Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์นอกกระแส และ ความเชื่อ
•
ติดตาม
19 มี.ค. 2024 เวลา 14:55 • ประวัติศาสตร์
2475 อภิวัติสยาม คณะราษฎร
โพสนี้ผมเขียนขึ้นหลังจากที่ได้ชม อนิเมชั่น2475 แล้วผมมีความรู้สึกว่า ที่ผมศึกษาหรือหาข้อมูลกับเรื่องนี้มา
เป็นเหมือนการพูดถึงไม่หมด ผมจึงเขียนโพสนี้ขึ้นเป็นการเล่าเรื่องของตัวผมเอง จะไม่มีการยกเอกสารมาอ้างอิงแบบโพสก่อนแต่จะให้ผู้ที่อ่านโพสนี้ คิด วิเคราะห์ และหาข้อมูลต่อเองหรือจะคอมเมนก็ได้
เหตุการณ์ยึดอำนาจ บทที่1
24มิถุนายน2475
เริ่มจากคณะราษฏรฝ่ายพลเรือน นำโดย ควง อภัยวงศ์ นำกำลังเข้าไปตัดสัญญาณสายโทรศัพท์และการสื่อสารเพื่อสกัดกั้นการสื่อสารจากอำนาจเดิม ส่วนคณะราษฏรฝ่ายทหารบก นำโดย พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม), พันเอกพระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน), พันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) และกลุ่มผู้ก่อการคนอื่นๆ เคลื่อนกำลังไปยังกรมทหารม้าที่ 1 เพื่อควบคุมยานยนต์หุ้มเกราะและกำลังทหารส่วนหนึ่งไว้ในมือ
เหตุการณยึดอำนาจ บทที่2
กำลังพลเคลื่อนที่มาถึงหน้าประตูกรมทหารม้า ปรากฏว่าไม่มีการสู้รบใดๆ เกิดขึ้น เนื่องจากทหารส่วนใหญ่ล้วนเคยเป็นลูกศิษย์ของพันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ และเข้าใจว่าเดินทางมาตรวจกองรบจึงเปิดประตูให้โดยง่าย ทำให้กลุ่มผู้ก่อการรีบดำเนินการควบคุมผู้บังคับกรมและนำรถหุ้มเกราะพร้อมทหารบกเคลื่อนกำลังไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม ระหว่างทางมีกำลังพลจากทหารปืนใหญ่และทหารช่างเข้ามาร่วมด้วย
เนื่องจากกลุ่มผู้ก่อการได้ออกคำสั่งลวงว่าจะทำการซ้อมรบใหญ่ จึงไม่มีฝ่ายใดเคลือบแคลงใจและพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งทันที เมื่อถึงที่หมายปรากฏว่ามีทหารเรือพร้อมอาวุธครบมือและกลุ่มทหารบกจากกองกำลังต่างๆ ได้มารวมตัวกันมากกว่า 2,000 นาย โดยทหารหลายฝ่ายที่มารวมตัวนั้นยังไม่ทราบว่านายทหารยศใหญ่ที่เป็นผู้คุมกำลังตนเองมากำลังจะทำการปฏิวัติ
เวลาประมาณ 6 โมงเช้า พระยาพหลพลพยุหเสนาจึงอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และในปี 2479 จึงมีการทำพิธีวางหมุดคณะราษฎร ตรงจุดเดียวกับที่พระยาพหลฯ อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1
แต่การยึดเพียงกองกำลังไม่ได้เป็นการรับประกันว่าการอภิวัฒน์สยามจะสำเร็จลุล่วง จึงมีการกระจายกองกำลังที่อยู่ภายนอกพระที่นั่งอนันตสมาคมไปยึดสถานที่ราชการสำคัญต่างๆ เช่น หัวลำโพง การประปา การไฟฟ้า และเชิญพระบรมวงศานุวงศ์คนสำคัญมาเป็นตัวประกัน โดยหวังว่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพะวักพะวงห่วงใยพระบรมวงศานุวงศ์จนยินยอมทำตามกลุ่มผู้ก่อการโดยง่าย
ครั้งนั้นมีการเชิญบุคคลสำคัญและพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่หลายท่าน เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และหนึ่งในบุคคลสำคัญที่จำเป็นต้องควบคุมตัวให้ได้ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่และผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ‘ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
เหตุการณ์ยึดอำนาจ บทที่3
มีเพียงกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินที่ทรงระแคะระคายการปฏิบัติการของกลุ่มผู้ก่อการ และทรงหลบหนีไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชวังไกลกังวล
ทางด้าน หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งอาศัยอยู่ในเรือบริเวณคลองบางลำพู มาพร้อมกับใบปลิว ‘คำประกาศคณะราษฎร’ ที่แอบพิมพ์ที่โรงพิมพ์นิติสาส์น ตั้งใจว่าหากการอภิวัฒน์สยามสำเร็จจะนำใบปลิวเหล่านี้แจกทันที แต่หากไม่สำเร็จจะนำใบปลิวทั้งหมดทิ้งลงน้ำ แต่สุดท้ายการอภิวัฒน์สยามเป็นไปอย่างสำเร็จ จึงมีการแจกจ่ายใบแถลงการณ์คำประกาศคณะราษฎรออกสู่สาธารณชนทันที
โดยในคำประกาศดังกล่าวมีใจความสำคัญ คือการประกาศนโยบายหลัก 6 ประการที่สำคัญของคณะราษฏร
1. ความเป็นเอกราช
2. ความปลอดภัยในประเทศ
3. ความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
4. สิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
5. เสรีภาพ มีความเป็นอิสระ
6. ต้องมีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การอภิวัฒน์สยามประสบผลสำเร็จทั้งโดยพฤตินัยและนิตินัย คณะราษฎรจึงทำหนังสือขึ้นกราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติกลับสู่พระนคร เพื่อดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ที่คณะราษฎรจะจัดร่างขึ้นในลำดับต่อไป
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารของคณะราษฎร ก่อนเสด็จจากวังไกลกังวลกลับพระนครโดยขบวนรถไฟพิเศษ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย