22 มี.ค. 2024 เวลา 11:30 • ธุรกิจ

วิเคราะห์เทรนด์ ชาไทย ในมุม Data แบบฟรี ๆ ด้วย Google Trends

Google Trends คือเครื่องมือที่ใช้สำรวจความนิยมของคีย์เวิร์ดที่คนใช้ค้นหาบนเว็บไซต์ Google ในช่วงเวลาที่กำหนดได้
ที่น่าสนใจคือ “ใช้ฟรี” เพียงเซิร์ชว่า Google Trends ในเว็บไซต์ Google ก็ใช้งานได้เลย
ความสามารถเด่น ๆ ของ Google Trends ยกตัวอย่างเช่น
- ดูความนิยมของคำค้นหานั้น ๆ ในแต่ละช่วงเวลา โดยสามารถใช้ Google Trends เปรียบเทียบความนิยมแต่ละคีย์เวิร์ดได้สูงสุด 5 คีย์เวิร์ด
- ดูเทรนด์มาแรง (Trending Now) จะบอกคีย์เวิร์ดที่มีการค้นหามากที่สุด ทั้งแบบรายวันและแบบเรียลไทม์
- สามารถบอก “คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง” ช่วยให้รู้ว่าลูกค้าสนใจอะไรอีกบ้าง ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่เราใส่ไป
- และ “หัวข้อที่เกี่ยวข้อง” ช่วยให้รู้ว่าลูกค้าใช้คีย์เวิร์ดอะไรในการค้นหาบ้าง โดยเราอาจจะเลือกคีย์เวิร์ดเหล่านี้ ไปต่อยอดการทำคอนเทนต์ให้คนค้นหาเจอ หรือใช้ในเชิงการตลาดต่อได้
ทีนี้เรามาดูตัวอย่างการใช้งานจริง ๆ
โดยวันนี้ MarketThink จะเอาคีย์เวิร์ดคำว่า “ชาไทย” มาวิเคราะห์ด้วย Google Trends ให้ดูเป็นข้อ ๆ
Trend #1 : ชาไทย ฮิตสุด ช่วงเมษายน 66
Trend #1 : ชาไทย ฮิตสุด ช่วงเมษายน 66
กราฟที่เห็นในภาพ Trend #1 ไม่ได้บอก จำนวนการค้นหา แต่บอกเป็น “ระดับความสนใจ” ภายในกรอบเวลาที่ตั้งค่าไว้
1
โดยความหมายของตัวเลขสเกล 0-100 ก็คือ
- 100 หมายถึง ณ เวลานั้นมีการค้นหาคีย์เวิร์ดสูงสุด ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้
- 50 หมายถึง ณ เวลานั้นมีการค้นหาเป็นครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดของความสนใจ ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้
- 0 หมายถึง ณ เวลานั้นไม่มีการค้นหาเลย หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ
1
จะเห็นว่าในกรอบเวลาช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ระดับความสนใจของคำว่า ชาไทย บน Google Trends
2
ชาไทย เป็นเมนูที่ได้รับความสนใจมาเรื่อย ๆ แต่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ก่อนที่จะได้รับความสนใจสูงสุด ในช่วงเดือนเมษายน ปี 2566 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สังเกตได้จาก ในช่วงเวลานั้น มีแบรนด์ต่าง ๆ เลือกเปิดตัวเมนูชาไทย กันเป็นจำนวนมาก เช่น 7-Eleven ที่มีการเปิดตัวเมนู “ปังเย็นชาไทยเซเว่น”
รวมถึงยังเป็นช่วงที่มีแบรนด์ชาไทยใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน
จึงเป็นตัวจุดกระแสทำให้เกิดการรีวิวเมนูชาไทย บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ
รวมถึงในปัจจุบัน ความสนใจของชาไทย ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น
เพราะร้านอาหารต่าง ๆ ยังได้นำชาไทย ไปเป็นวัตถุดิบ ในการปรุงอาหารของตัวเองด้วย เช่น ไก่ทอดชาไทยของเชสเตอร์กริลล์, พุดดิ้งชาไทยใน 7-Eleven
ในขณะที่คนไทย แม้จะให้ความสนใจกับเมนูชาไทย แต่คนไทยก็ห่วงสุขภาพเช่นกัน
เพราะคนไทย มีการค้นหาว่า “ชาไทยมีกาเฟอีนไหม” และ “ชาไทยกี่แคล”
1
Trend #2 : Karun และ ชาตรามือ 2 แบรนด์ชาไทย ที่กระแสแรง
Trend #2 : Karun และ ชาตรามือ 2 แบรนด์ชาไทย ที่กระแสแรง
ถ้าพูดถึงแบรนด์ชาไทยในประเทศไทย ที่ได้รับความนิยมในช่วงนี้ คือแบรนด์ชาไทยพรีเมียมอย่าง Karun Thai Tea (การัน)
ปัจจุบัน Karun มีสาขาทั้งหมด 17 สาขา ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหลัก
ส่วนแบรนด์ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ ชาตรามือ
โดยชาตรามือ มีกว่า 175 สาขา กระจายอยู่ทั่วประเทศ
ที่สำคัญ ชาตรามือ ยังมีผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากชาชง เช่น ผงชาและชาแคปซูล สำหรับชงดื่มเองที่บ้าน จึงเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลาย
อย่างไรก็ตาม ในความจริงแล้ว ยังมีแบรนด์อื่น ๆ อีกมาก เช่น ชาไทยของอินทนิล, โรงชาชงดี หรือแบรนด์น้องใหม่อย่าง ฉันจะกินชาเย็นทุกวัน
ที่ขายเมนูชาไทย เพียงแต่อาจไม่ได้ถูกค้นหาบน Google มากเท่า 2 แบรนด์ข้างต้น
รวมถึงร้านขายเครื่องดื่มที่ไม่ได้มีแบรนด์อย่างชัดเจน ซึ่งคนไทยจำนวนมาก อาจดื่มชาไทยจากร้านที่ไม่ได้มีแบรนด์กันเยอะด้วย
Trend #3 : ชาไทยแม้จะมาแรง แต่ยังสู้ชาไข่มุกกับชาเขียวไม่ได้
3
Trend #3 : ชาไทยแม้จะมาแรง แต่ยังสู้ชาไข่มุกกับชาเขียวไม่ได้
ตามข้อมูลจาก Google Trends บอกว่า ในช่วงปี 2562
คนไทยนิยมค้นหาคำว่า ชาไข่มุก มากที่สุด รองลงมาเป็นชาเขียว และน้อยมากที่เป็น ชาไทย
1
หากลองวิเคราะห์ถึงเหตุผลดู อาจจะเป็นเพราะ มีเรื่องของโรคระบาดเข้ามา ส่งผลให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น
ทำให้ชานมไข่มุกที่อาจจะดูไม่ค่อยดีต่อสุขภาพ ได้รับความนิยมน้อยลงไป
ในส่วนของชาเขียว เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2562 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มที่หลาย ๆ คนเลือกดื่มแทนกาแฟ ทำให้ความนิยมไม่ลดลงเท่าไร
1
สุดท้ายคือ ชาไทย ที่มาแรงในช่วงเดือนเมษายน ปี 2566 นำมาโดยแบรนด์ที่เป็นกระแสในช่วงนั้น เช่น Karun หรือ ชาตรามือ
จนความนิยมสามารถขึ้นแซงชาไข่มุกได้เป็นบางช่วง ก่อนจะเริ่มมียอดการค้นหาสูสีกันในช่วงปีที่ผ่านมานี้
Trend #4 : คนไทยเรียก “ชาไทย” แซงหน้า “ชาเย็น”
Trend #4 : คนไทยเรียก “ชาไทย” แซงหน้า “ชาเย็น”
จริง ๆ แล้วชาไทยก็เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีชื่อเรียกหลายชื่อ
บางคนเรียก “ชาเย็น” บางคนเรียก “ชาไทย” หรือบางคนเรียก “ชาส้ม”
3
ทีนี้ในมุมการตลาด.. ถ้าเราอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับชาไทย เราควรใช้คำว่าอะไร ถึงจะมีโอกาสให้คนเจอมากที่สุด ?
ตามข้อมูลจาก Google Trends บอกว่า ในช่วงปี 2562 จนถึงวันนี้
คนไทยนิยมเรียกชาสีส้มนี้ว่า ชาเย็น มากกว่า ชาไทย
โดยจุดที่น่าสนใจคือ ก่อนหน้านี้คนไทยจะนิยมค้นหา “ชาไทย” ว่า “ชาเย็น” มากกว่าแบบชัดเจน
จนกระทั่งช่วงต้นปี 2566 ที่เริ่มมีคนหยิบเครื่องดื่มชาไทย มาทำเป็นแบรนด์จริงจังกันมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น Karun, ชาตรามือ และอีกหลาย ๆ แบรนด์ ที่หยิบชาไทยมาเพิ่มมูลค่า
ทำให้ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ Karun ซึ่งชูความเป็น ชาไทย แบบชัดเจนมาก ๆ กำลังเป็นกระแส ส่งผลให้ยอดการค้นหาของคำว่า “ชาไทย” เพิ่มขึ้นจนมากกว่า “ชาเย็น” ไปช่วงหนึ่ง
1
และในปัจจุบันยอดคำค้นหาของชาไทยและชาเย็น ก็มากพอ ๆ กันแล้ว..
Trend #5 : อินโดนีเซีย คือประเทศที่คนสนใจคำว่า “Thai Tea” มากที่สุด รองลงมาคือ บรูไนดารุสซาลาม และสิงคโปร์
1
Trend #5 : อินโดนีเซีย คือประเทศที่คนสนใจคำว่า “Thai Tea” มากที่สุด รองลงมาคือ บรูไนดารุสซาลาม และสิงคโปร์
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กระแสการค้นหาคำว่า “Thai Tea” จากทั่วโลก เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยกราฟความสนใจ เริ่มไต่ระดับขึ้นมาตั้งแต่ปี 2559 และเพิ่มสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ปี 2562
แม้ว่าปัจจุบัน ความนิยมของการค้นหาคำว่า “Thai Tea” จะลดลงจากช่วงปี 2562 แต่ก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
จุดที่น่าสนใจก็คือ คำว่า “Thai Tea”
แม้บางประเทศจะมีการค้นหาเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีการค้นหาเกือบจากทั่วทุกมุมโลก
ยกเว้นแต่เพียงทวีปแอฟริกา ประเทศมองโกเลีย บางประเทศของเอเชียกลาง และเกาะกรีนแลนด์
โดยประเทศที่มีสัดส่วนคนสนใจค้นหาคำว่า Thai Tea มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
1. ประเทศอินโดนีเซีย
2. ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
3. ประเทศสิงคโปร์
4. ประเทศสหรัฐอเมริกา
5. ประเทศกัมพูชา
3
ซึ่งต้องหมายเหตุชัด ๆ ว่า Top 5 อันดับประเทศที่ว่านี้ ไม่ได้หมายถึงประเทศที่มีคนค้นหาคำว่า Thai Tea มากที่สุด
แต่หมายถึง ประเทศที่มี “สัดส่วนการค้นหาเทียบกับประชากร” ในสัดส่วนมากที่สุด
2
สาเหตุที่คนในประเทศเหล่านี้สนใจ Thai Tea กันมาก ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะแบรนด์ไทยอย่าง ชาตรามือ ได้ขยายไปเปิดสาขา
1
เช่น ประเทศบรูไนดารุสซาลาม มีด้วยกัน 4 สาขา, ประเทศกัมพูชา 2 สาขา และประเทศสหรัฐอเมริกา 1 สาขา ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
รวมถึงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา TasteAtlas เว็บไซต์อาหารยอดนิยมได้จัดอันดับให้ Thai Tea ติดอันดับ 10 เป็นเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ที่อร่อยสุดในโลก
2
ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลให้ชาวต่างชาติ สนใจและอยากลองดื่มชาไทยอีกด้วย..
ทั้งหมดนี้ คือการวิเคราะห์เทรนด์ ชาไทย ในมุม Data ด้วย Google Trends โดย MarketThink
ซึ่งต้องหมายเหตุชัด ๆ อีกทีว่า
ข้อมูลเทรนด์ความนิยมทั้งหมดนี้ เป็นแค่เพียงข้อมูลจาก “คำค้นหาใน Google”
หมายความว่า เทรนด์ที่เราวิเคราะห์กันนี้ อาจไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงได้แม่นยำ 100%
แต่อย่างน้อย ก็จะพอให้เราเห็นภาพรวมความนิยมของคำว่า ชาไทย
ซึ่งก็น่าจะช่วยเป็นไอเดียให้เราไปต่อยอดได้ ไม่ว่าจะเรื่องธุรกิจ หรือการตลาด..
โฆษณา