ขณะที่แรงกดดันต่อการปรับขึ้นของราคาสินค้าได้ทยอยผ่อนลง ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้ BOJ มองว่าการบรรลุเป้าหมายของ Price Stability นั้นบรรลุอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดี BOJ ยังคงมีมุมมองเชิงบวกอย่างระมัดระวังต่อพัฒนาการของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยยังคงส่งสัญญาณว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไปอีกระยะ (accommodative financial conditions will be maintained for the time being)
แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนในการสื่อสารทิศทางการดำเนินนโยบายการเงิน (forward guidance) ที่เคยระบุว่า BOJ จะไม่ลังเลที่จะพิจารณาดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมออกไป นอกจากนี้ BOJ ระบุว่าในกรณีที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นอย่างฉลับพลัน BOJ สามารถที่จะมีความยืดหยุ่น (Nimble) ในการปรับขนาดการซื้อ JGB ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ตลอดจน เน้นย้ำว่านโยบายการเงินผ่อนคลายจะยังคงอยู่อีกระยะ
- ทั้งนี้ ตลาดตอบรับกับการประชุม BOJ ในทิศทางค่อนข้างบวก โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นกลับมาเคลื่อนไหวในโซนบวก โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มการเงินที่จะได้รับผลประโยชน์จากการฝากสภาพคล่องไว้กับ BOJ ขณะที่ค่าเงินเยนแกว่งตัวแถว 150 เยนต่อดอลลาร์ฯ โดยส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ฯ ที่ตลาดมองว่ามีโอกาสที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่ตลาดเคยมองไว้ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีอยู่ที่ 0.735%
เรามองว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของ BOJ ในรอบนี้ น่าจะนำมาสู่ความชัดเจนต่อเส้นทางของการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินที่เป็นปกติมากขึ้น และมองว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการดำเนินอย่างระมัดระวังและค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ การที่ BOJ ได้มีการปรับลดคาดการณ์ GDP รวมทั้ง ความเห็นของคณะกรรมการส่วนน้อยที่ยังคงมองว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในรอบนี้เร็วเกินไป
คงบ่งชี้ว่าจังหวะของการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพิ่มเติม อาจจะทิ้งห่างอีกระยะเพื่อให้ BOJ จะประเมินผลกระทบของการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในรอบนี้อย่างถี่ถ้วน โดยภายใต้ความแตกต่างของการดำเนินนโยบายการเงินระหว่าง BOJ กับธนาคารกลางขนาดใหญ่
อาทิ FED และ ECB ที่ยังคงมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตลอดจน การที่ BOJ ยังคงมาตรการการซื้อ JGB คงจะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ผลของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของ BOJ ต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอาจจะยังจำกัดอยู่