22 มี.ค. 2024 เวลา 11:54 • หุ้น & เศรษฐกิจ

จีนจวก PwC กรณี Evergrande แต่งบัญชีกว่า 7.8 หมื่นล้านเหรียญ

จีนกำลังตรวจสอบบทบาทของ PwC หนึ่งใน Big 4 เจ้าดัง ในฐานะผู้ตรวจสอบบัญชีของ Evergrande บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของจีน ที่เพิ่งประกาศล้มละลายไปเมื่อเร็วๆนี้ ในเคสของการแต่งบัญชีมูลค่ากว่า 7.8 หมื่นล้านเหรียญ
3
เรื่องราวความพินาจเกิดขึ้นจากกการที่ Hengda Real Estate Group ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของ Evergrande บนจีนแผ่นดินใหญ่ ได้รับรู้ยอดขายล่วงหน้าเป็นรายได้เกินจริง เป็นเวลาสองปี ตั้งแต่ปี 2020 ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ล้มละลายของ Evergrande
ด้านเจ้าหน้าที่จีนก็กำลังหานักบัญชีตัวต้นเรื่องที่ทำการตรวจสอบบัญชีให้กับ Hui Ka Yan ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง China Evergrande Group แต่ ณ ตอนนี้ก็ยังไม่มีการตัดสินใจออกมาว่าจะลงเทศนักตรวจสอบบัญชีหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่จีนกำลังสืบสวนอาชญากรรมต้องสงสัยอย่างอื่นของ Hui ที่กำลังถูกควบคุมตัวอยู่ ในขณะที่ PwC เองปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้
3
การออกมาเปิดเผยเรื่องราวการทุจริตของ Evergrande สร้างความลำบากให้กับ PwC ที่มีเรื่องฉาวโฉ่ต้องจัดการอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการเลย์ออฟพนักงานออกกว่า 600 ตำแหน่ง ในอังกฤษและแคนาดา เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และยังมีเรื่องการปฏิบัติงานในออสเตรเลีย ที่มีปัญหาทำเอกสารลับ แผนภาษีของรัฐบาล หลุดไปสู่ลูกค้า นอกจากนี้ก็มีเรื่อง PwC UK โดนปรับเป็นเงินกว่า 5.6 ล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว เหตุจากความผิดพลาดในงบการเงินของ Babcock International Group
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ได้มีบริษัทวิจัยด้านบัญขี GMT Research จากฮ่องกง ตั้งข้อสังเกตถึงความถูกต้องของงบการเงิน Evergrande ว่าอาจจะไม่ได้มีกำไรจริงๆ รวมถึงคำถามในบทบาทของ PwC ว่ารู้เห็นอะไรบ้างเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ที่ไม่ถูกต้องนี้
เมื่อมาดูในรายละเอียดของการใส่ตัวเลขเกินจริง สาขา Hengda ของ Evergrande บันทึกกำไรเกินจริงเป็นจำนวน 9.19 หมื่นล้านหยวน หรือ 1.27 หมื่นล้านเหรียญ คิดเป็นมากกว่า 3 ใน 4 ของรายได้ที่ได้รายงานในช่วงปี 2019 ถึง 2020 และคิดเป็น 20 เท่าของกำไรปลอมๆ ที่ Enron ได้เคยหลอกไว้ เมื่อครั้งข่าวฉาวในปี 2001
1
ก่อนหน้าปี 2021 Evergrande ก็ได้บันทึกรายได้จากสัญญาการขายบ้านก่อนที่จะสร้างเสร็จและส่งมอบแก่ผู้ซื้อ ด้วยกลยุทธ์การบันทึกรายได้ aggressive เช่นนี้เองที่ทำให้ Evergrande สามารถรายงานตัวเลขหนี้ และ leverage ratio ได้ต่ำกว่าความเป็นจริงในช่วงเวลานั้น ส่งผลดีต่อการขายตราสารหนี้ของ Evergrande ทั้งในและต่างประเทศ จนมาโป๊ะแตกมีปัญหาขาดสภาพคล่องในปี 2021 นำมาสู่การล้มละลาย สร้างความวอดวายให้กับผู้ซื้อที่จ่ายเงินล่วงหน้าให้กับอพาร์ทเมนต์นับล้านยูนิทที่สร้างไม่เสร็จ
1
ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐจีนกำลังกล่าวโทษนาย Hui ผู้ก่อตั้ง Evergrande ซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ข้อกล่าวหานั้นก็ได้สร้างปัญหาทางด้านกฏหมายให้กับ PwC เช่นกัน เนื่องจาก Evergrande กำลังอยู่ระหว่างการขายทอดตลาดในฮ่องกง และเจ้าหน้าที่ขายทอดตลาดก็พยายามที่จะนำเงินจากกระเป๋าของ PwC มาชดเชยให้กับเหล่าเจ้าหนี้ด้วย
2
และด้วยเงินค่าปรับ 4.18 พันล้านหยวน ที่ Hengda โดนปรับ ทำให้ Evergrande มีเงินจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ลดลง โดย จนถึงเดือนมิถุนายน 2023 Evergrande มีหนี้รวมทั้งสิ้น 3.32 แสนล้านเหรียญแล้ว
สำหรับ PwC นั้นได้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับ Evergrande มานานเกินกว่าศตวรรษ แต่ได้ลาออกจากการตรวจสอบไปเมื่อเดือนมกราคม ปี 2023 จากความเห็นที่ไม่ตรงกันด้านการตรวจสอบ
เมื่อเปรียบเทียบรายได้ระหว่าง Big 4 ด้วยกันเองในประเทศจีนนั้น PwC ทำรายได้นำมาเป็นอันดับหนึ่ง ที่ 7.92 พันล้านหยวนในปี 2022 จากรายได้ทั๋วโลก 5.03 หมื่นล้านเหรียญในปีนั้น นอกจากนี้ PwC ยังเป็นบริษัท Big 4 ที่ถูกใช้งานมากกที่สุดโดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกง และความพังต่อไม่หยุดก็คือ PwC เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของประเทศ ได้แก่ Country Garden Holdings และ Sunac China Holdings ก่อนหน้าที่บริษัททั้งสองนี้จะล้มละลายไปเช่นกัน
5
ในขณะนี้ PwC กำลังถูกสอบสวนโดยสภารายงานทางการเงินแห่งฮ่องกงในปี 2021 หลังจากที่ PwC ล้มเหลวในการบ่งบอกว่า Evergrande ไม่สามารถดำเนินการต่อได้
1
โฆษณา