19 มี.ค. 2024 เวลา 03:00 • ธุรกิจ

สรุปต้นตอ สินค้าจีน ทุ่มตลาด ตัดราคาสินค้าไทย

ลองนึกภาพว่าถ้าเราเป็นแม่ค้าที่รับของจากร้านขายส่งมาขายเพื่อทำกำไร
แต่วันดีคืนดี.. ร้านขายส่งที่เรารับสินค้าของเขามาขาย กลับเอาสินค้าแบบเดียวกันเป๊ะ ๆ มาตั้งขายข้างร้านเรา
4
แถมยังขายในราคาที่ถูกกว่ากันเกือบครึ่งหนึ่งจนลูกค้าหาย.. ส่วนเราเองก็ลดราคาขายไม่ได้เพราะกินทุน
2
คำถามคือ ถ้าเป็นเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?
นี่คือสิ่งที่คนขายของออนไลน์ โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์ม E-commerce อย่าง Shopee, Lazada กำลังเผชิญอยู่
2
เพราะร้านค้าส่งที่ว่าร้านนั้นคือ “ร้านจีน” ที่ในช่วงหลัง ๆ มีการมาเปิดหน้าร้านขายสินค้ากันอย่างจริงจังบนช่องทาง E-commerce
แถมยังมาเสนอขายสินค้าทั้งเสื้อผ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอีกหลายอย่างในราคาถูกแสนถูก และค่าส่งก็ไม่แพง
แล้วทำไมสินค้าจากจีนถึงสามารถทำแบบนี้ได้ ต้นตอมันคืออะไร ?
1
ประเด็นที่ 1 : ต้นทุนการผลิตของจีนถูกมาก เพราะผลิตเยอะจนเกิดการประหยัดต่อขนาด
1
ต้องบอกว่าที่จีนสามารถขายสินค้าหลายอย่างได้ถูกขนาดนี้
เป็นเพราะว่าจีนมีประชากรมากถึง 1,425 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินเดีย
ส่วนค่าแรงก็ยังไม่สูงมาก แถมยังมี Know-how และเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้า
4
จากที่ว่ามาทำให้จีนเป็นประเทศที่มีทั้งกำลังการผลิต และความต้องการซื้อมหาศาลในตัวเองอยู่แล้ว
ทำให้จีนสามารถผลิตสินค้ามาทีละเยอะ ๆ เพื่อให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้นถูกลง หรือที่เรียกว่า เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
2
และขายของได้ในราคาที่ถูกมาก ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยเอง ก็นิยมรับของจากจีนมาขาย
1
ประเด็นที่ 2 : ค่าขนส่ง “จากจีนมาไทย” ถูกกว่า “ไทยไปจีน”
คำตอบของเรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปช่วงปี 2512 หรือเมื่อ 55 ปีที่แล้ว
1
ไทยได้มีการทำข้อตกลงไว้กับองค์การที่ชื่อว่า Universal Postal Union (UPU)
องค์การระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง ที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการขนส่งให้ประเทศที่เป็นสมาชิก
1
ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่ไทยเซ็นไว้กับองค์การนี้ก็คือ “ประเทศที่เจริญกว่า
จะต้องรับผิดชอบค่าขนส่งให้กับประเทศที่ด้อยกว่า เป็นจำนวน 70%”
2
โดยคำว่า “เจริญกว่า” ก็วัดจาก เศรษฐกิจ, โครงสร้างพื้นฐาน อย่างน้ำประปา รถไฟ
หรือจะเป็นโทรศัพท์ ที่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ไทยเหนือกว่าจีนมาก
8
สังเกตได้จากรหัสโทรศัพท์ประจำประเทศ ที่ไทยคือรหัส +66 ส่วนของจีนคือรหัส +86
หมายความว่า จีนมีรหัสโทรศัพท์ตามหลังไทยถึง 20 รุ่น
13
จากข้อตกลงที่ว่าทำให้ไทยต้องเป็นคนเสียต้นทุนการขนส่งกว่า 70% ให้จีนมาโดยตลอด แม้ว่าสินค้าจะส่งมาจากจีนก็ตาม
6
ซึ่งเรื่องนี้ คุณตฤณ วุ่นกลิ่นหอม นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย ก็เคยได้บอกไว้ว่า ไทยเองก็สามารถแก้ช่องโหว่ตรงนี้ได้ไม่ยาก
1
เพียงแต่ทางการไทยต้องเริ่มจากการยอมรับว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าจีน และหาวิธีทบทวนแก้ไขข้อตกลงนี้ใหม่อย่างจริงจัง
11
ประเด็นที่ 3 : เรื่องของ “ภาษี”
ไทยได้มีการทำ FTA (Free Trade Area) หรือเขตการค้าเสรีกับจีนเอาไว้มาตั้งแต่ปี 2546
2
เขตการค้าเสรี อธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือ ข้อตกลงร่วมกันของ 2 ประเทศ
ที่ว่าจะทำให้สินค้าหลายอย่าง มีการจัดเก็บอัตราภาษีเป็น 0 หรือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
1
ซึ่งสินค้าที่ว่า ก็คือสินค้าที่ทางการมองว่าตัวเองผลิตไม่เก่ง หรือไม่คุ้มที่จะผลิตเอง ดังนั้นจึงเลือกนำเข้ามาจะเกิดประโยชน์มากกว่า
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ก็เช่น ถ้าไทยมองว่าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเองไม่เก่ง
ก็ยกเว้นภาษีจากประเทศที่ผลิตเก่งอย่างจีน ให้เหลือ 0% จะคุ้มค่ามากกว่า
3
จากที่ว่ามาทำให้สินค้าหลายอย่างจากจีนได้รับประโยชน์จาก
ข้อตกลงดังกล่าว และสามารถขายในราคาที่ต่ำกว่าคนไทยที่รับของจากจีนมาขายอีกทีได้
1
นอกจากนี้ ตอนนี้ไทยยังมีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท
1
ก็ยิ่งทำให้สินค้าจากจีนที่ส่วนใหญ่แล้วเน้นขายของถูก
และมีราคาต่อชิ้นไม่เกิน 1,500 บาทอยู่แล้ว ได้เปรียบเรื่องของต้นทุนมากขึ้นไปอีก..
2
น่าสนใจว่าในช่วงแรก ๆ ที่สินค้าจากจีนเริ่มเข้ามาตีตลาดในไทย จะมีข้อเสียคือ มีระยะเวลาการขนส่งที่นาน
ทำให้พ่อค้าแม่ค้าชาวไทยยังพอมีความได้เปรียบในจุดนี้อยู่
1
แต่ในช่วงหลัง ๆ ร้านค้าของจีนเองก็แก้เกม ด้วยการเปลี่ยนวิธีการขนส่งสินค้า
แทนที่จะส่งจากประเทศต้นทางเอง ก็เปลี่ยนมาเป็นสั่งสินค้าที่วิเคราะห์ไว้แล้วว่ามีความต้องการสูง
มาสต็อกไว้ที่โกดังในไทยไว้ก่อน พอมีคนสั่งก็ค่อยเอาไปส่ง
2
ทำให้ตอนนี้จะสั่งของจากคนไทยหรือคนจีน ก็มีระยะเวลาขนส่งแทบจะเท่ากัน
ต่างกันแค่สินค้าจากจีน จะถูกกว่าหลายเท่า..
1
อ่านมาถึงตรงนี้ สรุปก็คือที่สินค้าจากจีนสามารถ
ตัดราคาขายคนไทยได้ มีอยู่หลัก ๆ 3 สาเหตุ
1. ต้นทุนการผลิตของจีนถูกเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
2. ค่าขนส่งถูกมาก จากข้อตกลงที่ทำไว้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว
3. แทบจะไม่เสียภาษี จากข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA)
5
ทีนี้แล้วการตัดราคาแบบนี้ จะไปจบที่ตรงไหน ?
1
ถ้าอ้างอิงตามตำรา.. การขายตัดราคากันแบบนี้ ดูดี ๆ มันก็คล้ายกับการ “ทุ่มตลาด” อยู่เหมือนกัน
โดยคำว่า “ทุ่มตลาด” (Market Dumping)
คือการที่ผู้ขายรายหนึ่ง นำสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า “ทุน” ของคู่แข่งเข้ามาขาย
1
โดยมีจุดประสงค์คือ การกำจัดคู่แข่งรายอื่น ๆ ในตลาดนั้น
และที่น่ากลัวคือ ส่วนใหญ่แล้วคนที่ใช้กลยุทธ์ทุ่มตลาดสำเร็จ จนคู่แข่งเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ หรือไม่เหลือเลย
2
คนคนนั้นจะมีอำนาจในการควบคุมราคาและคุณภาพของสินค้า ในตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จ
ซึ่งลูกค้าจะไม่มีสิทธิ์เลือกเลย เพราะมีผู้เล่นในตลาดอยู่ไม่กี่รายนั่นเอง..
โฆษณา