26 มี.ค. 2024 เวลา 01:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

"ซูปเปอร์วอร์ม" หนอนสามารถย่อยพลาสตกได้

พลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแก้วน้ำ กล่องโฟม หรือถุงหิ้ว ล้วนไม่สามารถกำจัดได้ง่าย หากจะทิ้งไว้ให้ย่อยสลายต้องใช้เวลาถึง 450 ปี เลยทีเดียว ดังนั้นวันนี้จึงมีวิธีที่น่าสนใจที่จะกำจัดพลาสติกเหล่านี้ โดยใช้ “หนอน”ย่อยพลาสติก! นั่นเอง
ภาพจาก : https://www.thestatesman.com/environment/superworms-love-eat-plastic-can-revolutionise-recycling-1503079788.html#google_vignette
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ค้นพบว่า ‘ซูเปอร์วอร์ม’ หรือชื่อของหนอนตัวอ่อนด้วง Zophobas (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zophobas morio) สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกชนิดโพลีสไตรีน (Polystyrene) เป็นอาหาร เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้ของหนอนสามารถย่อยสลายมันได้
ในการทดลองจะแบ่งหนอนจำนวน 171 ตัวออกเป็น 3 กลุ่ม โดย กลุ่มแรกให้กินพลาสติกโพลีสไตรีน กลุ่มถัดมาให้กินรำข้าว และกลุ่มสุดท้ายไม่ให้กินอะไรเลย โดยให้พวกมันใช้ชีวิตเป็นเวลา 3 สัปดาห์
ภาพจาก : Environmental Science & Technology 2020
พอครบตามเวลากำหนด ปรากฎว่ากลุ่มที่กินรำข้าวมีน้ำหนักมากที่สุด แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่กินพลาสติกโพลีสไตรีน เป็นกลุ่มที่ก็มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และพบว่าพวกมันมีกิจกรรมระหว่างกันมากกว่ากลุ่มที่ต้องอดอาหาร จึงสรุปกันว่า หนอนตัวอ่อนชนิดนี้สามารถรับสารอาหารได้จากขยะพลาสติก
ภาพจาก : https://www.greenprophet.com/2022/10/plastic-eating-superworm-experiment/
อย่างไรก็ดี การกินพลาสติกเข้าไปก็ไม่ได้ดีต่อสุขภาพของพวกมัน เพราะหนอนกลุ่มที่กินพลาสติกจะมีน้ำหนักน้อยกว่าและมีสุขภาพลำไส้ที่แย่กว่า หากเทียบกับกลุ่มที่กินรำข้าว
ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงได้แนวทางใหม่ซึ่งเลียนแบบจุลินทรีย์ในลำไส้ของหนอนเพื่อมาพัฒนาให้สามารถย่อยพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป
1
โฆษณา