20 มี.ค. 2024 เวลา 14:33 • ข่าวรอบโลก

ทำ IF เสี่ยงตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่ม 91% : ถอดการศึกษาจาก AHA

ทำเอาชาว IF ร้อนๆหนาวๆไปตามกัน(รวมถึงคนพิมพ์ด้วย) เมื่อ AHA รายงานผลวิจัยที่ยังไม่ตีพิมพ์ลง press release ว่า คนทำ IF มีโอกาสตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มขึ้นถึง 91%
5
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักการทำ IF ต้องขออธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า การทำ IF หรือ Intermittent Fasting เป็นเทรนด์การลดน้ำหนักอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมมากในวงการคนรักสุขภาพ โดยเน้นแบ่งเวลาการกินอาหารและอดอาหารเป็นระยะๆ โดยมีหลายสูตร ทั้ง อด 14 กิน 10 อด 19 กิน 5 หรือสูตรฮาร์ดคอร์หรือที่เรียกว่าสูตร Warrior Diet คืออด 20 กิน 4 แต่สูตรที่ได้รับความนิยมที่สุดคือสูตรอด 16 กิน 8
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 18 ที่ผ่านมา ทาง American Heart Association หรือ AHA
ได้ออกมาตีพิมพ์การศึกษาที่เป็น press release (ยังไม่ใช่ตัวเต็ม) เล่นเอาแวดวงคนรักสุขภาพทั่วโลกหวาดระแวงไปตามๆกัน โดยสรุปผลการศึกษาดังกล่าวระบุไว้ว่า
1
  • 1.
    การทำ IF ไม่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกๆสาเหตุทางการแพทย์
  • 2.
    การทำ IF สูตร 16:8 เพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นถึง 91%
  • 3.
    การทำ IF โดยมีชั่วโมงที่กินอาหาร 8-10 ชั่วโมง เพิ่มโอกาสเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 66%
  • 4.
    การกินมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน ลดอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง
1
ข้อมูลดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกไม่น้อย เนื่องจากในระยะหลังการลดน้ำหนักด้วยวิธีดังกล่าวได้รับการยอมรับจากทั้งผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ และการศึกษาหลายชิ้นก็สนับสนุนประโยชน์ของการทำ IF โดยให้ประสิทธิภาพโดยรวมไม่ต่างจากการนับปริมาณแคลอรี่ต่อวัน
แต่..........(ดอกจันทน์x300 ล้านดวง)
การศึกษาดังกล่าวยังมีข้อจำกัดอยู่มาก..อาทิเช่น...
1. การตั้งคำถามของการศึกษดังกล่าวยังขาดความชัดเจนอยู่มาก การศึกษานี้ไม่ได้เจาะจงคนกลุ่มโรคใดกลุ่มโรคหนึ่งเป็นหลัก เช่น กลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว หรือกลุ่มคนที่ยังไม่เป็นโรคอะไรเลย ซึ่งมีปัจจัยต่างกัน ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลทำได้จำกัดและขาดความเชื่อมโยง
4
2. ระเบียบและวิธีการศึกษา ผู้ทำการศึกษาอ้างอิงข้อมูลจากNational Health and Nutrition Examination Survey ตั้งแต่ปี 2003-2018 รวมกลุ่มตัวอย่างของการศึกษา 43000 คน แต่ในจำนวนดังกล่าวทิ้งการศึกษาไปถึง 20,078 หรือเรียกได้ว่าเกินครึ่ง คงเหลือ good representative เพียง 4000 กว่าคนเท่านั้น โดยไม่มีการระบุเหตุผลการหายไปของกลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษา
3
3. เก็บข้อมูลด้วยวิธี food-frequency-questionnaire ซึ่งเสี่ยงที่จะเกิด recall bias ในระดับ high risk
4. จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 43000 คน มีคนที่ทำ IF สูตร 16:8 เพียง 414 ราย เท่านั้น และในจำนวนนี้มีคนที่สูบบุหรี่ถึง 27.1% สูงกว่าข้อมูลการทำ IF สูตรอื่นๆ
4
5. จำนวนตัวอย่างที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว ทำให้การทำ subgroup analysis สำคัญมาก เพราะมันจะบอกว่าเราว่าเราควรแนะนำการทำ IF หรือห้ามทำ IF ในคนกลุ่มใดบ้าง
2
ทั้งหมดนี่เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามต้องรออ่านตัวเต็มอีกที หวังว่าจะได้ข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้กับผู้ป่วยและปรับพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีต่อไป
8
อ้างอิง
โฆษณา