“นิสิตต้องดูดมาตรวจเองนะอาจารย์ไม่ทำให้ 555 ให้เป่าก่อน 1 รอบแล้วค่อยเริ่มดูด สุดท้ายระวังเข้าปากด้วยนะครับ…”
อาจารย์บอกว่าวัวที่เลือกมาให้ฝึกสำหรับน้องหมอสัตวแพทย์เป็น doner สำหรับนำ rumen contents ให้กับวัวป่วย ดังนั้นเหล่าน้องวัวที่ได้มาใช้ฝึกเลยได้กินดีอยู่ดีแบบสุด ๆ ✨ จุลินทรีย์ในกระเพาะเลยอุดมสมบูรณ์อย่างที่เห็นแบบนี้เลย
- - - - - - -
เป็นที่รู้กันดีว่า “วัวคือสัตว์ 4 กระเพาะ” และกระเพาะที่ใหญ่ที่สุดก็คือ Rumen (กระเพาะหมัก) นึกภาพเหมือนโรงงานขนาดใหญ่ที่ทำงานตลอดเวลา ภายในจะมีจุลินทรีย์เป็นพนักงานค่อยช่วยหมักย่อยอาหารที่สัตว์เคี้ยวเอื้องทานเข้ามา ผลลัพธ์คือจะได้สารอาหาร (ผลิตภัณฑ์) ส่งกลับไปให้เจ้าของโรงงาน
📍โดยส่วนใหญ่จุลินทรีย์ 2 กลุ่มที่มีมากใน rumen คือ bacteria และ ciliated protozoa บางครั้งก็พบเชื้อราอยู่ด้วย
🟡 การดูดน้ำจาก Rumen มาตรวจจึงมีความสำคัญในด้านการประเมินว่าโรงงานนี้ยังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่
▪️ การตรวจภาวะกรด-เบสในกระเพาะ
▪️ ตรวจอาหารที่ทานเข้าไป
▪️ มีจุลินทรีย์แบบใดอาศัยอยู่ และมีความหนาแน่นมากแค่ไหน เป็นต้น
🟡 ในกรณีที่โรงงานมีความผิดปกติ เช่น วัตถุดิบที่ทานเข้ามามีความเป็นพิษ กินขยะเน่าเสีย ทำให้จุลินทรีย์ชนิดไม่ดีเจริญมากเกินไปส่งผลให้การหมักย่อยแย่ลง
เคสที่มีความรุนแรงอาจจำเป็นต้องล้างท้องแล้วนำของหมักย่อยที่อยู่ในกระเพาะของวัวอีกตัวใส่เข้าไปแทนที่ (Rumen transfaunation)
ซึ่งในหลาย ๆ ครั้ง ถ้าแก้ไขไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาได้เลย ดังนั้นแม้ว่าเป็นวิธีที่ดูจะต้องขืนใจน้องวัวไม่น้อย แต่มีความจำเป็นในด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษานะคะ ❤️
- - - - - - -
เพื่อนในคลิป: “สูดเต็มปอด ลมแทบจับ” แต่ก็ชอบนะ 555 #ใครเลือกวัวขาว
🌱 จบไปแล้วกับสาระความรู้ในวันนี้ก็ขอฝากกด Like กด Share และกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องหมอนะคะ 😘