27 มี.ค. เวลา 02:51 • การเมือง

ความขัดแย้งมุสลิม-ฮินดูในอินเดีย

โดย
นิติการุณย์
มิ่งรุจิราลัย
รัฐฆราวาสหรือรัฐโลกวิสัยเป็นแนวคิดจาก Secularism หรือหลักฆราวาสนิยม ที่ให้รัฐมีหรือแสดงความเป็นกลางในประเด็นศาสนา ไม่สนับสนุนทั้งศาสนาและการไม่มีศาสนา รัฐฆราวาสต้องปฏิบัติต่อพลเมืองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
1
รัฐฆราวาสไม่มีศาสนาประจำรัฐ ปัจจุบันมีรัฐศาสนาค่อยๆ เปลี่ยนผ่านเป็นรัฐฆราวาสจำนวนมาก แต่ก็มีบางรัฐที่เปลี่ยนจากรัฐฆราวาสไปเป็นรัฐศาสนา เช่น สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
รัฐธรรมนูญอินเดียเป็นกฎหมายสูงสุดของอินเดีย ถือเป็นรัฐธรรมนูญแห่งชาติที่เขียนมือยาวที่สุดในโลก มีผลบังคับใช้เมื่อ 26 มกราคม ค.ศ.1950
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ประกาศให้อินเดียเป็นรัฐเอกราช สังคมนิยม รัฐฆราวาส และเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย
คำว่ารัฐฆราวาสและสังคมนิยมเติมเข้ามาในรัฐธรรมนูญภายหลังในการแปรญัตติครั้งที่ 42 ค.ศ.1976
1
มัดเราะซะฮ์ เป็นคำภาษาอาหรับที่ใช้เรียกสถานศึกษา แบ่งเป็นทั้งโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน โรงเรียนศาสนา โรงเรียนศาสนา อิสลาม และมหาวิทยาลัย
1
ศุกร์ 22 มีนาคม 2024 ศาลอินเดียตัดสินให้มีการยกเลิกกฎหมายมัดเราะซะฮ์ในรัฐอุตตรประเทศ ในคำพิพากษาอธิบายว่าขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญอินเดียที่ไม่อิงศาสนา
1
อุตตรประเทศเป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยแรกเริ่มอินเดีย เป็นรัฐที่เป็นฉากท้องเรื่องของมหากาพย์มหาภารตะและรามายณะ เป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นหลัง 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอโศกมหาราชราว 250 ปีก่อนคริสตกาล
รัฐอุตตรประเทศมีพื้นที่ 2.4 แสนตารางกิโลเมตร แม้ว่าจะมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 แต่เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดของอินเดียคือมากกว่า 250 ล้านคน
ปัจจุบันมีโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 2.5 หมื่นแห่ง ครู 2.1 หมื่นคน นักเรียน 2.7 ล้านคน
คำพิพากษาของศาลทำให้ต้องรีบย้ายนักเรียนไปศึกษาในโรงเรียนที่เป็นระบบปกติ และทำให้ครูเป็นหมื่นคนตกงานทันที
ความเคลื่อนไหวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในรัฐอุตตรประเทศ แต่เกิดในรัฐอื่นด้วย เช่น รัฐอัสสัม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศตรงที่ติดกับบังกลาเทศและพม่า เดิมเป็นรัฐที่ใหญ่มาก
ภายหลังรัฐบาลอินเดียแบ่งดินแดนรัฐนี้ออกเป็น 5 รัฐคือ รัฐอัสสัม รัฐนากาแลนด์ รัฐเมฆาลัย รัฐมิโซรัม และรัฐอรุณาจัลประเทศ
โรงเรียนตามหลักศาสนาอิสลามทั้งหมดของรัฐอัสสัมไม่มีแล้ว นักเรียนต้องไปเรียนโรงเรียนในระบบปกติของรัฐบาล
เราจะเห็นว่าในระยะหลังนี้ มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างพลเมืองที่เป็นมุสลิมกับผู้คนนับถือศาสนาอื่นในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรป ทำให้ในปัจจุบัน พรรคที่เป็นพวกขวาจัดชาตินิยมมักจะชนะเลือกตั้ง คนที่เลือกพรรคเหล่านี้มักจะเป็นพวกที่กลัวมุสลิมและศาสนาอิสลามอย่างสุดโต่ง
2
อินเดียมีพรรคการเมืองระดับชาติ 8 พรรค และระดับรัฐ 54 พรรค ระดับชาติ เช่น ภารติยชนตะ (BJP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวาชาตินิยมฮินดู พรรคคองเกรส (INC) เป็นพรรคกลางๆ ไม่ซ้าย ไม่ขวา เป็นพวกเสรีนิยม พรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (CPI) พรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย มาร์กซิสต์ (CPIM) ฯลฯ
1
ส่วนพรรคระดับรัฐก็เช่น พรรคชนตาดาล (ฆราวาส) พรรคชนตาดาล (ยูไนเต็ด) พรรคอามอาทมี ฯลฯ
3
การเลือกตั้งครั้งที่แล้วซึ่งเป็นการเลือกตั้งโลกสภา (สภาผู้แทนราษฎร) ครั้งที่ 17 พรรคบีเจพีชนะ ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ซึ่งเป็นครั้งที่ 18 จะเริ่มตั้งแต่ 19 เมษายน จนถึง 1 มิถุนายน 2024 โดยมีสมาชิกโลกสภาทั้งประเทศ 543 คน คาดว่าจะมีคนออกมาเลือกตั้งมากถึง 960 ล้านคน จากประชากร 1.4 พันล้านคน
พรรคภารติยชนตะหรือบีเจพี มีแผนการสำคัญของพรรคหลายอย่าง เช่น ยกเลิกสถานะพิเศษของรัฐชัมมูและกัษมีร์ การสร้างวัดพระรามในเมืองอโยธยา การบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งที่เป็นระเบียบเดียวกันทั่วประเทศ
2
ถ้าจะเขียนให้ชัดเจนคือพรรคบีเจพีเป็นพรรคชาตินิยมฮินดู ทำให้คนอินเดียนับถือศาสนาฮินดูซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่แห่กันไปเลือก
อินเดียเป็นประเทศที่ลึกๆแล้วมีความขัดแย้งทางศาสนาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างฮินดูกับอิสลาม 16 มีนาคมที่ผ่านมา นักศึกษาต่างชาติที่เป็นชาวมุสลิมร่วมกันละหมาดตะรอเวียะห์ในหอพักของมหาวิทยาลัยคุชราต ม็อบนักศึกษาฮินดูถือมีดและไม้บุกเข้าไปโจมตีและคัดค้านไม่ให้มุสลิมมาละหมาดที่นี่ จนมีผู้บาดเจ็บ 4 ราย
2
การเลือกตั้งที่จะถึง นักวิเคราะห์หลายสำนักทำนายทายว่า การเลือกตั้งที่จะถึงในเดือนหน้า พรรคชาตินิยมฮินดูบีเจพีน่าจะมาอีก.
โฆษณา