Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
24 มี.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
จำลา ไม้ดอกหอมจากแดนใต้ หายาก ใกล้สูญพันธุ์
จำลา หรือ จำปีป่า เป็นไม้ในวงศ์ Magnoliacieae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnolia praecalva เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงประมาณ 25-35 เมตร ลำต้นตรงหรือบิดเล็กน้อย โคนมีพูพอนหนาเปลือกสีน้ำตาลอ่อน เรียบหรือขรุขระ เป็นวงคล้ายเปลือกหอยค่อนข้างนุ่มและหักง่าย
ใบ มักออกดกที่ปลายกิ่ง รูปรีแคบหรือรูปไข่กลับ ปลายทู่หรือเป็นแอ่งตื้น โคนรูปลิ่ม ใบแก่คล้ายหนัง สีเขียวเข้มเป็นมันด้านบน เกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอก สีขาวอมครีม ออกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง หันหน้าขึ้นบน กลิ่นหอม บานทั้งคืน
ผล ออกเป็นกลุ่ม รูปค่อนข้างกลม สีเขียวอมเหลืองอ่อน มีตุ่มสีเหลืองและสีน้ำตาลเมื่อยังอ่อน เมื่อแก่มีสีน้ำตาลแก่และแข็ง แตกเป็น 3-5 เสี่ยง เมล็ด สีน้ำตาลดำ มีเนื้อนุ่มสีแดงหุ้ม พบในป่าดิบที่ยังไม่ถูกทำลาย ในความสูง 400-600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เป็นพืชหายากพบในท้องถิ่นเฉพาะ พบครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่จังหวัดสงขลา
จำลา เป็นพรรณไม้พื้นเมืองชนิดหนึ่งในวงศ์จำปา ที่มีดอกสวยงาม และกลิ่นหอมหวาน แต่เป็นพรรณไม้ที่หายาก ที่พบเฉพาะตามริมลำธารในป่าดิบชื้นทางภาคใต้ตอนล่างในจังหวัดสงขลาและพังงา โดยในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง เป็นแหล่งที่พบพืชชนิดนี้ บริเวณน้ำตกชั้นที่ 7 แต่เป็นที่น่าเสียดายที่จำลาไม่อาจขยายพันธุ์นอกถิ่นกำเนิด เพราะต้องอาศัยสภาพที่เหมาะสมทั้งสภาพอากาศ และความสูงจากระดับน้ำทะเล แต่ก็มีนักวิจัยพยายามที่จะขยายพันธุ์นอกถิ่นกำเนิดอยู่
สำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) โดยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง ได้นำเมล็ดมาขยายพันธุ์ จนประสบผลสำเร็จ และได้นำกล้าจำลา ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำไปปลูกในพระบรมมหาราชวัง และวังสระปทุม
ที่มา : กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา)
#จำลา #พืชหายาก #กรมอุทยานแห่งชาติ #สบอ6สงขลา #เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง
ธรรมชาติ
สื่อทางเลือก
ท่องเที่ยว
บันทึก
5
4
5
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย