรถามก็ไม่ใช่เพราะถามไม่ได้ แต่ที่ไม่ควรถามเพราะ "ผู้ถาม" ควรที่จะ "ตระหนักรู้" ตัวเองอยู่แล้วในระดับหนึ่งว่า "ตัวเอง" นั้นคืออะไร(ไม่เช่นนั้นก็ไปต่อลำบาก)
1
หมายความว่า เมื่อคุณถามคำถามนี้กับตัวเอง คุณก็ควรตระหนักรู้อยู่แล้วว่า "ตัวคุณเอง" คือผู้ถามคำถาม และไม่ว่าคุณจะได้คำตอบแบบไหน ความจริงเชิงประจักษ์ (ซึ่งคุณเองเป็นผู้ประจักษ์)ที่ว่า "ตัวคุณเอง" เป็นผู้ได้คำตอบแบบนั้นก็ยังดำรงอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นแหละ คำถามนี้จึงเป็นคำถามที่ไม่ควรถาม (เพราะก็รู้เองอยู่แล้ว) เพราะเมื่อถามแล้วจะได้คำตอบที่ฟุ้งซ่าน เพราะเมื่อได้คำตอบที่ฟุ้งซ่านก็มีทุกข์เป็นที่สิ้นสุด
1
ดังนั้น สุดท้าย หากถามว่า "ตัวเราคืออะไร?" หากให้ตอบแบบสั้น ๆ ในแนวของพุทธศาสนา(แบบที่ผมนับถือและเข้าใจ)ก็ต้องตอบแบบที่คุณเลม่อนได้ตอบแล้วนั่นแหละครับว่า "ตัวเราคือพุทธะ(ผู้รู้)!" อา... คุณคิดว่าเขาพูดเล่นเหรอ... ก็อาจจริง แต่เขาพูดถูก! 🤣
1
โฆษณา