24 มี.ค. เวลา 12:02 • ศิลปะ & ออกแบบ
เขตบางกอกน้อย

บางกอกบานฉ่ำ : เมืองมีชีวิต

ย่านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย จัดโดย ทีมบางกอกนี้ดีจัง
คราวก่อนกิจกรรม เทศกาลอ่านกรุงเทพฯ มีรายละเอียดการบรรยาย ในลิงค์ https://www.blockdit.com/posts/65f5bac0dea21b17ee9afb5e
รวมบทความเกี่ยวกับการทำย่านสร้างสรรค์ ข้อมูลและใช้ Chat GPT
เป็นกิจกรรมที่เรามาเรียนรู้ย่านผ่านผู้จัด คนในชุมชน และน้องๆเยาวชน ปิดเทอม ส่วนมากเป็นเด็กมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 ที่มีพี่ๆผู้ใหญ่ดูแล (ได้คุยเครือข่ายพี่ๆที่ทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน กับไกด์ชุมชน)
เราในฐานะกลุ่มศิลปิน นักออกแบบ ย่านบางขุนศรี บางขุนนนท์ จึงมาเข้าร่วม
ฉันมาทำอะไรที่นี่...ตามหาต้นทุเรียน
เตรียมกิจกรรมเดินย่าน บางขุนนนท์
มาแต่เช้า 6.45 น. เขานัด 8.00 น.
แอบสำรวจ ดูพฤติกรรม คนมาวิ่งเดินมาก
บางคนสงสัยเขาทำอะไรกัน ซากอารยธรรม
.
คุยกับพี่ที่ยืนตัดแต่งกล้าไม้ แกเป็นตัวจริง
เขาดูแลสวนน่าจะสวนเบญฯ
คุยเรื่องทุเรียนสวนบางขุนนนท์ ตายเรียบ เพราะค่า ph
เกลือมันซึมเข้ามา ทุเรียนอยู่ไม่ได้ ดีที่มียอดพันธุ์เดิม
เจอสามต้นในเขตนี้ เอาไปเพาะที่จันทบุรี จะนำกลับมาอีก
การออกแบบสวนเลยต้องคำนึงระบบ
เขาเลยเล่าสวนเบญจกิติ เรื่องการออกแบบ
สวนบางพลัดก็มีอนุรักษ์ทุเรียนพื้นถิ่น
.
การรับน้ำและธาตุโลหะ ปรับออกซิเจน แต่ละโซน
การดูแลและปล่อยให้ระบบนิเวศน์ดูแลตัวเองได้ 3 ปี
การคำนวณค่าน้ำต้องวัดค่าเพื้อใช้ให้พอในช่วงกำหนด
สถาปนิกต้องคิด ทำงานกับพฤษศาสตร์ วิทยาศาสตร์
.
ความงาม ประวัติศาสตร์ พืชพันธุ์
ความรู้สำคัญ
ร่องสวนจำลองบรรยากาศ
เดินมาด้านในสุดมีลานกิจกรรมร่มรื่น ติดคลองบางกอกน้อย เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมหลายรอบเกี่ยวกับความสร้างสรรค์
บรรยากาศคนมาออกกำลังกาย น้องๆเยาวชนเลยอยากให้สวนสาธารณะในกทม. ชุมชนได้จัดกิจกรรมอื่นในพื้นที่นอกจากด้านสุขภาพ จึงรวมเครือข่ายพี่ๆ เช่น ตลาดน้อย บางอ้อ โคราช
มีรถสองแถวแดง เด็กๆที่จัดกิจกรรมเตรียมมาดี เพราะมีกลุ่มสูงวัยและเด็ก
บรรยากาศน่ารัก เด็กๆ ครอบครัวมาทำกิจกรรม
ที่นั่งฟังดนตรี เวทีบ้านๆ
ลานกิจกรรม แม้เวลาบ่ายคนยังมา จูงลูกหลานมาร่วมทำศิลปะ ชุมชนแสดงงาน
ทำเครื่องประดับ ข้างๆร้านกาแฟ
ชอบกิจกรรมนี้ที่เป็นการเล่นและทดลอง ให้เรียนรู้ผ่านการเล่น พี่ๆเครือข่ยครู อาจารย์มหาวิทยาลัยแถวโคราชอุตส่าห์มาไกล
สิงโตเด็กๆในชุมชน พี่ตัน(พี่ผู้ดูและน้องๆจัดกิจกรรมได้คุยกับผมว่าการมีย่านที่ทำกิจกรรม ทำให้เด็กๆในกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดมีพื้นที่สร้างสรรค์)
อาคารน่าสนใจในสวนสาธารณะแห่งนี้
ความร่มรื่น อาคารและแมกไม้
เสียงของชุมชนบางกอกน้อย พี่ๆและน้องๆเยาวชน ร่วมกันเดินสำรวจ ถ่ายภาพ บันทึกวิดีโอ น่าสนับสนุนจัดนิทรรศการต่อเนื่อง
นิทรรศการคนในย่าน ตรงนี้ในมุมคนเรียนศิลปะและออกแบบ คือสิ่งสำคัญที่เสียงคนในชุมชนที่มักถูกละเลย การมาของย่านสร้างสรรค์ที่เพิ่มมูลค่าพื้นที่ทำเลทอง แต่เบียดบังวิถีชุมชน จะเป็นอย่างไร การผสานให้ลงตัว ไม่เป็น Gentrification
วัดสุวรรณาราม พี่นก ไกด์ชุมชน(เราเคยเจอพี่นกคราวก่อน แลกเปลี่ยนความรู้กันสนุกมาก บรรยายเชิงลึกเพราะเป็นคนพื้นที่และอ่านมามาก ท่านเล่าถึงพี่ๆไกด์ชุมชนหารือปราชญ์ รุ่นเก่าๆที่บางท่านล่วงลับแต่มีคุณูปการต่อเรื่องเล่าชุมชน สืบทอดผ่านเป็นรุ่น พวกเด็กๆที่จุดงานนี้เรียก ลุงนก)
จุดแรกหลังนั่งสองแถวแดง ราชรถประจำย่านประจำทริป สลับการเดินรอบนี้ คือ วัดสุวรรณาราม หรือวัดทอง แหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ย่านและศิลปะล้ำค่า สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.3) ที่สำคัญจนเราคิดว่า ของดีที่สุดที่เราอยากมาดู ศึกษา ชื่นชมบ่อยๆถ้ามีโอกาส เหมือนมาทำความทักทาย ญาติผู้ใหญ่ ครูทองอยู่และครูคงแป๊ะ
และละแวกนี้มีความสำคัญต่อนักเรียนนักศึกษาศิลปะ จนมีบันทึกว่า ศ.ศิลป์ พีระศรี ผู้วางรากฐานศิลปะสมัยใหม่ของไทย (คนเรียนศิลปะจะรู้จักท่านดี โดยเฉพาะเด็กศิลปากร) ลงทุนพานักศึกษานั่งเรือชมภาพเขียนจิตรกรรมไทย ในคลองบางกอกน้อย
ทริปคราวก่อนเราค้นคว้าจนเจอเอกสารทั้งประวัติศาสตร์และกลอนนิราศ จนลามไปถึงซีรีย์ บุษบาลุยไฟ ที่ใช้จิตรกรรมสมัยร.3 วัดทองเป็นตัวเดินเรื่อง
จุดแรกหลังนั่งสองแถวแดง ราชรถประจำย่านประจำทริป สลับการเดินรอบนี้ คือ วัดสุวรรณาราม หรือวัดทอง แหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ย่านและศิลปะล้ำค่า สมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร.3)
รูปสลักและหล่อสมเด็จพระเจ้าตากฯ บรรยายเรื่องลานประหารทการพม่า 1228+4 ไทย ตามเอกสารพงศาวดาร)
บรรยายกาศอดีต ตอนขุดเจอโครงกระดูก ไร้ศีรษะ กับเรื่องลึกลับ ที่ทุกวันนี้ในวัดไม่น่ากลัว เพราะแปรสภาพสวยงาม
หน้าบรรณ นารายณ์ทรงสุบรรณ ต้นแบบเรือพระที่นั่ง
อุโบสถส่วนมากสร้างสมัยร.1 เพราะมีชื่อ ทอง ท่านทรงให้ทำนุบำรุง แม้พื้นที่วัดจะมีมาแต่ยุทธยา
อุโบสถ แอบมีความแอ่นแบบท้องสำเภา ศิลปะสมัยอยุทธยา
พระศาสดา พระพักตร์คล้ายพระศรีศากยะมุนีวัดสุทัศน์ ซึ้งสันนิษฐานว่าช่างเดียวกัน
อาชีพเก็บน้ำตาล ใส่นุ่งขาว มีเรื่องเล่า แม้ปัจจุบันย่านนี้ไม่มีแล้ว แต่ในเอกสารโบราณมีลานตาลข้างวัดทองแห่งนี้ อาจะเป็นภาพบรรยากาศที่ร่วมสมัยศิลปิน ตรงนี้เราค้นเจอว่ายุคร.3 ระเบียบและนวัตกรรมใส่เรื่องราวบรรยากาศเมืองร่วมสมันเข้าไปในภาพนอกจากเรื่องเล่าในชาดกหรือระเบียบแบบช่างไทยตามขนบ
สองภาพชิ้นเอก ครูคงแป๊ะ(ซ้าย) ครูทองอยู่(ขวา) เป็นภาพที่น่าจะไม่มีการแตะต้องซ่อมแซม ถือเป็นบรมครูช่างเขียนยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น(ร.3) เพราะวางระบบจิตรกรรมไทยไว้ และต่อมามีการแปลง เช่น ทัศนียภาพ แสงเงา แบบตะวันตก ช่วง ขรัวอินโข่ง(ร.4)
ภาพพญมาร ที่มารแทรกชาวต่างชาติ ตรงนี้เจอเอกสารวิจัย 3 ฉบับ น่าสนใจ แทรกภาพกากทะลึ่งตึงตัง มีภาพคล้ายกันอีกสองสามที่ เช่น วัดบางยี่ขัน
หาภาพกากเจอบ้างไหม ล้วงควักสนุกสนาน
เต็มๆตา
ตรงนี้ก็มีจุดทะลึ่งซ่อนไว้ให้มอง เป็นความสนุก ปริศนาธรรม เดาว่าอาจเป็นครูคงแป๊ะ ที่ท่านแฝงคติธรรม บางงานวิจัยศิลปกรรมไทยเล่าเรื่องพวกนี้ไว้น่าสนใจมาก
.
.
ตลาดไร้คาน โครงสร้างคล้ายสถานีรถไฟกรุงเทพ(จริงๆที่เราเรียก หัวลำโพง ไม่ใช่ชื่อแท้จริง) เป็นการออกแบบเชิงวิศวกรรม โครงสร้างรับแรง แต่ที่นี่จะใช้ไม้
เข้ามาถึงบ้านบุ ตามนิราศของสุนทรภู่
พิจารณาโครงสร้างและการคงอยู่ร่วม 100 กว่าปี แต่ปัจจุบันเงียบเหงา มีการพยายามฟื้นที่ทำได้ไม่เต็มที่ พี่ๆชุมชนท่องเที่ยวพยายามทำจนเท่าที่ทำได้ ไม่พูดถึงการทำงานกับหน่วยงานรัฐที่น่าจะทราบกันว่าหลายขั้นตอน
แผงตลาดในอดีตกลายเป็นประรำทำพิธีศิลป์
หัวโขน วัสดุปูนปลาสเตอร์หล่อ ระหว่างทำ พี่นกเล่าทำให้นึกถึง สมัยไปศึกษาภัณฑ์หรือร้านเครื่องเขียนยุคเก่า จะพบพิมพ์ยางพารา เราเคยทำ ตอนมัธยมด้วยความอยากทดลอง จนเรียนมหาวิทยาลักก็ได้ทำบ้างบางงาน ตอนนี้มาทำงานด้านนี้ก็วนเวียนกับการทำพิมพ์หล่อ
น้องๆที่ครอบครัวพามาทำกิจกรรมด้วย น่ารัก คุณยาย คุณแม่ และน้องๆ
กลุ่มพี่ๆ ตั้งใจมาก
ทุกคนเริ่มทำตามสัญชาติญาณและเวลาบีบคั้น ผสมการเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ค่อนข้างได้อารมณ์ บางคนฟังถึงตัวละครสีนั้นสีนี้ป้ายสีสนุกสนาน
ใช้สีอะคริลิก ค่อนข้างสนุก มีให้ไม่น้อยเลย ไม่หวงของ อุปกรณ์
งานเราเอง รีบทำ เน้นเสร็จไว
พี่ๆระบายสีหัวโขน
เครือข่ายครูทึ่ให้เด็กๆทำกิตกรรมเล่นสนุกทางโคราชและอาจารย์มหาวิทยาลัยด้านพัฒนาชุมชน ได้คุยกับพี่ๆ มาไกลเพื่อร่วมจัดกิจกรรม
ทุกคนแทบไม่คุย ตั้งใจมากๆ
พอสมควรแก่เวลา น้องๆกลุ่มไกด์รีบทำตามตารางกิจกรรมดีเยี่ยม ระหว่างทางสายตาเราสอดส่องร้านค้าชุมชน น้ำหวานใส่น้ำแข็ง เป็นยาชูชุบหัวใจ
.
.
ชุมชนบ้านบุ และงานหัตถกรรมหัวโขน ในวันที่รวยริน แต่เค้าของความศิวิไลซ์ บ้านไม้ในบางกอกริมคลองบางกอกน้อยที่เหลือรอดจากไฟไหม้ยังมีให้ชมบ้าง ชุมชนค่อนข้างสะอาด ไม่มีอุจจาระหมาแมว ซึ่งตรงนี้ทำได้ดี ขยะไม่มี เราสำรวจตลอดเส้นทาง
สองข้างทางเคยเป็นบ้านไม้สวยมาก พี่นกเล่าประกอบ ทำให้จินตนาการภาพบรรยากาศ คล้ายสามชุก(เราก็คนสุพรรณฯ เลยเข้าใจ บ้านยายตอนเด็กๆเป็นตลาดไม้ที่ทุกวันนี้เริ่มเปลี่ยน ทั้งไฟไหม้ ทุบเปลี่ยน)
เริ่มออกเดินตรอกทะลุไปสถานีรถไฟ
บ้านนี้มีการปรับปรุงน่าสนใจ ผสมผสานรูปแบบงานไม้
ชอบความธรรมชาติของชีวิต
บ้านนี้น่าสนใจมาก ในความที่เป็นคนรักบ้านไม้เก่า สายตาเหลือบเห็นเค้าความงามในอดีตที่ส่งมาถึงปัจจุบัน
บ้านนี้เป็น hidden gem สำหรับเรา
มีบางมุมที่เท่ห์มาก เป็นประภาคารเก็บน้ำยุคเก่า คล้ายหอวิทยุรุ่นโตเกียว หรือไม่อยากเทียบไอเฟล แต่ทำให้คิดแบบนั้น มันคงน่าสนใจถ้าละแวกนี้เป็นบ้านไม้ตัดกับท้องฟ้า แล้วเห็นอาคารเก็บน้ำเหล็กเท่ห์ๆแบบนี้
.
.
สถานีรถไฟธนบุรี เรียกไม่ทางการว่า บางกอกน้อย
เป็นโรงเก็บหัวรถจักรโบราณ ที่มีขบวนรถไฟปัจจุบันวิ่งให้บริการ
ชอบการเข้าแถวตอน ฟังพี่นกบรรยายไปถึง นักเขียน คู่กรรม อาจมาเช่าบ้านเพื่อซึมซับบรรยากาศย่านนี้แล้วเขียนออกมา ตรงนี้ไม่แน่ใจหลักฐานว่าจริงไหม แต่ได้อารมณ์ดี
รีบถ่ายแล้วระแวง ว่ารถขบวนจริงจะวิ่งไหม แล้วดันวิ่งออกมาจริงแต่ซ้ายสุด
.
.
พิพิธภัณฑ์ศิริราชสถานพิมุข
หนึ่งในเจ็ดพิพิธภัณฑ์ในโรงพยาบาลศิริราช ที่เราว่าอาคารสวยมาก ปกติไปนั่งท่าน้ำฝั่ง ม.ธรรมศาสตร์ จะมองมาเห็นตรงนี้ไกลๆ ด้านขวาเป็นศาลาที่มีน้ำล้อมสวยมาก
อดีตลตรงนี้เป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อยที่พี่นกทันบรรยากาศคนพลุกพล่านไม่แพ้หัวลำโพง(สถานีรถไฟกรุงเทพ) เป็นเป็นสถานีหลักย่านฝั่งธนบุรี ที่มีความหนาแน่นของผู้โดยสารบางช่วงร่วมหนึ่งล้านถึงสิบล้าน ต้องลองนึกภาพตามคงมีสีสันมาก
โบโกริโดนระเบิดแถวนี้และเป็นฉากจบของ คู่กรรม
อาคารสวยมาก
ขอเก็บภาพด้านข้างเต็มๆมุมเอียง
บรรยายพร้อมเดินสู้แดด
ภายในอาคารหลักจำลองบรรยากาสห้องออกตั๋วสมัยเดิมๆ
ตรงนี้การจัดแสงและใช้กระจกสวย มองไปด้านนอกค่อนข้างสง่า
อาคารด้านหลังที่เป็นโรงเก็บสินค้าท่าเรือ ตรงนี้มีการขุดค้น และได้บรรยากาศกุลีแบกหาม
มุมด้านข้าง
เรือโบราณที่ขุดค้นจนพบ ตรงนี้เราเคยอ่านงานวิจัยตีพิมพ์ด้วย บางลำมีรอยไหม้
ตะปู เราสนใจเรื่องศิลปะและคราบสนิม เกลือทะเลทำปฏิกิริยายากกับบางวัสดุ
หมุดทองเหลือง
แผ่นชันและประสานไม้กระดาน
ภาพเรือจำลองหลากรูปแบบในย่าน ความคึกคัก การค้า คมนาคม ความเจริญวัดกันที่เรือ เพราะเส้นทางน้ำมีความสำคัญ
ชานบางกอกน้อย โรงแรมและคาเฟ่ เราเคยได้คุยกับคุณพี่เจ้าของครั้งหนึ่ง เรื่องบ้านโบราณ
จำลองบรรยากาศตลาด วิถีชีวิต สัตว์น้ำ พืชพันธุ์
สมเด็จโตฯ
ที่นอนบางกอกน้อย ย่านที่เคยมีชื่อเรื่องที่นอนมี หุ่นยัดด้วยนุ่น เนื้อหนาแน่น พี่นกบอกญาติแกเตยทำอาชีพนี้ ปัจจุบันยังมีแต่คนทำไม่ทำแบบเดิมแล้ว ใช้นานเกือบสามสิบปีไม่มียุบ
แผนที่พม่า สายสืบที่แฝงตัวมาแล้วถูกจับ พบแผนที่สมัยกรุงธนบุรี มี interactive ให้เล่นเรียนรู้ ตรงนี้เป็นเอกสารสำคัญ เคยฟังบรรยายจากอ.ด้านประวัติศาสตร์หลายท่าน
มุมนี้มีที่ทำขันลงหินบ้านบุและ ชิพพนันโบราณ
กายวิภาคและการศึกษา
บรรดาอาคารเก่าของศิริราช เราประทับใจจนถ่ายมาไว้ เผื่อได้ทำของที่ระลึกในอนาคต
.
.
วัดระฆัง ตรงนี้จะเห็นจิตรกรรมที่เปลี่ยนไปหลัง ร.3 เนื่องจากมีทัศนียภาพและแสงเงาแบบศิลปะตะวันตกแล้ว
หอไตรสำคัญ เป็นบ้านร.1 สมัยกรุงธนบุรี และภายในมีภาพจิตรกรรมโบราณที่ อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ท่านมากินนอนสามเดือนเพื่อลอกลายอนุรักษ์ไว้ ภาพไม่สามารถซ่อมแซมได้ แต่มีการลอกเก็บไว้ศึกษา เป็นคุณูปการสำคัญที่ท่านทิ้งไว้ให้
ได้ยินมานานวันนี้ได้มาดูด้วยสองตา
ของจริงมีรายละเอียด ภาพไม่สามารถเก็บได้หมด
ความงดงาม วัสดุไม้รักษาสภาพได้ยาก
เวลาน้อย ได้แต่รีบดูรีบถ่าย
เห็นระฆังสีสวย
.
.
กลับมาที่สวนจุดเริ่มต้น ทุกคนดีใจ มีข้าวเลี้ยง อาหารจากชุมชนโพธิืเรียง อร่อยด้วยการยืนยันจากพี่นก
กิจกรรมเด็กๆจากพี่ๆเครือข่าย
กิจกรรมแม้ร้อนแต่สนุก
บทความวิเคราะห์
-รู้สึกประทับใจ เพราะงานนี้ได้พบเครือข้ายชุมชนท่องเที่ยว นอกจากพี่ยก ไกด์คนพื้นที่ผู้มีความรู้ พี่ตันของเด็กๆที่คุยกันเรื่องย่านสร้างสรรค์ ปีก่อนพี่ตันจัด ปีนี้คงได้ร่วมงานกันหรือเป็นเครือข่ายกันในอนาคตได้ พวกเรากลุ่มสตูดิโอเพียงแต่มาเติมเต็มในบางจุดที่ชุมชนแห่งนี้ทำดีไว้อยู่แล้ว
-ประหลาดใจและประทับใจ เพราะ กิจกรรมเหล่านี้เป็นฝีมือน้องๆเด็กๆ มัธยมศึกษาตอนปลาย น่าจะ7-10 คน ช่วยกันจัด ไม่น่าเชื่อว่าจะเทียบเท่าหรือดีกว่าทริปผู้ใหญ่มืออาชีพ เราเคยมีประสบการณ์งานชุมชนบ้างตอนเป็นที่ปรึกษาบางโครงการ คิดว่าน้องๆทำได้ดี
-ลองประเมินและรวมกิจกรรม สร้างสรรค์ของย่านบางกอกน้อย ที่เคยทำไว้ ค่อนข้างครบ มีหลายกิจกรรมที่มีองค์ประกอบมากกว่าการท่องเที่ยว (ตรงนี้เคยคุยกับหลายคนว่า ย่านสร้างสรรค์ ไม่เท่ากับการท่องเที่ยว) ซึ่งรวมไว้ในลิงค์นี้
คิดว่าส่วนที่ขาด น่าจะตรงกับพี่ตันหลังคุยกันวันนี้ว่า 1.การประชาสัมพันธ์ เพราะมีกิจกรรมมากและดี แต่คนภายนอกไม่รับรู้ 2.ความต่อเนื่อง ตรงนี้ต้องทำงานหลายเครือข่าย และต้องสร้างแบรนด์ ให้จดจำ
-ย่านนี้มีเรื่องเล่า ชุมชนมากมายแต่ต้องโฟกัสบางจุด ตอนแรกคิดว่าหาข้อมูลไม่ได้ แต่ปรากฎว่าเอกสารวิชาการ งานวิจัย ประวัติศาสตร์ เรื่องเล่าชุมชนค่อนข้างสมบูรณ์จนล้น ประกอบกับ การทำย่านสร้างสรรค์ตามหลักวิชาการของงานวิจัยบางชิ้น ชี้ไปที่ การเดินย่าน
สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน และกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ ต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมการเดิน ต่อจากนี้ต้องให้คนภายใน ทบทวนและต้อนรับคนภายนอกที่จะเข้ามาเรียนรู้ตามแผน และปล่อยให้เขาได้ศึกษาทั้งการทำเส้นทางอย่างที่ทำ หรือการเดินย่านอย่างอิสระ เพราะมนุษย์ มีความหลากหลาย
จึงเป็นข้อสรุปหลวมๆว่า
1.ทำพื้นที่ใจกลางย่าน อย่างสวนสาธารณะให้เกิดกิจกรรมเคลื่อนไหว แม้สวนจะนิ่งแต่เป็นใจย่าน ตรงกับงานวิจัยและ Ai ระบุเช่นนี้
2.ทำให้คนเคลื่อนที่ไปตามจุดหมุดหมาย เช่น สถานที่ท่องเที่ยว สตูดิโอศิลปะ ชุมชน การเดิน คมนาคม ระบบขนส่งต้องมีประสิทธิภาพ ความสะอาด กติกาที่คนนอกต้องเรียนรู้วิถีชุมชน ไม่รบกวนกัน
3.การดึงศิลปินภายนอก มาเรียนรู้และสร้างงานภายใน “ระเบิดจากข้างใน” คนในชุมชมมีแผนนำเสนอต่อ ศิลปินภายนอกที่มาเรียนรู้ และสร้างสรรค์งาน เพื่อประชาสัมพันธ์ จะเป็นสิ่งที่เพิ่มศักภาพย่านที่ขับเคลื่อนอยู่ ณ ตอนนี้
4.พี่นก ได้ให้ข้อเสนอแนะน่าสนใจตินที่ทุกคนไประบายสีหัวโขนจากปูนปลาสเตอร์ำว้ประมาณว่า เด็กรุ่นใหม่อาจไม่ได้เห็น เล่น เข้าไม่ถึง แบบรุ่นพี่นก รุ่นเก่าได้ใช้เล่นเห็น ตรงนี้ทำให้การสืบต่อจึงยาก เพราะสิ่งใดไม่ใช้ในชีวิตคงจะให้รักษา ทำต่อยากกว่าการที่มีกรอบหรือขั้นตอนประณีตแบบที่เราลองตอบคำถามนี้ ซึ่งมาคิดแล้วเห็นด้วย
.
น้องๆผู้จัดกิจกรรม ยังเป็นหนึ่งใน สภาเด็ก กทม. ซึ่งทำงาสร้างสรรค์ มีความฝันอยากให้สวนสาธารณะได้เป็นพื้นที่ส้รางสรรค์ มากกว่าการผักผ่อน ออกกำลังกาย เพื่อเป็น ใจย่าน อย่างแท้จริง เท่าที่เราสรุปได้ ผ่านแววตา ความคิด คำพูดเพียงช่วงสั้นๆที่พบกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา