Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wealth Advisory by CIMB THAI Bank
•
ติดตาม
21 มี.ค. 2024 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เฟดยังคงยืนมุมมองการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2024
ขณะที่ dot-plot สะท้อนถึงมุมมองเฟดที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวอาจสูงกว่าเดิมเล็กน้อย
- ในการประชุมนโยบายการเงินของเฟดวันที่ 19-20 มี.ค. เฟดมีมติเป็นเอกฉันท์ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ระดับ 5.25-5.50% อันเป็นการคงอัตราดอกเบี้ย ครั้งที่ 5 ติดต่อกันและยังคงปรับลดขนาดงบดุล (QT) เฟดยังคงดำเนินการตามแผนการเดิมที่จะปรับลดขนาดงบดุล (QT) ลงจำนวน 6.0 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในส่วนพันธบัตรรัฐบาลและ 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับตราสาร MBS โดยระบุว่าเฟดให้ความสำคัญกับเป้าหมายคู่ (Dual mandate) ในการรักษาระดับการจ้างงานสูงสุด และการดูแลระดับราคา
ซึ่งการปรับลดลงของเงินเฟ้อท่ามกลางตลาดแรงงานที่ยังค่อนข้างแข้งแกร่งเป็นข่าวดี อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อนั้นยังคงสูงเกินไป และเส้นทางของการปรับลงลงสูงเป้าหมายยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่ทำให้เฟดตัดสินใจที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตลอดจน ระดับของการปรับลดงบดุล เพื่อให้นโยบายการเงินที่ตึงตัวชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจและแรงกดดันเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานที่ลดระดับความตึงตัวลงส่งผลให้เป้าหมายของเราในการดูแลเงินเฟ้อและการจ้างงานนั้นมีความสมดุลมากขึ้น ทั้งนี้ เฟดยังคงจะพิจารณาพัฒนาการของเศรษฐกิจในระยะต่อไปอย่างระมัดระวัง โดยคณะกรรมการจะยังไม่พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย
หากยังคงไม่เชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายที่ 2% อย่างยั่งยืน โดยเฟดยังคงยึดถือใน Dual mandate และการชะลอลงของตลาดแรงงาน ก็อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงิน ทั้งนี้ การพิจารณาตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการข้อมูลเศรษฐกิจในแต่ละรอบของการประชุม (meeting by meeting)
- ทั้งนี้ ประธานเฟดระบุหลังการประชุมว่าข้อมูลเงินเฟ้อที่ออกมาสองรอบก่อนหน้าไม่ได้มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อมุมมองทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด และเฟดยังคงเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อในภาพรวมยังคงอยู่ในทิศทางที่ค่อยๆ ชะลอลง แม้ว่าเส้นทางสู่เงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2% อาจจะมีความขรุขระบ้าง
- ในส่วนคาดการณ์เศรษฐกิจ เฟดได้มีการปรับคาดการณ์จีดีพีในปี 2024 และ 2025 ขึ้นจากเดิมที่ 1.4% และ 1.8% เป็น 2.1% และ 2.0% รวมทั้ง ปรับลดคาดการณ์อัตราว่างงานในปี 2024 ลงจาก 4.1% เหลือ 4.0% มุมมองต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ในส่วนมุมมองเงินเฟ้อ เฟดได้ขยับคาดการณ์เงินเฟ้อ Core PCE ในปี 2024 จาก 2.4% เป็น 2.6% ก่อนที่จะทยอยปรับลดลงสู่ระดับ 2.2% และ 2.0% ในปี 2025 และ 2026 ตามลำดับ
ตลอดจน ขัยบมุมมองเงินเฟ้อ PCE ในปี 2025 ขึ้นเล็กน้อยจาก 2.1% เป็น 2.2% ขณะที่ในส่วน Dot-plot เฟดยังคงมุมมองค่ากล่างของอัตราดอกเบี้ยที่ 4.6% ในปี 2023 อันบ่งชี้ว่าเฟดยังคงส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี โดยมีกรรมการ 10ท่านมองว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้ง และกรรมการ 9 ท่านมองว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2 ครั้ง
แต่มีการปรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยของปี 2025 และ 2026 จาก 3.6% และ 2.9% เป็น 3.9% และ 3.1% รวมทั้ง ขยับมุมมองอัตราดอกเบี้ยในระยะยาวจาก 2.5% เป็น 2.6% อันสะท้อนถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2025 ที่ลดลงจากเดิมประมาณ 1 ครั้ง
- สำหรับการตัดสินใจในประเด็นงบดุล คณะกรรมการยังคงมีความเห็นที่จะคงระดับของปรับลดงบดุลในขนาดเดิม ว่าในภาพรวมคณะกรรมการจะเห็นว่าการพิจารณาชะลอขนาดของการปรับลดงบดุลในระยะเร็วๆนี้ มีความเหมาะสม อันช่วยลดความเครียดในตลาดการเงิน และช่วยให้สภาพคล่องในตลาดยังอยู่ระดับที่เหลือเฟือ (ample) เพื่อลดความเสี่ยงที่เฟดอาจจะเผชิญกับสภาวะที่กดดันให้เฟดต้องยุติการปรับลดขนาดงบดุลอย่างไม่คาดฝัน
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯตอบรับในเชิงค่อนข้างบวก โดย Dow Jones +1.03% S&P +0.89% และ Nasdaq +1.25% ขณะที่อัตราผลตอบแทน 2 ปี และ 10 ปีปรับลดลงสู่ระดับ 4.60% และ 4.27% จากการที่เฟดยังคงมุมมองที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ แม้ว่าข้อมูลเงินเฟ้อในช่วง 2 เดือนแรกของปีจะออกมาสูงกว่าคาด ขณะที่ CME Fedwatch บ่งชี้โอกาสประมาณ 70% เฟดอาจจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบ 11-12 มิ.ย. 24 เพิ่มขึ้นจากประมาณ 55% ในวันทำการก่อนหน้า
เรามองว่า ภาพรวมของผลการประชุมเฟดในรอบนี้ ยังไม่ได้ปิดต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางปีนี้ อย่างไรก็ดี จังหวะของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจจะสามารถขยับตามพัฒนาการของเงินเฟ้อและตลาดแรงงาน โดยอาจจะจำเป็นที่ต้องเห็นการชะลอตัวของทั้ง 2 เครื่องชี้พร้อมกันจากระดับในปัจจุบันก่อนที่เฟดจะมั่นใจว่าถึงจังหวะที่เหมาะสมในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ข้อมูลเครื่องชี้ดังกล่าวกลับมาชะลอลงในช่วง 2เดือนข้างหน้า ก็ยังมีโอกาสที่เฟดจะพิจารณาเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบ มิ.ย. นี้ อย่างไรก็ดี ยังคงต้องจับตา ตัวเลขการจ้างงานและเงินเฟ้อและจะประกาศในวันที่ 5 เม.ย. และ 10 เม.ย. ที่อาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดก่อนการประชุมเฟดรอบต่อไปในเดือน พ.ค. นี้
fed
ดอกเบี้ย
เศรษฐกิจ
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย